ความคิดเห็นของเกษตรกรในการแก้ปัญหาภัยแล้งของกระทรวงเกษตรฯ

จันทร์ ๑๓ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๔๐
ผศ.ดร.กัมปนาท เพ็ญสุภา รองคณบดีฝ่ายวิจัย ผอ.ศูนย์วิจัยเศรษฐศาสตร์ประยุกต์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ (มก.) พร้อมด้วย ดร.ภูมิศักดิ์ ราศรี ผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการเศรษฐกิจการเกษตร สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยร่วมกันว่า ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร (KU - OAE Foresight Center : KOFC) ได้สำรวจความคิดเห็น (POLL) ของกลุ่มตัวอย่างเกษตรกรใน 7 จังหวัดลุ่มเจ้าพระยาได้แก่ จังหวัดสิงห์บุรี อ่างทอง ลพบุรี นครนายก พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และนนทบุรี ระหว่างวันที่ 1-16 พฤษภาคม 2559 (สุ่มจากเกษตรกรในจังหวัดพื้นที่ลุ่มน้ำเจ้าพระยา 22 จังหวัด ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง) รวมตัวอย่างทั้งหมด 416 ตัวอย่าง ในหัวข้อ "ความคิดเห็นของเกษตรกรต่อการดำเนินการตามมาตรการแก้ไขปัญหาสถานการณ์ภัยแล้งของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์" พบว่า เกษตรกรส่วนใหญ่มีความเห็นว่า กระทรวงเกษตรฯ มีส่วนช่วยในการแก้ปัญหาทางการเกษตรที่เกิดขึ้นถึง ร้อยละ97.1 โดยได้รับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับภัยแล้งจากเจ้าหน้าที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ร้อยละ 99.8 และเห็นว่าข้อมูลดังกล่าวมีความน่าเชื่อถือ ร้อยละ 94.6 ทั้งนี้ ยังเห็นว่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์สามารถช่วยลดความเสี่ยงจากการผลิตได้ ร้อยละ 68.6 และทำให้ครอบครัวตนเองมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ร้อยละ 68.1 ขณะที่ภาพรวม เกษตรกรมีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งและการแก้ไขปัญหา ระดับปานกลาง

ในส่วนของมาตรการที่สนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชหลังนา/พืชใช้น้ำน้อย นั้น เกษตรกรมีความไม่มั่นใจว่าจะสามารถทำให้มีรายได้เพียงพอและคุ้มค่าพอที่จะปรับเปลี่ยนไปปลูกพืชดังกล่าว จึงทำให้มีเกษตรกรเพียงร้อยละ 29.7 เท่านั้นที่ปฏิบัติตามและเพราะเห็นว่าใช้ได้จริง

สำหรับเรื่องความเข้าใจในหน่วยงานที่เป็นผู้ดูแลราคาผลผลิตทางการเกษตร เกษตรกรเห็นว่ากระทรวงพาณิชย์และกระทรวงเกษตรและสหกรณ์เป็นหน่วยงานหลัก ด้านความช่วยเหลือที่เกษตรกรต้องการให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ช่วยเหลือเรียงตามลำดับมากไปหาน้อย คือ 1) การยกระดับราคาสินค้าเกษตร 2) การลดราคาปัจจัยการผลิต 3) การหาตลาดสินค้าเกษตร 4) เมล็ดพันธุ์/พันธุ์สัตว์ คุณภาพดี และ 5) ความรู้ในการเกษตร อย่างไรก็ตาม ศูนย์ติดตามและพยากรณ์เศรษฐกิจการเกษตร ได้เสนอมาตรการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรเพิ่มเติมดังนี้

1. ควรให้ความรู้กับเกษตรกรถึงแนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต การบริหารจัดการความเสี่ยง และการวิเคราะห์ความคุ้มค่าการลงทุนจากปัญหาภัยพิบัติทางธรรมชาติ ราคาสินค้าผันผวน ต้นทุนการผลิตที่เพิ่มสูงขึ้น

2. ควรจัดหาตลาดเพื่อรองรับผลผลิตของเกษตรกรควบคู่กับการให้ความรู้ในการผลิตสินค้าเกษตรตามความต้องการของตลาด

3. ควรปรับปรุงแนวทางการสนับสนุนให้เกษตรกรปลูกพืชหลังนา/พืชใช้น้ำน้อยให้มีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากขึ้น เช่น การให้ความรู้กับเกษตรกรในพืชที่ปลูกควบคู่ไปกับการมีที่ปรึกษาคอยให้คำแนะนำตลอดการเพาะปลูก รวมทั้งระยะเวลาในการสนับสนุนเหมาะสมกับช่วงการผลิตด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version