“ภูมิคุ้มกันบำบัด” ทางเลือกใหม่ของมนุษยชาติในการพิชิตมะเร็ง

อังคาร ๑๙ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๐:๑๙
ปัจจุบัน "มะเร็ง" ถือเป็นโรคร้ายอันดับต้นๆ ที่คร่าชีวิตคนมากมายทุกปี องค์การอนามัยโลกได้รายงานพบผู้ป่วยรายใหม่ทั่วโลกมากถึงปีละประมาณ 14 ล้านคน และเสียชีวิตถึงปีละ 9-10 ล้านคน สำหรับในไทยข้อมูลจากกระทรวงสาธารณสุขระบุว่า มะเร็งยังเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของคนไทย โดยมีคนไทยเสียชีวิตจากโรคนี้ปีละกว่า 67,000 คน หรือเฉลี่ยชั่วโมงละ 8 คน จากแนวโน้มการเสียชีวิตจากมะเร็งที่เพิ่มขึ้นทุกปีเช่นนี้ ทำให้ทั่วโลกตื่นตัวพยายามหาทางพิชิตโรคร้ายนี้

ล่าสุดเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา ประธานาธิบดีบารัค โอบามา ได้ประกาศสนับสนุนโครงการวิจัย "Cancer MoonShot 2020" ตั้งเป้าเอาชนะโรคมะเร็งให้ได้อย่างเด็ดขาด ด้วยวิธีที่เรียกว่า "ภูมิคุ้มกันบำบัด" (Natural Immunotherapy) ให้ได้ภายในปี 2020 พร้อมประกาศมอบเงินทุนวิจัยเพื่อการนี้ถึง 1 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ด้วยความมุ่งหวังจะให้โครงการดังกล่าวเป็นเสมือนก้าวย่างอันยิ่งใหญ่ที่จะเปลี่ยนแปลงโฉมหน้าประวัติศาสตร์ของมนุษยชาติไปตลอดกาล เช่นเดียวกับการประกาศส่งมนุษย์ไปดวงจันทร์ในสมัยประธานาธิบดีจอห์น เอฟ. เคนเนดี้ ในปี 1961 ซึ่งนำไปสู่ความสำเร็จในที่สุด

ทั้งนี้แม้ว่าการผ่าตัด การฉายรังสี และเคมีบำบัด จะเป็นวิธีการรักษาโรคมะเร็งที่วงการแพทย์ปัจจุบันยอมรับว่ามีประสิทธิภาพมากที่สุด แต่ด้วยผลข้างเคียงที่ค่อนข้างรุนแรงต่อผู้ป่วย เช่น คลื่นไส้ ผมร่วง และการกดภูมิคุ้มกัน ทำให้ในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมาการพิชิตมะเร็งด้วยระบบภูมิคุ้มบำบัดได้กลายเป็นที่จับตามองของนักวิจัยทั้งในและต่างประเทศ ในฐานะมิติใหม่ของการรักษาในอนาคต กระทั่งสหรัฐฯ เองยังเห็นถึงความเป็นไปได้ที่การรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัดจะเข้ามาแทนที่การรักษามะเร็งด้วยการทำเคมีบำบัด จนยอมทุ่มงบพันล้านวิจัยเรื่องนี้ให้สำเร็จภายใน 4 ปี

สำหรับในประเทศไทย มีคณะนักวิทยาศาสตร์กลุ่มหนึ่งนำโดย ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา หัวหน้าคณะนักวิจัย Operation BIM ที่ได้ศึกษาวิจัยวิธีพิชิตเซลล์มะเร็งด้วย "ภูมิคุ้มกันบำบัด" (Natural Immunotherapy) จนประสบความสำเร็จในปี 2008 โดยมีผลพิสูจน์ชัดเจนรับรองโดยศูนย์วิจัยเทคโนโลยีชีวการแพทย์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่

ศ.ดร.พิเชษฐ์ วิริยะจิตรา อธิบายว่า "Natural Immunotherapy" หรือการรักษาโรคด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด คือการเข้าไปกระตุ้นเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานหรือยับยั้งการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในภาวะสมดุลไม่มากไม่น้อยเกินไป เรียกว่าเป็นการใช้กลไกธรรมชาติหรือเม็ดเลือดขาวที่มีอยู่ราว 20,000 – 55,000 ล้านเม็ด ซึ่งเป็นกองทัพที่ยิ่งใหญ่ที่ธรรมชาติสร้างมาให้เราต่อสู้กับโรคด้วยตัวเอง"

เพื่อกระตุ้นให้ร่างกายใช้กลไกธรรมชาติที่มีต่อสู้กับโรคด้วยตัวเอง การวิจัยในห้องปฏิบัติการอย่างต่อเนื่องกว่า 39 ปี ได้ค้นพบว่า สารกลุ่ม Xanthones ที่มีสรรพคุณสูงสุดในมังคุดคือ GM-1 มีคุณสมบัติเพิ่มความสามารถของเม็ดเลือดขาวในการกำจัดสิ่งแปลกปลอมได้ดี ยิ่งเมื่อนำมาเสริมฤทธิ์ด้วยสารสกัดจากพืชและผลไม้อีก 4 ชนิด คือ ถั่วเหลือง งาดำ ฝรั่ง และบัวบก ยังพบว่ามีประสิทธิภาพสูงมากขึ้นในการกระตุ้นการทำงานของเซลล์เม็ดเลือดขาวชนิด Th1, Th9, Th17 และ Interleukin-18 (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง Th17 เพิ่มขึ้นถึง 5 เท่า) ซึ่งทำหน้าที่เสมือนกองทหารสื่อสาร ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการฆ่าเซลล์มะเร็งของเม็ดเลือดขาวกลุ่มเพชฌฆาต Cytotoxic T-Cell อย่างเห็นได้ชัด

จากความสำเร็จดังกล่าวนับเป็นทางเลือกใหม่ของการพิชิตเซลล์มะเร็งด้วยพืชไทย คณะนักวิจัย Operation BIM จึงพร้อมที่จะช่วยเหลือคนไทยต่อสู้มะเร็งด้วยวิธีธรรมชาติ เปิดตัวโครงการ "APCO Cancer MoonShot 2017 by Natural Immunotherapy" เปิดรับสมัครผู้ป่วยมะเร็งที่ไม่ประสงค์ใช้เคมีบำบัดและรังสีบำบัด จำนวน 30 คน ได้ดูแลสุขภาพด้วยวิธี "ภูมิคุ้มกันบำบัด" โดยไม่มีค่าใช้จ่ายต่อเนื่องเป็นเวลา 6 เดือน ซึ่งเริ่มประกาศผลการคัดเลือกผู้เข้าร่วมโครงการในเดือนกรกฎาคม 2016 ก่อนสรุปผลทั้งหมดในต้นปี 2017 ผู้สนใจเข้าร่วมโครงการสมัครได้ที่ www.apco.co.th หรือโทร. 1154

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ