โดยในปีที่ผ่านมา มีพระสงฆ์เข้ารับการรักษาด้วยอาการฉุกเฉิน ผ่านสายด่วน 1669 ด้วยอาการป่วย อ่อนเพลีย อัมพาตเรื้อรัง มากที่สุด 254 ราย รองลงมาคือ หายใจลำบาก หายใจติดขัด 132 ราย และ ปวดท้อง ปวดหลัง ปวดเชิงกรานและขาหนีบ 114 ราย
เลขาธิการ สพฉ. กล่าวต่อว่า สำหรับพระสงฆ์ที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤติ จะสังเกตได้จากระดับการรู้สติเปลี่ยนแปลงไป ไม่ตอบสนองต่อการกระตุ้น มีระบบหายใจวิกฤติ อาทิ ต้องลุกนั่ง พิงผนัง หรือยืนเพื่อให้หายใจได้ พูดได้เพียงประโยคสั้นๆ ออกเสียงไม่ได้ หายใจมีเสียงดังผิดปกติ หายใจเร็วและแรง หรือมีอาการสำลักอุดทางเดินหายใจร่วมกับมีอาการเขียวคล้ำ ส่วนระบบไหลเวียนเลือดนั้นอาจมีอาการผิดปกติ เหงื่อแตกท่วมตัว หมดสติ ซึ่งหากพระสงฆ์มีอาการเข้าข่าย บุคคลใกล้ชิดควรรีบโทรแจ้งสายด่วน 1669 เพื่อขอความช่วยเหลือทางการแพทย์
ส่วนพระสงฆ์ที่เข้าข่ายเป็นโรคหัวใจ สามารถสังเกตอาการเบื้องต้นได้คือ จุกเสียดแน่นตรงกลางหน้าอก อึดอัด หายใจไม่สะดวกเหมือนมีอะไรมีบีบรัด หรือกดทับ อาจปวดร้าวไปที่คอ แขนซ้าย หรือกราม ร่วมกับอาการคลื่นไส้ เหงื่อออกท่วมตัว ซึ่งอาการเหล่านี้จะเกิดขึ้นเมื่ออกกำลังกาย หรือทำงานหนักๆ แต่ถ้าหลอดเลือดหัวใจตีบมาก อาการแน่นหน้าอกอาจรุนแรง และอาการไม่ดีขึ้น แม้หยุดพักจนเกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน หรือหัวใจอาจหยุดเต้นอย่างกะทันหันได้ ซึ่งการช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหัวใจหรือหัวใจหยุดเต้นที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด คือการใช้เครื่องฟื้นคืนคลื่นหัวใจชนิดอัตโนมัติ หรือ เออีดี ที่ขณะนี้ สพฉ. ได้รณรงค์ให้มีการติดตั้งในพื้นที่สาธารณะเพิ่มขึ้นในหลายพื้นที่แล้ว ซึ่งต้องทำสลับกับการช่วยเหลือฟื้นคืนชีพผู้ป่วย ซึ่งหากทำได้เร็วผู้ป่วยฉุกเฉินก็จะมีโอกาสรอดมากยิ่งขึ้น
"ดังนั้นเพื่อการช่วยกันดูแลสุขภาพและป้องกันโรคของพระภิกษุ สิ่งสำคัญประการแรก คือ ประชาชนควรคำนึงถึงอาหารเพื่อสุขภาพ โดยเลือกแต่อาหารที่มีประโยชน์ ไม่มีรสเค็มจัด หวานจัด หรือมันจัด และเน้นอาหารที่มีผักมาก ๆ นอกจากนี้จากสภาพอากาศที่ร้อนจัด อากาศแปรปรวน ควรเลือกซื้ออาหารที่ ปรุงสุก ใหม่ด้วย เพื่อความปลอดภัย และที่สำคัญที่สุดหากพระสงฆ์ที่มีโรคประจำตัวดังกล่าว และมีอายุ 30 ปีขึ้นไป ควรได้รับการตรวจตรวจร่างกายเป็นประจำทุกปี" เลขาธิการ สพฉ. กล่าว