ซีพีเอฟพัฒนาลูกกุ้งอนุบาลคุณภาพสูง ลดความเสี่ยงจากโรคอีเอ็มเอส เพิ่มความสำเร็จให้เกษตรกร

พุธ ๒๐ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๕:๕๗
เกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งตอบรับลูกกุ้งอนุบาลปลอดโรคของซีพีเอฟ ช่วยเกษตรกรลดความเสี่ยงจากเชื้อก่อโรคที่สำคัญในกุ้ง เพิ่มความสำเร็จของผลผลิตกุ้ง

นายเปรมศักดิ์ วนัชสุนทร รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส บริษัท เจริญโภคภัณฑ์อาหาร จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า บริษัทฯ มุ่งมั่นคิดค้นแนวทางและเทคโนโลยีช่วยเพิ่มความสำเร็จให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงกุ้งไทย ลดความเสียหายจากปัญหาโรคตายด่วน หรืออีเอ็มเอส จึงพัฒนา "ลูกกุ้งอนุบาลคุณภาพสูงและปลอดเชื้อ" เรียกว่า ลูกกุ้งพูลเล็ต (Pullet) ขึ้น ช่วยให้เกษตรกรนำกุ้งปล่อยลงบ่อเลี้ยงได้ทันที ลดความเสี่ยงจากการติดเชื้อก่อโรคต่างๆ ได้มาก ทำให้ใช้เวลาในการเลี้ยงสั้นลง สามารถ เพิ่มจำนวนรอบการเลี้ยงต่อปีได้มากขึ้น ส่งผลให้ต้นทุนโดยรวมลดลง และรายได้เพิ่มขึ้น

"ลูกกุ้งอนุบาล "พูลเล็ต" ที่ปลอดเชื้อ มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรงทนทานต่อการติดโรค เป็นอีกทางเลือกที่ช่วยเพิ่มความมั่นใจให้กับเกษตรกรในเรื่องลูกกุ้งที่ปลอดจากเชื้อก่อโรคต่างๆ และยังสามารถเพิ่มความสำเร็จในการเลี้ยง เพราะลูกกุ้งอนุบาลของซีพีเอฟผ่านกระบวนการผลิตมีระบบป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อก่อโรคสำคัญของกุ้งในทุกขั้นตอน ตั้งแต่การเพาะเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์ที่เลี้ยงในระบบปิด กระบวนการผลิตในโรงเพาะฟักซีพีเอฟรวมถึงบ่ออนุบาลลูกกุ้งมีระบบป้องกันการปนเปื้อนเชื้อโรคอย่างเข้มงวด ใช้อาหารที่มีคุณภาพสูง และรวมไปถึงการใช้เทคนิคในการอนุบาลลูกกุ้งที่ได้มาตรฐาน ก่อนส่งถึงมือเกษตรกร ลูกกุ้งอนุบาลทุกชุดจะต้องผ่านการตรวจยืนยันว่าปลอดจากเชื้อก่อโรคที่สำคัญทุกชนิด ทั้งเชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส สายพันธุ์ก่อโรคอีเอ็มเอส และเชื้อไมโครสปอริเดีย" นายเปรมศักดิ์กล่าว

นายเปรมศักดิ์ กล่าวว่า เกษตรกรตอบรับลูกกุ้งอนุบาลของซีพีเอฟดีมาก เพราะการอนุบาลลูกกุ้งเอง เกษตรกรต้องมีความพร้อมทั้งเรื่องความรู้ ประสบการณ์และใช้ความเอาใจใส่สูง ดังนั้น ลูกกุ้งอนุบาลของซีพีเอฟจึงเป็นอีกทางเลือกที่ช่วยตอบโจทย์ให้กับเกษตรกรสามารถนำลูกกุ้งอนุบาลซึ่งมีขนาด 0.7-1 กรัม ปล่อยลงบ่อเลี้ยงได้ทันที เพราะลูกกุ้งอนุบาลมีความแข็งแรงและทนทานต่อโรคได้ดีกว่าลูกกุ้งขนาดที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน

"อย่างไรก็ตาม เกษตรกรจะได้ประโยชน์เต็มที่จากการใช้ลูกกุ้งอนุบาล ผู้เลี้ยงกุ้งต้องมีการจัดการบ่อเลี้ยงและน้ำที่ใช้เลี้ยงให้สะอาด โดยการฆ่าเชื้อในน้ำก่อนนำน้ำมาใช้เลี้ยงและการกำจัดตะกอนเลนที่เกิดขึ้นในบ่อเลี้ยงอย่างต่อเนื่องตลอดเวลา เพื่อให้สภาพแวดล้อมในบ่อดีอยู่เสมอ ช่วยลดปัจจัยความเสี่ยงที่อาจก่อให้เกิดเชื้อที่ก่อโรค" นายเปรมศักดิ์กล่าว

ด้าน นายบำรุง นาพรหม เกษตรกรเลี้ยงกุ้ง ต.สนามไชย อ.นายายอาม จ.จันทบุรี กล่าวว่า ตนเลือกใช้กุ้งอนุบาลที่ปลอดเชื้อของซีพีเอฟ ช่วยลดระยะเวลาในการเลี้ยงให้สั้นลงเหลือ 70-75 วัน ก็ได้กุ้งขนาด 35-40 ตัว/กิโลกรัม ช่วยให้รอบการเลี้ยงกุ้งทำได้ถึง 3.5 รอบใน 1 ปี กุ้งโตเร็วและมีอัตรารอดสูงขึ้น ผลผลิตที่ได้จากการใช้ลูกกุ้งอนุบาลอยู่ที่ 2.5 – 3 ตันต่อไร่ ต้นทุนในการผลิตก็ลดลงด้วยเช่นกันจากระยะเวลาเลี้ยงที่สั้นลง

"ผมเลือกใช้กุ้งอนุบาลของซีพีเอฟ เพราะมั่นใจในระบบที่ป้องกันการปนเปื้อนของเชื้อโรคได้ดีมาก ประกอบกับบริษัทยังให้คำปรึกษาเพื่อให้มีการจัดการถูกต้องและสามารถลดปัญหาเรื่องโรคอีเอ็มเอสได้มาก ช่วยประหยัดต้นทุน ผลตอบแทนสูง ส่งผลให้รายได้ต่อปีเพิ่มขึ้นอีกด้วย./

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ