นายโอฬาร กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมส่งเสริมการเกษตรได้ประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ความรู้เรื่องการป้องกันแก้ไขน้ำเค็มใน 187 ตำบล ที่เป็นพื้นที่เสี่ยง ทำให้เกษตรกรรู้วิธีการรับมือด้วยตนเอง และจากความร่วมมือระหว่างกรมส่งเสริมการเกษตรและหน่วยงานภาคีที่ช่วยกันแก้ปัญหาน้ำเค็ม ส่งผลให้เกิดชุมชนต้นแบบในการบริหารจัดการน้ำเค็มในพื้นที่เกษตร เช่น ชุมชนตำบลบางยาง อำเภอกระทุ่มแบน จังหวัดสมุทรสาคร เป็นชุมชนที่ต้องประสบปัญหาน้ำเค็มเป็นประจำทุกปี และเกิดวิกฤตในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ทำให้ชุมชนตระหนักรู้และมีความรู้ในการป้องกันน้ำเค็ม โดย ช่วงก่อน เกิดภัย ตั้งแต่เดือนตุลาคม – พฤศจิกายน ชุมชนมีการใช้เครื่องมือเพื่อวัดค่าความเค็มที่ถูกต้องตามหลักวิชาการ โดยกำหนดเวลาและระดับความลึกของน้ำที่วัดเป็นไปตามมาตรฐานและกระจายข่าวผ่านระบบสมาร์ทโฟน เพื่อให้ทุกคนได้รับทราบค่าความเค็ม ช่วงเกิดภัย 1) กรมชลประทาน ทำการติดตามสถานการณ์น้ำความเค็มอย่างใกล้ชิด วันละ 2 – 3 ครั้ง 2) เมื่อถึงขั้นวิกฤตแหล่งน้ำในพื้นที่ไม่สามารถใช้ได้ เกษตรกรจะขอบริการรถบรรทุกน้ำออกให้บริการตามสวน ผ่านสหกรณ์ผู้ประกอบการกล้วยไม้ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประสานและหน่วยงานที่รับผิดชอบ 3) เกษตรกรปรับเปลี่ยนวิธีการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น เช่น ใช้สปริงเกอร์หรือระบบพ่นหมอกให้น้ำพืชแทนการใช้สายยางรดน้ำ เพื่อประหยัดน้ำจืด ช่วงหลังเกิดภัย ชุมชนยังคงติดตามสถานการณ์อย่างต่อเนื่องจนกว่าค่าความเค็มจะลดลงสู่ระดับปกติ ทั้งนี้เกษตรกรสามารถขอคำปรึกษาในการป้องกันน้ำเค็มได้ที่สำนักงานอำเภอใกล้บ้านท่าน
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: เกษตรจังหวัดอำนาจเจริญ ซิงเกิลคอมมานด์ พร้อมกลุ่มมิตรผล ร่วมลงนามความร่วมมือโครงการสานพลังประชารัฐ เกษตรแปลงใหญ่สมัยใหม่ (อ้อย) มุ่งพัฒนาการผลิตอ้อยอย่างยั่งยืนเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตเกษตรกรและชุมชน
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: รับมอบนกแสก
- พ.ย. ๒๕๖๗ ภาพข่าว: กรมส่งเสริมการเกษตร รับมอบกล้าปาล์มน้ำมัน