TCELS ร่วมมือ 2 บริษัทสตาร์ทอัพ พัฒนาเทคโนโลยีทำนายเสี่ยงเกิดโรคทางพันธุกรรม

จันทร์ ๒๕ เมษายน ๒๐๑๖ ๑๔:๒๕
ดร.นเรศ ดำรงชัย ผู้อำนวยการ TCELS กล่าวว่า อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร เป็น 1 ใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลใช้เป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ในส่วนของ TCELS ให้การสนับสนุนการวิจัยทางการแพทย์มาอย่างต่อเนื่องโดยทำงานในเชิงประชารัฐ คือร่วมมือกับภาครัฐ เอกชน และภาคสังคม ซึ่งทั้งบริษัท LMGG และ MGC ก็เกิดจากการสนับสนุนของ TCELS มาตั้งแต่เริ่มแรกที่อยู่ในภาครัฐ จนพัฒนามาเป็นธุรกิจสตาร์ทอัพ ความร่วมมือในครั้งนี้ ถือเป็นความก้าวหน้าครั้งสำคัญในวงการการแพทย์ไทย ที่จะนำไปสู่การพัฒนามาตรฐานทั้งระบบของการให้บริการตรวจโรคทางพันธุกรรม ซึ่งเป็นแนวทางการป้องกันและการรักษาโรคแนวใหม่ที่กำลังได้รับความนิยมอยู่ในขณะนี้ ขณะเดียวกันจะเป็นต้นแบบให้กับผู้ที่สนใจเข้าสู่ธุรกิจสตาร์ทอัพและเอสเอ็มอีด้วย

"ประโยชน์ของงานบริการที่เกี่ยวกับการทดสอบพันธุกรรมทางการแพทย์นั้น มีกลุ่มเป้าหมายครอบคลุมเกือบทั้งหมดกับประชากรทุกระดับอาชีพในทุกกลุ่มอายุตั้งแต่ครรภ์มารดาจนถึงผู้สูงอายุ สำหรับสถานพยาบาลที่มีความประสงค์จะขอรับการสนับสนุนเทคโนโลยีการดูแลรักษาผู้ป่วย ตลอดจนบริษัทที่ต้องการเข้าร่วมเครือข่ายในเบื้องต้นสามารถติดต่อมาได้ที่ Hotline TCELS 02-6445499 กด 1" ผอ.TCELS กล่าว

นายแพทย์โอบจุฬ ตราชู ประธานกรรมการบริหาร บริษัท LMGG จำกัด กล่าวว่า บริษัท LMGG มีเทคโนโลยีที่สามารถให้บริการตรวจความผิดปกติทางพันธุกรรมในครอบครัว ครอบคลุมการคัดกรองพาหะโรคพันธุกรรม เช่น โรคที่จะก่อให้เกิดความพิการและทุพพลภาพต่าง ๆ ในทารก รวมถึงการวินิจฉัยโรคพันธุกรรมและโรคหายากต่าง ๆ เช่น โรคธาลัสซีเมีย โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง โรคไหลตาย โรคจอประสาทตาเสื่อมจากพันธุกรรมและกลุ่มมะเร็งที่ถ่ายทอดในครอบครัว เช่น มะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก มะเร็งไทรอยด์ เป็นต้น

นพ.โอบจุฬ กล่าวด้วยว่า โรคพันธุกรรมก่อให้ความสูญเสียในครอบครัวค่อนข้างสูง แต่เทคโนโลยีทางพันธุศาสตร์จะช่วยป้องกันการเกิดโรคซ้ำในครอบครัวได้ โดยการช่วยวางแผนการดำเนินชีวิตในครอบครัวและสามารถช่วยคัดกรองยีนในตัวอ่อนจากการทำเด็กหลอดแก้ว เพื่อช่วยให้คู่สมรสมีบุตรที่ปลอดจากโรคพันธุกรรมด้วย

ด้านนายแพทย์วีรยุทธ ประพันธ์พจน์ ผู้อำนวยการห้องปฏิบัติการ บริษัท MGC กล่าวว่า บริษัท MGC ดำเนินการด้านการให้บริการตรวจทางพันธุศาสตร์ทางการแพทย์ มากว่า 3 ปี ภายใต้มาตรฐาน ISO 15189: 2012 และ15190: 2003จากการสนับสนุนการจัดตั้งและดำเนินการโดย TCELS โดยมีเทคโนโลยี ที่สามารถให้บริการตรวจวินิจฉัยพันธุกรรมทารกในครรภ์โดยสามารถตรวจโครโมโซมจากสิ่งส่งตรวจ เช่น เลือด และน้ำคร่ำ จากมารดา เช่น โรค Down' syndrome, Patau Syndrome และ Edward Syndrome เป็นต้น นอกจากนี้ยังให้บริการตรวจทางจีโนม สำหรับการคัดกรองความผิดปกติของทารกในครรภ์มารดาจากการวิเคราะห์ดีเอ็นเอของลูกที่ปนอยู่ในเลือดแม่ รวมถึงบริการตรวจความผิดปกติ ของตัวอ่อนที่ได้จากเทคโนโลยีการผสมเทียม เพื่อเข้าสู่ขั้นตอนการคัดเลือก และย้ายฝากตัวอ่อน และยังให้บริการสนับสนุนทางด้านการศึกษา และการวิจัยทางพันธุศาสตร์การแพทย์อีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ