กรมส่งเสริมวัฒนธรรม กรุงเทพมหานคร พาซาญ่า โอเปร่าสยาม อินเตอร์เนชั่นแนล และสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ ร่วมมือกันอีกครั้ง เพื่อเทิดพระเกียรติสมเด็จพระบรมราชินีนาถ

อังคาร ๑๗ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๘:๔๓
มูลนิธิมหาอุปรากรกรุงเทพ (Bangkok Opera) จัดงานแถลงข่าวการแสดงบัลเล่ต์-โอเปร่า "สุริโยไท" การแสดงเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ ณ บริเวณโถงหน้าหอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เมื่อวันอังคารที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ.2559 โดยมีวัตถุประสงค์ในการประชาสัมพันธ์การแสดงบัลเล่ต์-โอเปร่า สุริโยไท ครั้งที่ 3 ซึ่งจะจัดแสดงขึ้นระหว่าง

วันศุกร์ที่ 27 พฤษภาคม – วันอาทิตย์ที่ 29 พฤษภาคม 2559 รวม 5 รอบ ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย พร้อมทั้งได้มีการเสวนาในหัวข้อ "สุริโยไทมีความหมายอย่างไรสำหรับคนไทยยุคร่วมสมัย"

คุณสมเถา กล่าวว่าในปี 2556 ทั้ง 5 รอบของการแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" เต็มหมดทุกรอบ จึงต้องมีการเพิ่มการแสดงขึ้นอีก 4 รอบในอีกหลายเดือนต่อมา การแสดงดังกล่าวจึงนับว่าเป็นการแสดงด้านดนตรีคลาสสิคที่มีผู้เข้าชมมากที่สุดเป็นประวัติศาสตร์ ณ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย หรืออาจถือได้ว่าเป็นการแสดงที่มีผู้ชมเนืองแน่นมากที่สุดในประเทศไทยเลยก็ว่าได้

การแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" โดยสมเถา สุจริตกุล ในปี 2556 เป็นการเริ่มต้นของศิลปะผสมผสานรูปแบบใหม่ ซึ่งนับว่าเป็นการพบกันระหว่างบัลเลต์ที่มีการเล่าเรื่องราว (Narrative Ballet) ของทางตะวันตก และละครนาฏยศิลป์ของไทย การแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" คือการเชื่อมโยงกันระหว่างแนวคิดทางด้านดนตรี การออกแบบ การกำกับท่าเต้น และเพลงของตะวันตกและเอเซีย

การแสดงบัลเลต์-โอเปร่า "สุริโยทัย" นั้นเป็นการรวมฉากเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ของสยามในช่วงที่กรุงศรีอยุธยารุ่งเรืองในฐานะที่เป็นมหานครใหญ่ และเป็นศูนย์กลางแห่งวัฒนธรรมต่างๆ ของโลก โดยมีเนื้อหาเรื่องราวเกี่ยวกับสมเด็จพระสุริโยทัย วีรกษัตรีย์อันเลื่องพระนามในประวัติศาสตร์ชาติไทย

ศิลปะบัลเลต์แบบ "narrative ballet" ซึ่งเป็นการเล่าเรื่องราวทั้งหมดผ่านนาฏยศิลป์ นั้นได้สูญสิ้นหรือตายไปเมื่อประมาณร้อยปีที่แล้วนับตั้งแต่ที่บัลเล่ต์แบบรัสเซีย (Ballets Russes) ก้าวขึ้นมารุ่งเรืองที่สุด ทั้งนี้ เพื่อเป็นการปลุกศิลปะประเภทนี้ให้ฟื้นกลับขึ้นมาอีกครั้ง สมเถาจึงได้มอบหมายให้ภูวเรศ วงศ์อติชาติ ซึ่งทำงานร่วมกับเขามาแล้วทั้งในงานโอเปร่า (แม่นาก โอเทลโล พระเตมีย์ใบ้) และในงานละครเพลง (เรยา เดอะมิวสิคัล) มาสร้างสรรค์รูปแบบผสมผสานของนาฏยศิลป์ ซึ่งประกอบด้วยลีลาการเต้นแบบสมัยใหม่กับนาฏศิลป์ไทย

ผู้ออกแบบฉากคือดีน ชิบูญ่า อดีตผู้อำนวยการฝ่ายศิลป์ของคณะมหาอุปรากรแห่งซานฟรานซิสโก (San Francisco Lyric Opera) สำหรับงานผ้าที่ใช้ในการแสดงนั้นสร้างสรรค์อย่างพิเศษโดยผู้นำด้านการออกแบบผ้าอย่างพาซาญ่า (Pasaya) นักร้องโอเปร่าที่มีชื่อเสียงอย่างสเตซี แท็พเพ่น ได้หวนกลับมาแสดงอีกครั้ง นอกจากนี้ ทฤษฎี ณ พัทลุง วาทยกรชาวไทยที่มีฝีมือระดับแถวหน้าในเวทีนานาชาติจะมาอำนวยเพลงให้กับวงดุริยางค์สยามฟิลฮาโมนิคออเคสตร้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version