พม. ร่วมประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่ ๒๕ ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิสเพื่อนำเสนอรายงานทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒

อังคาร ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๑๖
วันนี้ (๑๑ พ.ค. ๕๙) นางเสาวนีย์ โขมพัตร โฆษกกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เปิดเผยว่า นายไมตรี อินทุสุต ปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (ปลัด พม.)ได้มอบหมายให้ตน และคณะเจ้าหน้าที่จากหน่วยงานในสังกัดที่เกี่ยวข้องได้แก่ สำนักงานปลัดกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ กรมกิจการเด็กและเยาวชน (ดย.) กรมส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ (พก.) และกรมกิจการผู้สูงอายุ (ผส.) ร่วมเป็นคณะผู้แทนไทย เดินทางเข้าร่วม การประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่ ๒๕ ที่นครเจนีวา สมาพันธรัฐสวิส เพื่อนำเสนอรายงานทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศตามกลไก Universal Periodic Review (UPR) รอบที่ ๒ ในวันที่ ๑๑ พฤษภาคม ๒๕๕๙

นางเสาวนีย์ กล่าวต่อไปว่า สำหรับคณะผู้แทนไทยที่เข้าร่วมการประชุมครั้งนี้ มีนายชาญเชาวน์ ไชยานุกิจ ปลัดกระทรวงยุติธรรม เป็นหัวหน้าคณะผู้แทนไทย และมีผู้แทนจากกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ และหน่วยงานอื่นที่เกี่ยวข้อง โดยการประชุมคณะทำงาน UPR สมัยที่ ๒๕ ได้กำหนดจะนำเสนอรายงานทบทวนสิทธิมนุษยชนของประเทศตามกลไก UPR รอบที่ ๒ ซึ่งกระบวนการ UPR เป็นกลไกการทบทวนสถานการณ์สิทธิมนุษยชนรายประเทศภายใต้คณะมนตรีสิทธิมนุษยชน แห่งสหประชาชาติ ในรูปแบบของการทบทวนโดยรัฐกันเอง (Peer Review) โดยแต่ละรัฐจะรับฟังข้อเสนอแนะจากรัฐอื่นๆ ด้วยการพิจารณาตอบรับข้อเสนอแนะ รวมถึงประกาศคำมั่นโดยสมัครใจ และนำมาปฏิบัติให้เกิดผลเป็นรูปธรรมในประเทศ อีกทั้งกำหนดให้รายงานผลการดำเนินการให้แก่คณะทำงาน UPR ทราบทุก ๔ ปีครึ่ง

นางเสาวนีย์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยให้ความสำคัญกับกระบวนการ UPR เนื่องจากเป็นกลไกที่สร้างสรรค์สมาชิกสหประชาชาติทุกประเทศเข้าร่วมรายงานอย่างเท่าเทียม ไม่มีข้อยกเว้น และมีโอกาสให้ข้อคิดเห็นกับประเทศอื่นๆ ซึ่งประเทศไทย ได้นำเสนอรายงานรอบที่ ๑ เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๕๔ โดยได้รับข้อเสนอแนะเพื่อนำมาปฏิบัติทั้งสิ้น ๑๓๔ ข้อ และประกาศคำมั่นโดยสมัครใจอีก ๘ ข้อ นอกจากนี้ ยังได้นำเสนอรายงานความคืบหน้าช่วงกลางรอบเมื่อเดือนมิถุนายน ๒๕๕๗ โดยสมัครใจ และได้ส่งรายงานประเทศตามกลไก UPR รอบที่ ๒ ให้แก่คณะมนตรีสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ เมื่อวันที่ ๔ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๙ โดยรายงานดังกล่าวได้ผ่านกระบวนการจัดทำโดยเน้นการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน รวมถึงได้รับฟังความเห็นจาก ภาคประชาสังคม หารือรับฟังความเห็นในต่างจังหวัด โดยรายงานมีสาระครอบคลุมประเด็นด้านสิทธิมนุษยชนของประเทศไทยอย่างครอบคลุม ทั้งในส่วนของสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม สิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง สิทธิของ กลุ่มเปราะบางต่างๆ โดยนำเสนอทั้งพัฒนาการ ความสำเร็จ ความท้าทาย และทิศทางในอนาคต สำหรับประเด็นที่เกี่ยวข้อง กับภารกิจของกระทรวงการพัฒนาสังคมฯ ที่คาดว่าจะถูกหยิบยกในการนำเสนอรายงานครั้งนี้ เช่น การปราบปรามการค้ามนุษย์ (รวมถึงการช่วยเหลือผู้เสียหาย/คดีในศาลอาญาแผนกคดีค้ามนุษย์) พระราชบัญญัติควบคุมการขอทาน พ.ศ. ๒๕๕๙ การจดทะเบียนเด็กแรกเกิด (รวมทั้งเด็กในกลุ่มชาติพันธุ์ ผู้หนีภัย และผู้มีปัญหาสถานะ) การป้องกันและแก้ไขปัญหาความรุนแรงต่อเด็กและสตรี การแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่น การแก้ไขพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ. ๒๕๕๐ และแผนผู้สูงอายุแห่งชาติ ฉบับที่ ๒ (พ.ศ. ๒๕๔๕ – ๒๕๖๔) เป็นต้น

"อย่างไรก็ตาม การประชุมครั้งนี้ คณะเจ้าหน้าที่กระทรวงการพัฒนาสังคมฯ จะมีบทบาทสำคัญในการรายงาน ผลดำเนินงานในการส่งเสริมสิทธิของกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ อาทิ เด็ก เยาวชน สตรี คนพิการ ผู้สูงอายุ และ กลุ่มเปราะบางทางสังคม รวมถึงการดำเนินการด้านการต่อต้านการค้ามนุษย์ของไทย และพร้อมที่จะรับฟังความเห็นและข้อเสนอแนะต่างๆ จากทุกประเทศ เพื่อจะนำมาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ในการดำเนินงานด้านสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยต่อไป" นางเสาวนีย์ กล่าวในตอนท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ