การลงนามครั้งนี้ สืบเนื่องจากพื้นที่ขององการบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา มีจุดแข็งในแหล่งท่องเที่ยวประเภทคาสต์ (Karst) หรือพื้นที่ภูเขาหินปูนที่มีหลากหลายรูปลักษณ์ เช่น ถ้ำภูผาเพชร ที่มีพื้นที่ภายในถ้ำกว้างขวางถึง 50 ไร่ ใหญ่ที่สุดในคาบสมุทรไทย-มาเลย์ มีความสวยงามระยิบระยับด้วยหินงอก หินย้อย เสาหิน ม่านหิน รวมทั้งเป็นแหล่งฟอสซิลหมึกจ้าวทะเล เมื่อ 480 ล้านปีก่อน และแหล่งโบราณคดียุคก่อนประวัติศาสตร์ ถ้ำเจ็ดคต ซึ่งเป็นถ้ำลำธารลอด ยาว 600 เมตร น้ำตกวังสายทองและธารล่องแก่งวังสายธาร ยาว 7 กิโลเมตร ที่คลาคล่ำด้วยนักท่องเที่ยวพายเรือคยัค น้ำตกวังใต้หนานและป่าดิบชื้น ที่พรรณไม้ยักษ์สูงเกิน 50 เมตร จำนวนมาก รวมทั้งเป็นถิ่นที่อยู่ของเงาะป่า "มานิ" หลายกลุ่ม ด้วยมรดกด้านทรัพยากรธรรมชาติดังกล่าว ทางองค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา มีความต้องการจะพัฒนาแหล่งธรรมชาติ แต่ยังขาดบุคลากรที่มีองค์ความรู้ทางวิชาการ ในการที่จะช่วยผลักดันเตรียมความพร้อมสำหรับรับรองพื้นที่ส่วนนี้ ซึ่งถือเป็นส่วนหนึ่งของอุทยานธรณีสตูลให้เป็น Global Geopark จาก UNESCO ด้วยเหตุนี้ สถาบันวิจัยไม้กลายเป็นหินฯ จึงเห็นความจำเป็นและมีความประสงค์ที่จะบริการวิชาการให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลปาล์มพัฒนา พร้อมผลักดันให้พื้นที่ดังกล่าว จากเป็นพื้นที่ Local พัฒนาสู่ Global และส่งเสริมให้จังหวัดสตูล ให้ความสำคัญนำเรื่อง Geopark เป็นวาระของจังหวัดต่อไป
- ๒๗ พ.ย. นักศึกษาคณะวิทย์ ม.ราชภัฏนครราชสีมา เยี่ยมชมโรงงานดั๊บเบิ้ล เอ
- ๒๗ พ.ย. ม.รำไพฯ เปิดบ้านการเงิน รับคณะดูงานจากนครราชสีมา
- ๒๗ พ.ย. ม.ศรีปทุม จับมือ ม.ราชภัฏนครราชสีมา MOU ร่วมพัฒนาคณาจารย์-นักศึกษา ปั้นบัณฑิตโลจิสติกส์ ยุคดิจิทัล ตอบโจทย์ตลาดงานและผู้ประกอบการ