รายงานเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทยในปี 2559 (The Report: Thailand 2016) พิจารณาการดำเนินงานของโครงการโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ในความพยายามที่จะเพิ่มความเชื่อมโยงระหว่างภูมิภาค รายงานของ อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป บริษัททำรายงานการวิจัย และที่ปรึกษาระดับโลก ยังสำรวจความพยายามของประเทศที่จะใช้ประโยชน์จากการฟื้นตัวของภาคการท่องเที่ยว ซึ่งได้รับประโยชน์จากการเปิดเสรีทางการค้า ทำให้ธุรกิจการท่องเที่ยวแบบไร้พรมแดนเพิ่มตัวสูงขึ้น
เนื้อหาการรายงาน ประกอบด้วยบทพิเศษที่ติดตามการพัฒนาและขยายตัวของประเทศไทย ในการนำนโยบายเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ ซึ่งมีความแตกต่างจากการพัฒนาเศรษฐกิจในระบบที่เน้นการร่วมหุ้นในระยะสั้น รายงานมุ่งความสนใจไปที่การพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งได้เริ่มดำเนินการมาแล้ว ทั้งในภาคเกษตรกรรม ภาคอุตสาหกรรม และภาคพลังงานของประเทศ
นอกจากนี้ รายงานเศรษฐกิจภาพรวมของประเทศไทยในปี 2559 ประกอบด้วยบทสัมภาษณ์เชิงลึกของนายกรัฐมนตรี พลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา และรายละเอียดของแต่ละภาคส่วน เพื่อชี้แนะนักลงทุน อีกทั้งในรายงานยังประกอบด้วยบทสัมภาษณ์และวิสัยทัศน์ของผู้นำองค์กรชั้นนำในภาคส่วนต่างๆ อาทิ
จูลี บิชอป รัฐมนตรีว่าการต่างประเทศออสเตรเลีย นายวิรไท สันติประภพ ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย มร. ดมีตรี เมดเวเดฟ นายกรัฐมนตรีประเทศรัสเซีย และ นายเกษม วัฒนชัย องคมนตรี รวมถึงมีการนำเสนอแนวคิด เศรษฐกิจพอเพียง ซึ่งเป็นปรัชญาที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้ทรงชี้แนวทางการดำรงอยู่และปฏิบัติตน
มร. แอนดรู เจฟฟรี ประธานบริหารและบรรณาธิการใหญ่ของ อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวว่า ในขณะที่ประเทศได้ดำเนินการเปลี่ยนแปลงจากภาคเกษตรกรรมไปสู่เศรษฐกิจแบบอุตสาหกรรม รัฐบาลได้วางแผนที่จะพัฒนาเพื่อการก้าวไปข้างหน้าอย่างมีคุณภาพด้วยการลงทุนในด้านพื้นฐานการศึกษาและการวิจัย ร่วมด้วยอุตสาหกรรมเพื่อการพัฒนา
"รัฐบาลมีเป้าหมายจะทำการวิจัยภายในประเทศและเพิ่มผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) ขึ้นร้อยละ 1 ถึง 2 ซึ่งเป็นอัตราส่วนของภาครัฐและเอกชนเป็น 70:30 ภายในปี 2564" มร. แอนดรู เจฟฟรี่ กล่าว "สิ่งนี้สอดคล้องกันได้ดีกับเป้าหมายในการสร้างความแตกต่างจากบรรดาประเทศที่มีความเท่าเทียมกัน เพื่อการแข่งขันในเวทีระดับโลกและในต่างประเทศ"
มร. พอลเลียส คูซินาส บรรณาธิการอำนวยการทวีปเอเชียแห่งอ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป กล่าวเสริมว่า
ประเทศไทยเร่งที่จะผลักดันการพัฒนาฐานการผลิตสินค้าเพื่อเพิ่มมูลค่าให้แก่สินค้านั้นๆ ให้เกิดจำนวนที่มากขึ้น หรือที่รู้จักในนาม ซูเปอร์ คลัสเตอร์ ที่จะมาสร้างสภาพแวดล้อมที่เป็นมิตรกับธุรกิจเอกชนภายในประเทศ
"สถานประกอบการของประเทศไทยทั้ง 10 เขตเศรษฐกิจพิเศษจะอำนวยความสะดวกต่อห่วงโซ่อุปทานที่ไร้พรมแดน ส่งผลต่อภาคยานยนต์พร้อมกับการรวมตัวของประชาคมอาเซียนในอนาคต"
มร. พอลเลียส คูซินาส กล่าว "รายงานของเราแสดงให้เห็นว่า การเคลื่อนไหวครั้งนี้จะทำให้เกิดคลื่นการลงทุนในฐานการผลิตที่จำเป็นภายในประเทศเพิ่มมากขึ้น"
รายงานสำหรับประเทศไทยในปี 2559 (The Report: Thailand 2016) ใช้เวลาในการทำวิจัยภาคสนามมากกว่าหกเดือนโดยกลุ่มนักวิเคราะห์จาก อ๊อกฟอร์ด บิสสิเนส กรุ๊ป รายงานประเมินแนวโน้มการพัฒนาเศรษฐกิจ รวมถึงเศรษฐกิจมหภาค โครงสร้างพื้นฐาน การธนาคาร และการพัฒนาของภาคธุรกิจต่างๆ