กระทรวงเกษตรฯ จับมือฮังการี หารือความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร หนุน MOU ด้าน Animal Health ด้านการเกษตร และด้านความปลอดภัยทางอาหาร พร้อมสานสัมพันธ์แลกเปลี่ยนองค์ความรู้ เพื่อพัฒนาสินค้าเกษตรระหว่างทั้งสองประเทศ

จันทร์ ๑๑ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๖:๕๐
นางวิมลพร ธิติศักดิ์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เปิดเผยภายหลังการหารือด้านการเกษตรร่วมกับ นายกิวลา บูได (Mr.Gyula BUDAI) Ministerial Commissioner, Ministry of Foreign Affairs and Trade of Hungary ว่า ได้มีการหารือความร่วมมือทางวิชาการด้านการเกษตร โดยที่ผ่านมาไทยและฮังการีได้มีความร่วมมือทางวิชาการภายใต้กรอบความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านการเกษตรระหว่างกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และกระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทฮังการี มานานเกือบ 15 ปี มีโครงการความร่วมมือทางวิชาการระหว่างกันกว่า 37 โครงการ อยู่ระหว่างดำเนินการอยู่ 15 โครงการ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นโครงการด้านปศุสัตว์และประมง และในโอกาสดังกล่าว ฝ่ายฮังการีได้เสนอจัดทำ MOUด้าน Animal Health ระหว่างกรมปศุสัตว์ และหน่วยงาน Department of Food Chain ของฮังการี ซึ่งปัจจุบันอยู่ระหว่างการส่งร่างแก้ไขของฝ่ายฮังการี ทั้งนี้ หากความตกลงดังกล่าวสำเร็จได้ ก็จะเป็นอีกหนึ่งกรอบความร่วมมือทางวิชาการของระหว่างทั้งสองประเทศ เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ ผู้เชี่ยวชาญ และเป็นการสร้างความสัมพันธ์ระหว่างทั้งสองประเทศให้แน่นแฟ้นยิ่งขึ้น

?นอกจากนี้ ฮังการีได้ขอให้กรมปศุสัตว์ พิจารณากำหนดการเดินทางไปตรวจประเมินโรงงานผลิตตับเป็ด ตับห่าน ลูกไก่และไข่ฟัก ณ ประเทศฮังการี พร้อมทั้งขอให้เพิ่มการตรวจเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ในการเดินทางไปตรวจประเมิน โดยฮังการีได้ส่งจดหมายเชิญเจ้าหน้าที่กรมไปตรวจประเมินโรงงานผลิตในเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ ฝ่ายฮังการี ได้เชิญไปร่วมคณะตรวจประเมินที่ประเทศฮังการี เพื่อรับชมโรงงาน และกระบวนการผลิตที่ได้มาตรฐานของฝ่ายฮังการีด้วย อย่างไรก็ตาม การเพิ่มเนื้อสัตว์ปีกและผลิตภัณฑ์ในการตรวจประเมินต้องเสนอที่ประชุมเพื่อพิจารณาก่อน ซึ่งกรมปศุสัตว์จะแจ้งผลการพิจารณาให้ทางฮังการีทราบต่อไป นอกจากนี้ กรมวิชาการเกษตรยังได้เสนอให้มีความร่วมมือด้านวิชาการเกี่ยวกับพันธุ์องุ่น เพื่อพัฒนาการผลิตไวน์ในประเทศไทยอีกด้วย

?สำหรับด้านการค้าระหว่างไทยและฮังการีนั้น ในระหว่างปี 2555 - 2557 ฮังการีเป็นประเทศคู่ค้าสินค้าเกษตรอันดับที่ 137 ของไทย โดยสินค้าเกษตรส่งออกสำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.สับปะรดปรุงแต่ง 2.ปลาป่น 3.ปลาซาดีนปรุงแต่ง 4.ซอสปรุงแต่งประเภทซอสพริกน้ำปลาและของผสมอื่นๆ ที่ใช้ปรุงรสรวมถึงกะปิ และ 5. ผงโกโก้ที่ไม่เติมน้ำตาล ขณะที่สินค้านำเข้าที่สำคัญ 5 อันดับแรก ได้แก่ 1.เนื้อสัตว์หรือส่วนอื่นๆของสัตว์ที่ป่นหรือทำเป็นเพลเลต 2.ส่วนอื่นๆ ของเป็ดแช่เย็นจนแข็ง 3.หางนม(เวย์) และหางนมดัดแปลง (โมดิไฟเวย์) 4.ส่วนอื่นๆ ของห่านแช่เย็นจนแข็ง และ 5 .อาหารปรุงแต่งอื่นๆ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ