พม. จัดการประชุมทวิภาคี เพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง “ความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์”

อังคาร ๐๓ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๐๖
นางเสาวนีย์ โขมพัตร โฆษกกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคง ของมนุษย์ เป็นประธานเปิดการประชุมทวิภาคีเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการตามบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง "ความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้ามนุษย์และ การคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์" โดยมีวัตถุประสงค์สำคัญในการพิจารณาและจัดทำแผนปฏิบัติการ เพื่อกำหนด แนวทางการปฏิบัติงานที่เหมาะสมให้แก่ผู้ปฏิบัติงานร่วมกันของทั้งสองประเทศ โดยจัดขึ้นระหว่างวันที่ ๒๕-๒๙ เมษายน ๒๕๕๙ ณ โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น กรุงเทพฯ

นางเสาวนีย์ กล่าวว่า ประเทศไทยและกัมพูชามีความตระหนักและให้ความสำคัญต่อปัญหาการค้ามนุษย์ ซึ่งทั้งสองประเทศต่างมีความมุ่งมั่นที่จะแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์อย่างจริงจัง พร้อมกันนี้ยังให้ความสำคัญต่อการช่วยเหลือและคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ รวมไปถึงการดำเนินการเพื่อป้องกันปัญหาดังกล่าวไม่ให้เกิดขึ้น จึงได้ร่วมมือกันแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์ โดยการลงนามในบันทึกความเข้าใจระหว่างรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรไทยกับรัฐบาลแห่งราชอาณาจักรกัมพูชา เรื่อง "ความร่วมมือทวิภาคีว่าด้วยการขจัดการค้ามนุษย์และการคุ้มครองเหยื่อของการค้ามนุษย์" โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พลตำรวจ อดุลย์ แสงสิงแก้ว) เป็นผู้ลงนามในนามรัฐบาลของประเทศไทย ไปเมื่อวันที่ ๓๐ ตุลาคม ๒๕๕๗ ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา และมีแผนในการจัดทำแผนปฏิบัติการภายใต้บันทึก ความเข้าใจฯ เพื่อเป็นแนวทางสำคัญในการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ให้เกิดประสิทธิภาพต่อไปในอนาคต

นางเสาวนีย์ กล่าวต่ออีกว่า สำหรับการประชุมทวิภาคีไทย – กัมพูชาฯ ครั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินการแก้ไขปัญหา การค้ามนุษย์มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยตระหนักถึงประโยชน์สูงสุดของผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ตามหลักการสิทธิมนุษยชน และสอดคล้องกับบันทึกความเข้าใจฯ ซึ่งทั้งสองประเทศได้ลงนามร่วมกัน ประกอบด้วย ๖ แผนงาน ดังนี้ ๑. กลไก เพื่อการปฏิบัติตามแผนปฏิบัติการ ๒. การวิเคราะห์ข้อมูลสถานการณ์ และประเมินความต้องการ ๓. ความร่วมมือ ด้านมาตรการป้องกัน ๔. ความร่วมมือด้านการให้ความคุ้มครองผู้เสียหายจากการค้ามนุษย์ ๕. ความร่วมมือด้านการส่งกลับและคืนสู่สังคม และ ๖. ความร่วมมือด้านการปราบปรามการค้ามนุษย์

"ทั้งนี้ หากทั้งสองประเทศได้ร่วมกันพิจารณาและจัดทำแผนปฏิบัติการจนสำเร็จ ย่อมแสดงถึงการนำนโยบายไปสู่ การปฏิบัติอย่างเต็มรูปแบบ อีกทั้งแผนปฏิบัติการดังกล่าวยังเป็นเครื่องมือที่ทำให้ผู้ปฏิบัติงานสามารถมีแนวทางที่ถูกต้อง ในการลงมือปฏิบัติงานเพื่อแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ได้อย่างเหมาะสม ส่งผลให้สถานการณ์การค้ามนุษย์ของทั้งสองประเทศลดลงและหมดไปในที่สุด นอกจากนี้ ยังเป็นการกระชับสัมพันธไมตรีระหว่างประเทศไทยและกัมพูชาให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น อีกด้วย"นางเสาวนีย์ กล่าวในตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO