ศูนย์วิเคราะห์เศรษฐกิจทีเอ็มบีหรือ TMB Analytics คาดเฟดจะมีมติ “คง” อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25-0.50% ในการประชุมวันพฤหัสนี้ ขณะที่ค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในกรอบ 34.9-35.2 บาท/ดอลลาร์

จันทร์ ๒๕ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๐:๔๕
ในสัปดาห์ที่ผ่านมา ธนาคารกลางยุโรปหรือ ECB คงอัตราดอกเบี้ยตามที่ตลาดคาด ขณะที่ตัวเลขเศรษฐกิจของฝั่งสหรัฐฯ ออกมาค่อนข้างดี โดย ECB มีมติ "คง" อัตราดอกเบี้ยนโยบายและเงินฝากไว้ที่ระดับ 0.00% และ -0.40% ตามลำดับ รวมทั้ง "คง" ปริมาณการเข้าซื้อสินทรัพย์ที่ระดับ 80 พันล้านยูโรต่อเดือน สำหรับเศรษฐกิจสหรัฐฯ จำนวนผู้ขอรับสวัสดิการการว่างงานปรับลดลงมาอยู่ที่ระดับ 2.47 แสนราย ขณะที่ยอดขายบ้านมือสองของสหรัฐฯ ปรับเพิ่มขึ้นมากกว่าที่ตลาดคาด สะท้อนว่าตลาดแรงงานและตลาดที่อยู่อาศัยของสหรัฐฯ ยังคงแข็งแกร่ง

ศูนย์วิเคราะห์ฯ มีความเห็นว่าการประชุมของธนาคารกลางของสหรัฐฯ และธนาคารกลางญี่ปุ่นในวันพฤหัส รวมทั้งการรายงานจีดีพีไตรมาสที่ 1/2016 ของสหรัฐฯ จะเป็นประเด็นที่ตลาดให้ความสนใจในสัปดาห์นี้ โดยเราคาดว่าธนาคารกลางสหรัฐฯ จะมีมติ "คง" อัตราดอกเบี้ยนโยบายที่ระดับ 0.25-0.50% และยังไม่มีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ ขณะที่คาดว่าธนาคารกลางญี่ปุ่นเองก็จะยังไม่มีการผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติม สำหรับจีดีพีไตรมาสที่ 1/2016 ของสหรัฐฯ ตลาดคาดว่าจะออกมาที่ระดับ 0.1% โดยการลงทุนและการส่งออกยังคงเป็นปัจจัยที่ฉุดเศรษฐกิจสหรัฐฯ ด้านเศรษฐกิจไทย เราคาดว่ามูลค่าการส่งออกที่จะรายงานในวันจันทร์จะหดตัวที่ระดับ 5.1% เนื่องจากผลของราคาน้ำมันและราคาสินค้าโภคภัณฑ์ที่อยู่ในระดับต่ำ

ค่าเงินบาทแกว่งตัวในกรอบ 34.80-35.10 บาทต่อดอลลาร์ภายในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา และซื้อขายอยู่ที่ระดับ 35.00 บาทต่อดอลลาร์ในสิ้นวันศุกร์ ซึ่งปัจจัยที่มีผลต่อตลาดเงินคือราคาน้ำมันที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้นส่งผลให้ตลาดกลับมาเป็นภาวะเปิดรับความเสี่ยง (Risk-On) อีกครั้ง ในสัปดาห์นี้เราเชื่อว่าราคาน้ำมันและการประชุมธนาคารกลางสหรัฐฯ จะเป็นปัจจัยที่กำหนดทิศทางของตลาด ถ้าเฟดยังไม่มีการกล่าวถึงการขึ้นดอกเบี้ยในช่วงเดือนมิถุนายน ก็มีความเป็นไปได้สูงที่กระแสเงินลงทุนจะยังไหลเข้าตลาดเกิดใหม่ต่อไป สิ่งที่ต้องระวังคือการประชุมธนาคารกลางญี่ปุ่นซึ่งกำลังได้รับแรงกดดันให้ผ่อนคลายนโยบายการเงินเพิ่มเติมเนื่องจากค่าเงินเยนแข็งค่าขึ้นมาก ซึ่งถ้าธนาคารกลางญี่ปุ่นออกมาเซอร์ไพรส์ตลาดต่อด้วยการนโนบายการเงินก็มีความเป็นไปได้สูงที่ตลาดเงินจะผันผวนมากในอาทิตย์นี้ สำหรับสัปดาห์นี้เราคาดว่าดอลลาร์สหรัฐจะซื้อขายในช่วง 34.9-35.2 บาท ยูโรอยู่ที่ในช่วง 39.08-39.77 บาท และค่าเงินเยนอยู่ในช่วง 0.30-0.32 บาท/เยน โดยค่าเงินบาทยังมีแนวโน้มแข็งค่าในช่วงนี้

อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐอายุ 10 ปี ปรับตัวขึ้นไปที่ระดับ 1.89% ในขณะที่บอนด์ยิลด์ ไทยอายุ 10 ปีปรับตัวขึ้นจากระดับ 1.72% มาอยู่ที่ระดับ 1.81% หรือเพิ่มขึ้น 9bps เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อบอนด์ยิลด์ไทยคือการที่กองทุนในประเทศเริ่มออกมาขายตราสารหนี้ระยะยาวที่มีราคาสูงและกลับไปถือบอนด์ระยะสั้นที่มีความเสี่ยงต่ำกว่าแต่ผลตอบแทนใกล้เคียงกันแทน ขณะที่ธนาคารและต่างชาติเริ่มหยุดขายบอนด์บ้างแล้ว ในสัปดาห์นี้การประชุมเฟดจะเป็นสิ่งที่ต้องจับตามากที่สุด ราคาน้ำมันที่เพิ่มขึ้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้เงินเฟ้อของสหรัฐฯ ปรับตัวสูงขึ้นได้ในช่วงครึ่งปีหลังซึ่งจะเป็นปัจจัยที่สนับสนุนการขึ้นดอกเบี้ย แม้เราจะมองว่าเฟดจะยังไม่ปรับขึ้นดอกเบี้ยเร็วๆ นี้ แต่ถ้าเฟดออกมาให้มุมมองว่าอาจขึ้นดอกเบี้ยในเดือนมิถุนายน ก็มีความเป็นไปได้ที่บอนด์ยิลด์ทั่วโลกจะรับตัวขึ้นต่อได้ และสำหรับสัปดาห์นี้ เราคาดว่ายิลด์พันธบัตรรัฐบาลไทยอายุ 10ปี จะอยู่ในช่วง 1.70-1.90%

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ