รัฐมนตรีเกษตรฯ ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์

ศุกร์ ๐๘ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๘:๑๓
พลเอก ฉัตรชัย สาริกัลยะ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ พร้อมด้วยนายวิทยา ผิวผ่อง กรรมการผู้ช่วยรัฐมนตรี พลเอกประสาท สุขเกษตร เลขานุการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรฯ นายสุเทพ น้อยไพโรจน์ อธิบดีกรมชลประทาน ลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมการช่วยเหลือเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง อ.นางรอง จ.บุรีรัมย์ โดยมีนายเสรี ศรีหะไตร ผู้ว่าราชการจังหวัดบุรีรัมย์ ให้การต้อนรับและสรุปสถานการณ์แล้งและการช่วยเหลือประชาชนในจังหวัดบุรีรัมย์ จากนั้นนางสนิท ทิพย์นางรอง ประธานกรรมการบริหารจัดการน้ำ บรรยายสรุปการดำเนินงาน และการขยายผลการจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำริ และการใช้เทคโนโลยีใหม่บริหารจัดการน้ำชุมชน

ในโอกาสนี้ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มอบเงินโครงการตามแผนพัฒนาอาชีพเกษตรกรตามความต้องการของชุมชนเพื่อบรรเทาภัยแล้งปี 2558/59 (มาตรการที่ 4) จำนวน 86 โครงการ วงเงิน 58.58 ล้านบาท แก่ผู้แทนเกษตรกรจำนวน 14 คน (14 อำเภอ)

จากนั้นในเวลาประมาณ 14.40 น. คณะได้เดินทางไปยังบ้านลิ่มทอง อ.นางรอง เพื่อตรวจเยี่ยมการนดำเนินงาน และการขยายผลการจัดการน้ำชุมชนตามแนวพระราชดำ และการใช้เทคโนโลยีใหม่บริหารจัดการน้ำชุมชนจำนวน 6 จุด ได้แก่ สระแก้มลิงรับน้ำจากถนนน้ำเดิน คลอง 80 พรรษาส่งน้ำถึงนา สถานีโทรมาตรตรวจวัดสภาพอากาศอัตโนมัติ แปลงทฤษฏีใหม่ ป่าป้าปลูก สระดักตะกอน ก่อนจะเดินทางต่อไปยังหนองทะลอก อ.นางรอง เพื่อตรวจสภาพปัญหา และกำหนดแนวทางแก้ไขหนองทะลอก

พลเอก ฉัตรชัย เปิดเผยถึงสถานการณ์ผลกระทบภัยแล้งและการช่วยเหลือเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดบุรีรัมย์ ว่า สถานการณ์น้ำเพื่อการอุปโภค-บริโภคยังไม่ประสบปัญหาแต่อย่างใด ทางผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่บริหารจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ขณะเดียวกัน ยังได้รับความร่วมมือเป็นอย่างดีจากมูลนิธิอุทกภัยในการนำเทคโนโลยีการจัดการน้ำแนวใหม่มาช่วยในการแก้ไขปัญหาน้ำแล้ง ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค และไม่มีพื้นทีสาธารณะไว้กักเก็บน้ำและน้ำสำรอง โดยประชาชนในพื้นที่บ้านลิ่มทอง อ.นางรองเข้ามามีส่วนร่วม และจำขยายผลไปสู่พื้นที่อื่นในอนาคตด้วย ขณะที่การจัดการน้ำเพื่อการเกษตรก็มีบ้างในบางพื้นที่ที่ประสบปัญหา ซึ่งจาก 17 มาตรการของรัฐบาลพบว่ามีความความหน้าเป็นลำดับ โดยเฉพาะ 8 มาตรการของกระทรวงเกษตรฯ ได้เข้าสู่หลายพื้นที่แล้วเช่นกัน

สำหรับแนวทางการเพิ่มศักยภาพการเก็บกักน้ำหนองทะลอกเพื่อเก็บกักน้ำไว้เพื่อการผลิตน้ำประปาในหลายพื้นที่ของจังหวัดบุรีรัมย์ ที่สามารถรองรับการผันน้ำจากลำปลายมาศในฤดูน้ำหลากเข้ามาเก็บกักไว้ได้โดยการปรับปรุงทางน้ำเดิมให้น้ำไหนได้สะดวกมากขึ้น ที่สามารถเก็บน้ำได้ปีละ 2-7 ล้านลูกบาศก์เมตร ส่งผลให้ประชาชนในเขตเทศบาลเมืองนางรอวมีน้ำสำหรับอุปโภค-บริโภคตลอดปี พื้นที่การเกษตรของอ่างเก็บน้ำหนองทะลอกประมาณ 3,000 ไร่สามารถเพาะปลูกได้ในฤดูฝนและฤดูแล้ง ซึ่งกระทรวงเกษตรฯ จะจัดนำไปพิจารณาจัดทำแผนและงบประมาณในปี 2560 ต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๑๒ ฉลองเทศกาลตรุษจีนปีงูเล็ก ที่โรงแรมดุสิตธานี กระบี่ บีช รีสอร์ท
๑๗:๐๐ IMPACT เผยปี 68 ข่าวดี! โครงการ Sky Entrance รถไฟฟ้าสายสีชมพูมาตามนัด หนุนทราฟฟิคแน่น - จับมือพาร์ทเนอร์
๑๗:๕๒ อิมแพ็ค เมืองทองธานี ร่วมกับ มูลนิธิเพื่อสิ่งแวดล้อมและสังคม สนับสนุนโครงการ กู้วิกฤตและอนุรักษ์พะยูน ครั้งที่ 2
๑๗:๕๘ แสนสิริ เจ้าตลาดคอนโดแคมปัส อวดโฉม ดีคอนโด วิวิด รังสิต คอนโดใหม่ตรงข้าม ม.กรุงเทพ
๑๖:๔๓ เอ็นไอเอ - สสส. ดึงนิวเจน สรรค์สร้างนวัตกรรมส่งเสริมสุขภาพ ในแคมเปญ The Health Promotion INNOVATION PLAYGROUND
๑๗:๕๘ กรมวิทย์ฯ บริการ เร่งพัฒนาระบบ e-Learning ยกระดับการเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ทั่วประเทศ
๑๖:๕๘ เขตจตุจักรกวดขันคนไร้บ้านเชิงสะพานข้ามคลองบางซื่อ สร้างพื้นที่ปลอดภัยสำหรับทุกคน
๑๗:๑๗ เขตพระนครประสานกรมเจ้าท่า-เอกชน เร่งปรับปรุงภูมิทัศน์ท่าเรือสุพรรณเดิม
๑๗:๔๐ กทม. กำชับเจ้าของอาคารตรวจสอบโครงสร้างบันไดเลื่อน เพิ่มความปลอดภัยประชาชน
๑๖:๓๗ แลกเก่าเพื่อโลกใหม่ ช้อปคุ้ม พร้อมลดหย่อนภาษี! 'เปลี่ยนของเก่าเป็นความคุ้ม' ผ่าน Easy E-Receipt ได้ที่โฮมโปร เมกาโฮม