ทั้งนี้ อินซูลิน เป็นยาจำเป็นสำหรับการควบคุมระดับน้ำตาลในเลือดสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน ปัจจุบันยาฉีดอินซูลินที่ใช้มีความหลากหลาย ระยะเวลาในการออกฤทธิ์ที่แตกต่างกัน ความยุ่งยากในการบริหารยาแต่ละชนิด ความแตกต่างของการใช้อินซูลินในแต่ละกลุ่มอายุหรือชนิดของเบาหวาน เข็มและอุปกรณ์ต่างๆ ที่มีความทันสมัยมากขึ้น ตำแหน่งที่เหมาะสมในการฉีดอินซูลิน เทคนิคการฉีดยา การเก็บยา และข้อผิดพลาดที่พบบ่อย การประเมินและจัดการปัญหาจากการฉีดยา และการติดตามผลการรักษา นอกจากนี้กลุ่มแพทย์ พยาบาลและเภสัชกร ที่ปฏิบัติงานอยู่ในแต่ละสถาบันหรือแต่ละโรงพยาบาลยังมีความรู้ความเข้าใจและการปฏิบัติที่แตกต่างกัน ดังนั้นโครงการดังกล่าวนี้จะทำให้มีแนวทางการปฏิบัติที่ชัดเจนสอดคล้องกันซึ่งจะให้การรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด รวมทั้งช่วยลดความผิดพลาดจากการใช้ยาที่อาจเกิดอันตรายถึงแก่ชีวิตได้ โดยมีรายละเอียดดังนี้
3 สิงหาคม 2559
08.30-08.50 น. ลงทะเบียน
08.50-09.00 น. เปิดงาน โดยผู้อำนวยการโรงพยาบาล
09.00-10.00 น. "ขั้นตอนการเริ่มและการปรับอินซูลิน"โดย ผศ.นพ.สุธน พรธิสารหน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มธ.
10.00-10.45 "เทคนิคการฉีดยา การเก็บยา และข้อผิดพลาดที่พบบ่อย"โดย ภญ.ชนัญญา ศิริสุขประเสริฐ
หัวหน้างานเภสัชกรรมผู้ป่วยนอก รพ.ธรรมศาสตร์ฯ
10.45-11.00 น. อาหารว่าง
11.00-12.00น. "ฝึกกับอุปกรณ์ฉีดอินซูลินแบบต่างๆ"โดย ภญ.ณัฐสุดา หลักเพชรงานบริบาลทางเภสัชกรรม รพ.ธรรมศาสตร์ฯ
12.00-13.00 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.00-14.00 น. การติดตามผลการรักษาหลังการฉีดอินซูลินโดย นพ.เอกลักษณ์ วโนทยาโรจน์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรกรรมต่อมไร้ท่อ รพ.เทพธารินทร์
14.00-15.00 น. อินซูลินสำหรับ Type 1 Diabetesโดย ผศ.พญ.พรทิพา อิงคกุล หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม
ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มธ.
15.00-15.45 น. กรณีศึกษาโดย รศ.พญ.ณัฏฐินี จรัสเจริญวิทยา และ ผศ.พญ.พิมพ์ใจ อันทานนท์หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มธ.
15.45-16.00 น. ซักถาม/ แสดงข้อคิดเห็น
4 สิงหาคม 2559
08.00-08.30 น. ลงทะเบียน
08.30-09.30 น. "อินซูลินในกรณีพิเศษ" : กินเลี้ยง ออกกำลังกาย เดินทางผู้ที่ต้องการลดน้ำหนัก ตั้งครรภ์ไม่สบาย นอนโรงพยาบาลโดย รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิชหน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสม ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มธ.
09.30-10.30 น. เสวนา "การชักจูงให้ฉีดอินซูลินอธิบายคนไข้อย่างไรให้ เข้าใจ เข้าถึง :กรณีศึกษา"โดย
1. ผศ.พญ.มุฑิตา พนาสถิต ภาควิชาจิตเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มธ.
2. ผศ.พญ.พิมพ์ใจ อันทานนท์ หน่วยต่อมไร้ท่อและเมตะบอลิสมภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ มธ.
3. พว.ณัฏฐ์ธมน ธนธรณ์กีรติ พยาบาล
4. พว.พิชญ์วรา พันธุ์พิทย์แพทย์ APN สาขาการพยาบาลผู้สูงอายุ(โรคเบาหวาน)
5. ผู้ป่วยเบาหวาน และญาติ
10.30-10.45 น. อาหารว่าง
10.45-12.00น. "Carb counting"โดย คุณจุฑามาศ ทองลิ่ม นักโภชนาการ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ
12.00-13.00 น พักรับประทานอาหารกลางวัน (ฝึกนับคาร์บ)
13.00-14.00 น "นวัตกรรม และ applicationในการรักษาและติดตามโรคเบาหวาน"โดย รศ.พญ.ทิพาพร ธาระวานิช / NECTEC คุณกุสุมา เอกระSale representative DM unit of Medtronic company
ดร.สุปิยา เจริญศิริวัฒน์ หัวหน้าห้องปฏิบัติการวิจัยติดตามสุขภาพและรูปแบบการดำเนินชีวิต ศูนย์เทคโนโลยีอีเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ(NECTEC)
14.00-15.30 น "Workshop Carb counting"โดย คุณเบญจพรรณ บุรวัฒน์ และทีมนักโภชนาการ รพ.ธรรมศาสตร์ฯ
15.30-16.00 น. ซักถาม/ แสดงข้อคิดเห็น
โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ จึงขอเชิญบุคลากรทางการแพทย์ (แพทย์ พยาบาล เภสัชกร) ที่สนใจเข้าร่วมอบรมในวันและเวลาดังกล่าว โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผู้เข้าร่วมอบรมจะได้รับหน่วยคะแนนการศึกษาต่อเนื่อง CME / CNEU ทั้งนี้ขอให้ส่งแบบตอบรับทางโทรสารมามาที่ สำนักงานกลุ่มงานการพยาบาล โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ตำบลคลองหนึ่ง อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี 12120 ภายในวันที่ 18 กรกฎาคม 2559 โดยสามารถสอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ พว.พิชญ์วรา พันธุ์พิทย์แพทย์ และนางสาวพาวิดา เพ็ชรแท้ โทร. 0 2926 9334-5 ในวันและเวลาราชการ