ความสำคัญของรัฐวิสาหกิจกับการพัฒนาเศรษฐกิจและการคลังของประเทศ เนื่องจากรัฐวิสาหกิจมีสินทรัพย์ ๑๓.๕ ล้านล้านบาท เป็นผู้ครอบครอง strategic assets สำคัญของประเทศ โดยมีการลงทุนคิดเป็นร้อยละ ๕๐ ของการลงทุนภาครัฐ และสามารถนำส่งรายได้ ๑.๖ แสนล้านบาท ในปีงบประมาณ ๒๕๕๘ นอกจากนี้ ยังได้เน้นบทบาทกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในการเป็น Active Shareholder ในการทำหน้าที่ขับเคลื่อนนโยบายที่สำคัญของรัฐบาล เช่น สนับสนุนการลงทุนของประเทศ เพื่อให้ปี ๒๕๕๙ เป็นปีแห่งการลงทุน ได้แก่ การเร่งรัดการเบิกจ่ายงบลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้เบิกจ่ายได้ตามเป้าหมายที่ ๙๕% ของบลงทุนอนุมัติ รวมถึงการสนับสนุนให้ภาคเอกชนร่วมลงทุนในกิจการของรัฐ (PPP) อย่างเป็นรูปธรรม เช่น โครงการรถไฟฟ้าที่ ครม. อนุมัติให้ดำเนินการ นโยบาย National e-Payment ต้องสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจนำระบบรองรับการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์มาใช้ในการให้บริการกับประชาชน มาตรการช่วยเหลือเกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย เช่น โครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายฉุกเฉินและจำเป็นของเกษตรกรที่ประสบภัยแล้ง วงเงิน ๖๐,๐๐๐ ล้านบาท และโครงการชุมชนปรับเปลี่ยนการผลิตสู้วิกฤติภัยแล้ง วงเงิน ๑๕,๐๐๐ ล้านบาท รวมทั้ง มาตรการช่วยเหลือ SMEs โดยเร่งรัดให้รัฐวิสาหกิจสนับสนุนให้ผู้ประกอบการ SMEs เข้าถึงแหล่งเงินทุนด้วยต้นทุนทางการเงินที่ไม่สูงเกินไป เช่น โครงการสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเพื่อเป็นเงินทุนหมุนเวียนให้แก่ผู้ประกอบการ SMEs มาตรการสนับสนุนวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และโครงการค้ำประกันสินเชื่อ เป็นต้น และโครงการจัดหาที่อยู่อาศัยสำหรับประชาชนผู้มีรายได้น้อยและข้าราชการ เช่น โครงการบ้านประชารัฐ โครงการบ้านประชารัฐบนที่ดินราชพัสดุ และโครงการขับเคลื่อนฟื้นฟูเมืองชุมชนดินแดง นอกจากนี้ ยังมุ่งเน้นที่จะผลักดันให้รัฐวิสาหกิจเป็นแหล่งรายได้ที่เพิ่มขึ้นของรัฐบาลในปีงบประมาณ ๒๕๕๙ เป้าหมายในการนำส่งรายได้จากรัฐวิสาหกิจเท่ากับ ๑๒๑,๐๐๐ ล้านบาท รวมถึงสนับสนุนให้สถาบันการเงินเฉพาะกิจ (SFIs) เป็นเครื่องมือในการดำเนินนโยบายสำคัญของประเทศจึงต้อง เพิ่มประสิทธิภาพในการบริหารจัดการให้แก่ SFIs และสนับสนุนให้รัฐวิสาหกิจเป็นองค์ที่แข็งแกร่งและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เพื่อเพิ่มคุณภาพการให้บริการแก่ประชาชน โดยนำหลักบรรษัทภิบาลมาใช้ เพิ่มประสิทธิภาพบริหารจัดการทรัพย์สิน สร้างรายได้เพิ่มและอยู่ได้ด้วยความยั่งยืน รวมถึงการนำรูปแบบในการประกอบธุรกิจที่ดีทั้งจากในและต่างประเทศมาปรับใช้กับองค์กร โดยจัดให้มีการวัดเปรียบเทียบ (benchmarking) โดยเฉพาะกับมาตรฐาน สากลหรือคู่แข่งที่สำคัญ
และที่สำคัญก็คือ สคร. ซึ่งจะมีส่วนสำคัญในการปฏิรูปกระบวนการทำงานของรัฐวิสาหกิจ รวมถึงการสนับสนุนให้กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังเป็น Active Shareholder เป็นส่วนหนึ่งของการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ สคร. จะต้องทำงานเชิงรุกเพื่อสนับสนุนการทำงานของกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในเรื่องต่างๆ ได้แก่ การสื่อสารและแลกเปลี่ยนข้อมูล สคร. ต้องทำงานเชิงรุกร่วมกับการทำงานของผู้แทนกระทรวงการคลัง โดยจะให้ความสำคัญกับการสื่อสารสองทาง (Two-way) และการสร้างความเข้าใจให้กับกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในการเป็น Active Shareholder เช่น หน้าที่ของกรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังในการต้องรายงานประเด็นและข้อเท็จจริงสำคัญของรัฐวิสาหกิจกลับมาให้ สคร. ทราบโดยเร็ว นอกจากนี้ สคร. ยังจัดทำฐานข้อมูลกลางรัฐวิสาหกิจที่กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังสามารถเข้าถึงได้ง่ายและรวดเร็ว เช่น ข้อมูลผลการวิเคราะห์ผลการดำเนินงานของรัฐวิสาหกิจ ปัญหาข้อกฎหมาย และข้อเท็จจริงที่ต้องให้ความสำคัญในการบริหารจัดการรัฐวิสาหกิจ
ทั้งนี้ นายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ ผู้อำนวยการ สคร. ได้กล่าวว่า การที่กรรมการผู้แทนกระทรวงการคลังเข้าใจในบทบาทและความรับผิดชอบในการเป็นผู้แทนกระทรวงการคลังในฐานะผู้ถือหุ้นเชิงรุก Active Shareholder และทำงานร่วมกับ สคร. ในการพัฒนารัฐวิสาหกิจ จะทำให้รัฐวิสาหกิจเป็นกลไกในการขับเคลื่อนนโยบายสำคัญของรัฐบาลได้อย่างมีประสิทธิภาพเพื่อการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมที่อย่างยั่งยืน รวมทั้งให้บริการสาธารณะกับประชาชนอย่างมีประสิทธิภาพต่อไป
โดยนายเอกนิติ นิติทัณฑ์ประภาศ
ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ