ชาวเลราไวย์ ตื้นตัน มีไฟฟ้าใช้แล้ว หลังรอมาทั้งชีวิต “พระครูวิมลปัญญาคุณ (The Solar Monk) ชู โครงการ "ค่าไฟสามบาทใช้ทั้งชาติไม่มีวันหมด" ด้วย Solar Cell ออฟกริด

อังคาร ๓๑ พฤษภาคม ๒๐๑๖ ๑๘:๐๒
ชาวเลราไวย์ ตื้นตัน มีไฟฟ้าใช้แล้ว หลังรอมาทั้งชีวิต "พระครูวิมลปัญญาคุณ (The Solar Monk) ชู โครงการ "ค่าไฟสามบาทใช้ทั้งชาติไม่มีวันหมด" ด้วย Solar Cell ออฟกริด แก้ปัญหาสายส่งเข้าไม่ถึง

พระครูวิมลปัญญาคุณ ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม บ้านดงดิบ อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี หรือที่หลายคนรู้จักกันในนามโรงเรียนโซล่าร์เซลล์ จนพระอาจารย์ได้รับฉายาว่า The Solar Monk กล่าวว่า การติดตั้ง Solar Cell จำนวน 3,000 วัตต์ ให้กับชาวเล หาดราไวย์ จ.ภูเก็ต จำนวน 25 ครัวเรือน ที่ไม่มีไฟฟ้าใช้ระหว่างวันที่ 10-11 พ.ค.ที่ผ่านมา เป็นไปด้วยความเรียบร้อย โดยชุมชนแห่งนี้ต้องประสบปัญหาขาดแคลนไฟฟ้าเพราะมีปัญหาเรื่องกรรมสิทธิ์ที่ดินทำให้ไม่มีไฟฟ้าใช้มาทั้งชีวิต

"การติดตั้งแสงสว่างด้วยโซล่าร์เซลล์เพื่อต่อสู้ความมืดมิดครั้งนี้ สร้างความตื้นตันใจให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก โดยในช่วงเปิดไฟทดสอบบางคนถึงกับน้ำตาไหล เพราะทั้งชีวิตไม่มีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้า ต้องซื้อเทียนไขมาจุดเพื่อแสงสว่างวันละ 20 บาท แม้ว่าจะเสี่ยงเกิดอุบัติเหตุเพลิงไหม้ แต่ชาวบ้านไม่มีทางเลือก ต้องอยู่ความลำบากมาโดยตลอด การที่เราได้มีส่วนช่วยเหลือพวกเขา ให้พ้นความเดือดร้อน และเห็นพวกเขายิ้มได้ ทำให้อาตมามีความสุขไปด้วย " พระครูวิมลปัญญาคุณ กล่าว

พระครูวิมลปัญญาคุณ ระบุต่อไปว่า หลังการติดตั้งเสร็จ อาตมาได้ให้นโยบายกับชุมชนว่า การรักษาให้ยั่งยืนนั้นเป็นหน้าที่ของคนในชุมชน เพราะไม่มีใครจะให้ตลอดไป ดังนั้น จึงเป็นที่มาของโครงการ ""ค่าไฟสามบาทใช้ทั้งชาติไม่มีวันหมด" โดยให้แต่ละครอบครัวต้องเสียค่าบำรุงระบบโซลาร์เซลล์วันละ 3บาท หรือ 90 บาทต่อเดือน 25 ครัวเรือน คิดเป็นเงินจำนวน 27,375 บาทต่อปีเก็บไว้ 3 ปีก็จะมีเงินเก็บ 82,125 บาท นำไปเปลี่ยนแบตเตอรี่ 120 แอมป์แบบดีฟไซเคิลได้ 9 ลูกๆละ 4,500 บาทเป็นเงิน 40,500 บาทยังมีเงินเหลือเก็บอีก 41,625 บาท

"เงินดังกล่าวจะเป็นกองทุนเพื่อบำรุงรักษาระบบโซลาร์เซลล์ไปได้เรื่อยๆ และชาวบ้านจะได้ไฟฟ้าไม่มีวันหมด เพียงจ่ายแค่วันละ 3บาทเท่านั้น เพราะโซล่าร์เซลล์มีอายุ 25 ปี ถึงตอนนั้นเงินที่สะสมมาก็สามารถซื้อชุดใหม่ได้ ซึ่งโครงการแบบนี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้ในทุกพื้นที่ที่อยู่ห่างไกลสายส่งเข้าไม่ถึง เพราะประเทศไทยมีแดดแรง สามารถติดตั้งโซลาร์เซลล์ได้ทุกที่ ทุกคนควรมีโอกาสได้ใช้ไฟฟ้า อย่างน้อยเพื่อแสงสว่างและมีอุปกรณ์อำนวยความสะดวกในชีวิตใช้บ้าง โดยเฉพาะพัดลม เพราะอากาศเมืองไทยร้อนมาก"

ผู้ก่อตั้งโรงเรียนศรีแสงธรรม กล่าวว่า ชาวเลราไวย์ ได้ฝากขอบคุณน้ำใจคนไทยที่แบ่งปันให้พวกเขาครั้งนี้ด้วย ถือเป็นสิ่งที่ความหมายต่อพวกเขาเป็นอย่างมาก เพราะเขาสามารถรู้สึกถึงความห่วงใยจากคนไทยทั้งประเทศ ไม่รู้สึกถูกทอดทิ้งเป็นคนไทยที่ถูกลืมเหมือนที่ผ่านมาอีกต่อไป โดยการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ครั้งนี้อุปกรณ์ทั้งหมดมาจากการบริจาคของคนทั้งประเทศ เป็นจำนวนเงิน 1.8 แสน รวมถึงการสนับสนุนพัดลม 25 ตัวของนายกเหล่ากาชาดภูเก็ตด้วย

"มากไปกว่านั้นการติดตั้งโซล่าร์เซลล์ครั้งนี้ ใช้ระบบการทำสถานีกระจายไฟฟ้า เพราะติดปัญหาโครงสร้างหลังคาบ้านของชาวบ้านที่ส่วนใหญ่อยู่ในสภาพใกล้พัง ทำให้ต้องนำโซล่าร์เซลล์มาติดตั้งบนหลังคาโบสต์ของคริสตจักรราไวย์ซึ่งให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี ถือเป็นการทำงานร่วมกันระหว่างสองศาสนาที่มีนัยยะสำคัญมาก ว่าประเทศไทยทุกศาสนาอยู่ร่วมกันได้และทำให้โครงการ "ค่าไฟสามบาทใช้ทั้งชาติไม่มีวันหมด" ประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี ขออนุโมทนาขอบคุณสำหรับผู้ร่วมกิจกรรมบุญกุศลในครั้งนี้" พระครูวิมลปัญญาคุณ กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ