เอดูอาร์โด มาร์ติเนซ ประธานมูลนิธิยูพีเอส และ Chief Diversity and Inclusion Officer ยูพีเอส กล่าวว่า "การให้ความช่วยเหลือแก่ผู้อพยพและการเสริมสร้างความปลอดภัยในชุมชนคือสิ่งที่เราต้องลงมือทำอย่างเร่งด่วน เราได้พยายามหาวิธีนำเอาความเชี่ยวชาญด้านโลจิสติกส์มาช่วยแก้ปัญหา ช่วยเหลือผู้คน และสร้างความเข้มแข็งให้ชุมชนทั่วโลกมาโดยตลอด โดยการทำงานร่วมกับพันธมิตรที่เป็นองค์กรเอ็นจีโอและองค์กรไม่แสวงหาผลกำไรเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงอย่างเป็นรูปธรรม"
ยูพีเอสจะบริจาคเงินให้สำนักข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติเพื่อใช้ในการขยายโครงการ UPS Relief Link ซึ่งจะช่วยให้การจัดส่งสิ่งของเครื่องใช้จำเป็นสู่มือผู้อพยพรวดเร็วยิ่งขึ้น นับถึงปัจจุบัน โครงการ UPS Relief Link ให้ความช่วยเหลือผู้อพยพแล้วกว่า 120,000 คน ย่นระยะเวลาการส่งสิ่งของจำเป็นเร่งด่วนสู่ค่ายผู้อพยพได้ถึง 50% เงินบริจาคนี้ยังนำไปใช้ในการฝึกอบรมการเตรียมพร้อมในการจัดส่งสิ่งของจำเป็นในยามฉุกเฉินและโครงการสำคัญอื่น ๆ เพื่อช่วยเหลือผู้อพยพ
มูลนิธิยูพีเอสยังให้การสนับสนุนมูลนิธิป้องกันอุบัติภัยแห่งเอเชียในโครงการ "เดินทางปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยมาโรงเรียน" และโครงการ "ถนนปลอดภัย ชุมชนปลอดภัย" ซึ่งจะบริจาคหมวกนิรภัยให้นักเรียนในกัมพูชา ไทย และเวียดนาม ในปี 2559 นับตั้งแต่ริเริ่มโครงการ "เดินทางปลอดภัยสวมหมวกนิรภัยมาโรงเรียน" ในปี 2554 เป็นต้นมา อัตราการสวมหมวกนิรภัยของนักเรียนในพื้นที่ดำเนินโครงการสูงขึ้นตั้งแต่ 17 – 83% และช่วยปกป้องเด็กนักเรียน 289 คนจากอาการบาดเจ็บทางสมองจากอุบัติเหตุรถจักรยานยนต์
นอกจากนั้น มูลนิธิยูพีเอสยังขยายความช่วยเหลือด้านเทคนิคและโลจิสติกส์โดยการส่งผู้บริหาร 5 คนไปทำงานในโครงการระยะยาวขององค์กรเอ็นจีโอ โดยผู้บริหารเหล่านี้จะไปทำงานในองค์กรที่ต้องการความเชี่ยวชาญและความช่วยเหลือด้านโลจิสติกส์ เช่น ผู้บริหารจากกลุ่มธุรกิจเฮลธ์แคร์ของยูพีเอสได้ช่วยวาง
กลยุทธ์สร้างความแกร่งให้กับซัพพลายเชนให้กับรัฐบาลประเทศต่าง ๆ ในอัฟริการ่วมกับองค์กรพันธมิตรทั่วโลกด้านวัคซีนและการสร้างภูมิคุ้มกันโรค ผู้บริหารจากกลุ่มธุรกิจยานยนต์ของยูพีเอสร่วมทำงานกับองค์กรของสหประชาชาติเพื่อวิเคราะห์การดำเนินการขนส่งด้วยรถบรรทุกในทวีปอัฟริกาและวางกลยุทธ์ในการพัฒนาระบบการขนส่งในอนาคต และผู้บริหารอีกคนได้ร่วมงานกับโครงการอาหารโลกในด้านการเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับโรคระบาด
นอกจากนั้น ยังมีองค์กรเพื่อมนุษยชนอื่น ๆ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากมูลนิธิยูพีเอส ประกอบด้วย
• สภากาชาดอเมริกา – เพื่อช่วยเหลือด้านสิ่งจำเป็นขั้นพื้นฐานหลังเกิดวิกฤต
• องค์การแคร์ สหรัฐอเมริกา – เพื่อสมทบทุนกองทุนฉุกเฉินและจัดเวิร์คช็อปเพื่อเสริมสร้างประสิทธิภาพให้กับเจ้าหน้าที่โลจิสติกขององค์การแคร์ในประเทศที่มีความเสี่ยงสูง และการช่วยสนับสนุนค่าใช้จ่าย
• มูลนิธิโอเปอเรชั่นโฮป – เพื่อสนับสนุนกองทุนฟื้นฟูเมื่อเกิดภัยพิบัติในการช่วยเหลือทางการเงินแก่ผู้ประสบภัย
• มูลนิธิยูนิเซฟ – เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบรายงานผลภาพรวมเพื่อให้กระทรวงสาธารณสุขของประเทศต่าง ๆ ติดตามตรวจสอบและบริหารงานคลังวัคซีนในประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพ
• ศูนย์พัฒนาความรับผิดชอบต่อสังคม สภาหอการค้าสหรัฐอเมริกา – เพื่อสนับสนุนโครงการลดความเสี่ยงทางธุรกิจจากภัยพิบัติ Saglam Kobi
• โครงการอาหารโลก สหรัฐอเมริกา – เพื่อสนับสนุนโครงการ Toward Zero Food Loss เพื่อลดความสูญเสียหลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเกษตร
ยูพีเอสยังส่งเสริมการขับขี่อย่างปลอดภัยในชุมชนต่าง ๆ ที่ยูพีเอสดำเนินธุรกิจอยู่ด้วยโครงการ UPS Road Code ซึ่งเป็นโครงการอบรมการขับขี่อย่างปลอดภัยสำหรับวัยรุ่น อายุ 13 – 18 ปี ภายใต้การดำเนินการร่วมกับ Boys & Girls Clubs of America ในสหรัฐฯ และร่วมกับองค์กรพัฒนาเยาวชนในประเทศอื่น ๆ โดยมีอาสาสมัครยูพีเอสเป็นผู้สอนโดยใช้แนวทางการขับขี่อย่างปลอดภัยของบริษัท ซึ่งนับถึงวันนี้ มีจำนวนผู้เข้าอบรมแล้วกว่า 22,900 คน และขยายการดำเนินการสู่ประเทศอังกฤษ แคนาดา เยอรมนี และจีน ในเดือนเมษายน 2559 ยูพีเอสวางแผนที่จะขยายโครงการสู่เม็กซิโกโดยมอบเงินสนับสนุนแก่องค์กร Guis de Mexico A.C. ตั้งแต่เริ่มดำเนินการโครงการ UPS Road Code มา มูลนิธิยูพีเอสได้สนับสนุนงบประมาณไปแล้ว12.5 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ
สำหรับโครงการส่งเสริมความปลอดภัยอื่น ๆ ทั่วโลก ประกอบด้วย
• ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค – โดยการสนับสนุนด้านบุคลากรในการประเมินผลโครงการ UPS Road Code ในปี 2559
• มูลนิธิกอนซาโล โรดิเกซ – ผ่านการสนับสนุนโครงการอบรมผู้ให้ความรู้เกี่ยวกับความปลอดภัยของผู้โดยสารเด็ก
ติดตามข้อมูลเกี่ยวกับกิจกรรมการกุศลและอาสาสมัครของยูพีเอสได้ที่ www.UPS.com/Foundation.