“ปลัดเกษตรฯ” ตรวจเยี่ยมการฝึกภาคสนามปฏิบัติการทางทะเลของ “ผู้สังเกตการณ์บนเรือ รุ่นที่ 2” ก่อนออกไปทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์เรือประมงเพื่อควบคุมการทำประมงไทยให้ปราศจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย

จันทร์ ๑๑ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๐:๑๗
?นายธีรภัทร ประยูรสิทธิ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการตรวจเยี่ยมการฝึกภาคสนามปฎิบัติการทางทะเล หลักสูตร การสร้างผู้สังเกตการณ์บนเรือ รุ่นที่ 2 ณ บริเวณท่าเทียบเรือศูนย์พัฒนาการประมงแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (SEAFDEC) อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ ว่า กระทรวงเกษตรฯ โดยกรมประมง ได้จัดการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร "การสร้างผู้สังเกตการณ์บนเรือ" รุ่นที่ 2 (Fisheries Observer Onboard Program) ให้กับบุคคลที่จะคัดเลือกเข้ามาปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์บนเรือประมงตามหลักมาตรฐานสากลสำหรับควบคุมการทำประมงของไทยให้ปราศจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย (IUU Fishing) ซึ่งมีผู้ผ่านการคัดเลือกเข้ามาอบรม จำนวน 30 ราย โดยมีการอบรมทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ เพื่อเตรียมความพร้อมทั้งด้านวิชาการ และสมรรถนะทางร่างกายและจิตใจ ให้สำหรับผู้จะเป็น Thailand Fisheries Observer Onboard โดยกรมประมงได้ส่งผู้เข้าอบรมลงเรือไปฝึกภาคปฏิบัติในทะเล ในระหว่างวันที่ 7 – 10 เมษายน 2559 เพื่อนำความรู้ข้อมูลทางวิชาการที่ได้อบรมมาฝึกปฏิบัติจริง ก่อนออกไปทำหน้าที่เป็นผู้สังเกตการณ์บนเรือประมงและเรือขนถ่ายตามหลักมาตรฐานสำหรับควบคุมการทำประมงของไทยให้ปราศจากการทำประมงที่ผิดกฎหมาย ภายใต้ พ.ร.ก.การประมง พ.ศ.2558

ทั้งนี้ การเป็นผู้สังเกตการณ์บนเรือประมงจะต้องผ่านการคัดเลือกคุณสมบัติอย่างเข้มข้น อาทิ ด้านการศึกษา ต้องมีวุฒิประมงหรือสาขาที่เกี่ยวข้อง มีทักษะพื้นฐานด้านคณิตศาสตร์ สถิติเบื้องต้น การใช้คอมพิวเตอร์ ทักษะทางด้านภาษาต่างประเทศ มีสภาพร่างกายและจิตใจที่สมบูรณ์แข็งแรง และเป็นเพศชายที่พร้อมจะลงไปปฏิบัติหน้าที่บนเรือได้เป็นเวลานานๆ เพื่อไปทำหน้าที่สังเกตการณ์บนเรือประมงไทยที่ทำการประมงในเขตทะเลหลวง เรือประมงไทยที่ออกไปทำประมงในน่านน้ำของรัฐชายฝั่งอื่น และเรือประมงที่ขนถ่ายสัตว์น้ำนอกน่านน้ำ

" ผู้เข้ารับการฝึกอบรมจะได้เรียนรู้ทั้งหลักทฤษฎีและปฏิบัติ รวมทั้งเกิดความเข้าใจอย่างถูกต้องทั้งในเรื่องของอำนาจหน้าที่ ความรับผิดชอบ จรรยาบรรณของผู้สังเกตการณ์ ความรับผิดชอบของผู้ที่ได้รับใบอนุญาตให้ทำการประมงนอกน่านน้ำไทย กรอบโครงสร้างด้านกฎหมายและนโยบาย การจัดการประมง และการตรวจสอบความปลอดภัยก่อนการปฏิบัติงานในทะเล เป็นต้น"นายธีรภัทร กล่าว

นายวิมล จันทรโรทัย อธิบดีกรมประมง กล่าวเพิ่มเติมว่า ความรู้ที่ผู้เข้ารับการฝึกอบรมได้รับ จะเป็นประโยชน์ในการเตรียมความพร้อมและใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในการบันทึกข้อมูลการทำประมง อาทิ ชนิดของเครื่องมือที่ใช้ทำการประมง ชนิดสัตว์น้ำ ปริมาณสัตว์น้ำ เป็นต้น ซึ่งจะเป็นตัวบ่งชี้ถึงอัตราการจับสัตว์น้ำและการประเมินทรัพยากรประมง เพื่อนำไปสู่การจัดการประมงที่ยั่งยืน รวมทั้งสร้างความมั่นใจให้กับนานาชาติว่ากิจกรรมการทำประมงของเรือประมงไทยไม่เกี่ยวข้องกับการทำประมงผิดกฎหมายอย่างแน่นอน ก่อให้เกิดการยอมรับในการส่งออกสินค้าประมงไทยและคงไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากรสัตว์น้ำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ