กระทรวงการคลัง จับมือกระทรวงวิทย์ ออกกฎหมายให้สิทธิประโยชน์ยกเว้นภาษีแก่ธุรกิจเงินร่วมลงทุน และผู้ประกอบการรายใหม่ กระตุ้นการลงทุนในธุรกิจเทคโนโลยีตามกลุ่ม 10 คลัสเตอร์เป้าหมายของรัฐบาล หวังพัฒนาตลาดทุนและยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

พุธ ๑๑ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๐๕
ณ ห้องประชุม 1601 ชั้น 16 อาคาร สำนักงานงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ถ.วิภาวดีรังสิต กรุงเทพฯ – กระทรวงการคลัง โดย สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) และกรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต) และกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)จัดแถลงข่าว"สิทธิประโยชน์ทางภาษีสำหรับกิจการเงินร่วมลงทุนและผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจเทคโนโลยี" เพื่อเปิดตัวสิทธิประโยชน์ให้สาธารณชนรับรู้

ดร.พิเชฐ ดุรงคเวโรจน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ปัจจุบัน ประเทศไทยได้มีความพยายามในการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยมุ่งไปสู่การเป็นเศรษฐกิจที่สร้างมูลค่าจากนวัตกรรมมากกว่าการใช้ทรัพยากรเป็นปัจจัยการผลิตดังเช่นในอดีต ซึ่งจะต้องสนับสนุนให้เกิดธุรกิจเทคโนโลยีขึ้นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการรายใหม่ในธุรกิจเทคโนโลยีมักจะประสบปัญหาในการเข้าถึงแหล่งเงินทุน เนื่องจากบริษัทเหล่านี้มีความเสี่ยงสูงกว่าบริษัทที่เน้นการผลิตแบบดั้งเดิม ทำให้การกู้ยืมเงินจากสถาบันการเงินจึงทำได้ยาก เพราะขาดหลักทรัพย์ค้ำประกัน อีกทั้งเทคโนโลยีที่เป็นแหล่งสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ธุรกิจนั้นประเมินมูลค่าได้ยาก ดังนั้น การร่วมลงทุนจากกิจการเงินร่วมลงทุน หรือ Venture Capital (VC) จึงเป็นกลไกที่สำคัญที่ประเทศอื่นๆ ใช้ในการสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยี เมื่อเร็วๆ นี้ รัฐบาลจึงได้ออกกฎหมาย 2 ฉบับ คือ พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ฉบับที่ 597 และฉบับที่ 602พ.ศ. 2559 เพื่อยกเว้นภาษีให้แก่กิจการเงินร่วมลงทุนรวมถึงนักลงทุนในกิจการเงินร่วมลงทุน และผู้ประกอบการรายใหม่ การสนับสนุนดังกล่าวครอบคลุม 10 คลัสเตอร์เป้าหมายที่เป็น S-Curve ของประเทศ เพราะรัฐบาลต้องการให้แรงจูงใจแก่ธุรกิจ VC ในการเข้าไปมีส่วนสำคัญในการลงทุนในอุตสาหกรรมเป้าหมายที่รัฐบาลต้องการสนับสนุน ตามแนวคิดประชารัฐ หรือ Public-Private Partnership ซึ่งนอกจากจะช่วยสร้างและขยายขนาดของธุรกิจเงินร่วมลงทุนให้เกิดขึ้นและเป็นเครื่องมือสนับสนุนธุรกิจฐานเทคโนโลยีเกิดขึ้นและให้เติบโตในประเทศไทยอย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น

นายวิสุทธิ์ ศรีสุพรรณ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง กล่าวว่า สำหรับประเทศไทย กลไกธุรกิจเงินร่วมลงทุนได้ถูกนำมาใช้เพื่อสนับสนุนการเกิดและการเติบโตของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) ตั้งแต่ปี 2545 โดยการออกพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 396) พ.ศ. 2545 เพื่อสนับสนุนการประกอบธุรกิจเงินร่วมลงทุน หรือ VC ที่ลงทุนใน SMEs ซึ่งภายหลังจากมาตรการสนับสนุนทางภาษีสำหรับ VC ได้สิ้นสุดลงในปี 2554 กระทรวงการคลังโดยสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง (สศค.) ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ กรมสรรพากร สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ปรับปรุงรูปแบบการสนับสนุนธุรกิจ VC จากการสนับสนุนและเน้นการเติบโต SMEs เป็นการสร้างธุรกิจเทคโนโลยี เพื่อเป็นรากฐานของเศรษฐกิจและสังคมฐานความรู้ โดยได้กำหนดขอบเขตของธุรกิจฐาน วทน. ที่ต้องการสนับสนุนใน 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ที่ใช้เทคโนโลยีหลักตามที่ สวทช. ประกาศกำหนดเป็นฐานในการประกอบกิจการ ดังนั้น กระทรวงการคลังจึงได้มีการกำหนดสิทธิประโยชน์ทางภาษีให้แก่นักลงทุน ธุรกิจ VC และผู้ประกอบการรายใหม่ สำหรับการลงทุนและประกอบกิจการที่ใช้เทคโนโลยีหลักเป็นฐานในการผลิตและการให้บริการ ในพระราชกฤษฎีกาทั้ง 2 ฉบับ

นายรพี สุจริตกุล เลขาธิการ ก.ล.ต. กล่าวว่า ในยุคปัจจุบัน ธุรกิจเทคโนโลยีเป็นฟันเฟืองสำคัญ ที่ทำให้ประเทศเจริญก้าวหน้าทันสมัย ภาครัฐเห็นความสำคัญจึงช่วยลดต้นทุนในการทำธุรกิจให้แก่ผู้ประกอบการที่ธุรกิจอยู่ในช่วงเริ่มต้น ซึ่ง ก.ล.ต. พร้อมร่วมกับหน่วยงานภาครัฐทุกภาคส่วนสนับสนุนให้ผู้ประกอบการในธุรกิจเทคโนโลยีสามารถใช้ประโยชน์จากตลาดทุนเพื่อเข้าถึงแหล่งเงินทุนที่มีคุณภาพ สร้างความแข็งแกร่งและสามารถแข่งขันได้ เพราะธุรกิจเทคโนโลยีเป็นฐานในการผลิตและให้บริการ สามารถสร้างและเพิ่มมูลค่าจากนวัตกรรมใหม่ ๆ ให้กับธุรกิจอื่นได้ และในขณะเดียวกัน จะเป็นโอกาสให้ผู้ลงทุนมีทางเลือกการลงทุนในธุรกิจที่มีศักยภาพอีกด้วย

ดร.ณรงค์ ศิริเลิศวรกุล รองผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติกล่าวเพิ่มเติมว่า สวทช. ได้รับมอบหมายให้เป็นหน่วยงานรับรองกิจการที่ประกอบอุตสาหกรรมเป้าหมาย และใช้เทคโนโลยีเป็นฐานในการผลิตและให้บริการ โดย สวทช. จะประกาศรายชื่อเทคโนโลยีหลัก และจะแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อพิจารณาให้การรับรองกิจการเหล่านี้ โดยเชื่อว่าสิทธิประโยชน์ทั้ง 2 มาตรการนี้ จะเป็นปัจจัยสำคัญในการสนับสนุนธุรกิจเทคโนโลยีที่เป็นตัวขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทย ซึ่งหากประเทศไทยสามารถปรับโครงสร้างเศรษฐกิจโดยเกิดธุรกิจเทคโนโลยีจำนวนมากขึ้น จะทำให้เกิดการยกระดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศและก้าวเข้าสู่เศรษฐกิจฐานใหม่ของประเทศ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๐๙:๕๕ ดร.เอ้ สุดยอดผู้นำด้าน AI เชื่อมั่น รพ.พระจอมเกล้าเจ้าคุณทหาร จะปฏิวัติการแพทย์ไทย ด้วย AI พร้อมความตั้งใจอันแน่วแน่
๐๙:๐๓ รมว.นฤมล ผลักดันกฎระเบียบว่าด้วยสินค้าที่ปลอดจากการตัดไม้ทำลายป่าของสหภาพยุโรป (EUDR)
๐๙:๑๖ เอ็ม บี เค เซ็นเตอร์ ร่วมกับ สภากาชาดไทย ชวนร่วมบริจาคโลหิต 26 ธันวาคมนี้ ชั้น 7 โซน A เพิ่มโลหิต เพิ่มชีวิต
๐๙:๔๗ มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง จัดเต็ม!! ลงพื้นที่เร่งลดความเหลื่อมล้ำ สร้างโอกาส สร้างชีวิตแก่ชาวหนองคายอย่างยั่งยืน
๐๙:๕๕ มูลนิธิอายิโนะโมะโต๊ะ ส่งมอบอาคารโรงอาหารอายิโนะโมะโต๊ะ ให้แก่ โรงเรียนบ้านดอนมะกอก จังหวัดสุราษฎร์ธานี
๐๙:๐๕ กทม. เข้มงวดโครงการก่อสร้างคอนโดฯ ในซอยสุขุมวิท 93 ปฏิบัติตามมาตรการ EIA
๐๙:๕๐ การเคหะแห่งชาติตั้งเป้าสร้างที่อยู่อาศัยรองรับสังคมผู้สูงอายุ
๐๙:๒๘ ทำอย่างไรจึงจะทำให้มีการใช้ generative AI มากขึ้น
๐๙:๔๐ NocNoc จับมือ กฟผ. ส่งความสุขปีใหม่ให้คนรักบ้าน มอบส่วนลดสินค้าประหยัดไฟเบอร์ 5 สูงสุด 500 บาท เมื่อช้อปผ่าน NocNoc Chat Shop ทัก-ช้อป-ลด เริ่ม 25 ธ.ค. 67
๐๙:๑๔ Warrior ตั้ม ศุภกิตติ์ หรือ ตั้ม โทมัส ทอม จากทีมมาสเตอร์ ดร.อั้ม อธิชาติ คว้าชัย The Social Warrior คนแรกของประเทศไทย