การจัดการภาพถ่ายในอุดมคติของช่างภาพ

จันทร์ ๒๐ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๐๙:๓๕
ช่างภาพหลายคนคงเคยเจอภาวะแบบนี้ คิดว่าของใหม่บางอย่างมันไม่จำเป็นเพราะที่ใช้อยู่ก็ดีอยู่แล้ว แต่เมื่อได้ทดลองใช้ของใหม่ๆ เมื่อรู้ตัวอีกทีกลับกลายเป็นว่าขาดสิ่งที่เคยคิดว่าไม่จำเป็นไม่ได้เสียแล้ว ยกตัวอย่าง เมื่อก่อนใช้เลนส์คิทคุณอาจรู้สึกว่าเพียงพอแล้ว แต่พอลองมาใช้เลนส์คุณภาพสูงสักครั้ง (เช่น L, Nano) กลับทำให้คุณลืมเลนส์คิทไปเสียสนิท วันนี้เราไม่ได้มาพูดถึงเรื่องเลนส์ เราจะมาคุยกันถึงเรื่อง กระบวนการบริหารจัดการภาพ ตั้งแต่การถ่ายภาพ การแต่งภาพ ไปจนถึงการเก็บภาพไว้ และการจัดการเนื้อหาในยุคเทคโนโลยี ณ ปัจจุบัน

ขั้นตอนการทำงานของแต่ละคนนั้นต่างกัน ขั้นตอนที่ช่างภาพมือใหม่หลายคนชอบทำหรือแม้แต่มือเก๋าบางคนยังนิยมทำอยู่ นั่นคือ จะถ่ายภาพใส่ไว้ในการ์ดหน่วยความจำ เสร็จแล้วก็นำภาพถ่ายเหล่านั้นถ่ายโอนไปยังฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายนอกหรือฮาร์ดดิสก์ขนาดพกพา โดยใช้คอมพิวเตอร์โน๊ตบุ๊คเป็นตัวกลางถ่ายโอนหรือบางคนก็เก็บไว้ในโน๊ตบุ๊คโดยตรง เพื่อที่จะเคลียร์พื้นที่ในการ์ดหน่วยความจำ (ส่วนมากเป็นกรณีที่ไปเที่ยวหลายวัน) จากนั้นเมื่อกลับไปบ้าน ก็จะนำเอาภาพจากฮาร์ดดิสก์พกพาย้ายไปยังฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งอยู่ที่บ้าน โดยไม่มีฮาร์ดดิสก์ที่ใช้สำหรับสำรองข้อมูลไว้ นี่แค่ขั้นตอนการเคลื่อนไหวของภาพถ่ายโดยทั่วไป ภาพจากการถ่ายโอนจากการ์ดกล้องมายังบ้าน ยังไม่รวมถึงการโปรเซสและหลังโปรเซส จะเห็นว่ามีขั้นตอนที่เยอะมาก ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดและสูญหายของภาพสูง นับตั้งแต่ขั้นตอนแรกเลยด้วยซ้ำ

มีช่างภาพมืออาชีพบางท่านได้แชร์ประสบการณ์การไปเที่ยวต่างประเทศกับเพื่อนฝูง โดยวันนั้นเป็นวันที่ฟ้าเปิดสวยครั้งแรกและสถานที่สวยงามทุกอย่างลงตัวหมด จึงระดมถ่ายรูปเก็บบรรยากาศไว้มากมาย และพอกลับมาที่พักได้โอนภาพจากการ์ดหน่วยความจำลงสู่โน๊ตบุ๊ค แต่เกิดปัญหาโอนไฟล์ทับซ้อนกันทำให้ภาพของวันนั้นหายไปหมดสิ้น ลองคิดดูว่ากว่าจะเก็บเงินมาเที่ยวต่างประเทศและกว่าจะโชคดีเจอสถานที่สวยงามในวันท้องฟ้าแจ่มใสไม่ใช่เรื่องเกิดขึ้นได้ปุปปับ รูปถ่ายหายคือหายนะของช่างภาพ ถึงแม้ว่าจะเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นได้ไม่บ่อยนัก แต่ความผิดพลาดด้วยประการทั้งปวงอาจเกิดขึ้นได้กับทุกคน

จากความยุ่งยากของขั้นตอนและความผิดพลาดเหล่านั้น ทำให้เกิดความคิดที่ว่า กระบวนการบริหารจัดการภาพถ่ายในอุดมคติควรเป็นอย่างไร คำตอบที่ได้นั้น น่าจะเป็นในลักษณะที่ว่าเมื่อคุณถ่ายรูปเสร็จภาพควรไปอยู่ในฮาร์ดดิสก์ที่บ้านทันที เสมือนเป็นการแบ็คอัพรูปถ่ายแบบ "ยิงปืนนัดเดียว ได้นกสองตัว" นั่นคือ ถ่ายรูปครั้งเดียวแต่มีไฟล์เก็บไว้สองที่เลย แล้วเทคโนโลยีในปัจจุบันสามารถทำได้ในระดับนั้นหรือยัง คำตอบคือ ทำได้!

ขอแยกเป็นฝั่งรับและฝั่งส่ง และแน่นอนว่าทั้งสองฝั่งต้องเชื่อมต่อกันด้วยอินเตอร์เน็ต ฝั่งรับเป็นส่วนของพื้นที่จัดเก็บข้อมูล (Storage) ซึ่งต้องเป็นพื้นที่เก็บข้อมูลที่เชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้ หลายคนคงรู้จักเทคโนโลยีคลาวด์คอมพิวติ้ง (Cloud Computing) การประมวลผลบนกลุ่มเมฆหรือบริการพื้นที่ฝากไฟล์บนอินเทอร์เน็ต ปัจจุบันมีผู้ให้บริการเก็บข้อมูลสาธารณะบนคลาวด์อยู่หลายราย แต่ละรายมีค่าบริการทั้งแบบรายปีและรายเดือน จะดีมากๆ ถ้าเราสามารถจัดการเนื้อหารูปภาพ วิดีโอและสื่ออื่นๆ ผ่านคลาวด์คอมพิวติ้งโดยไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียม และให้เราสามารถเข้าถึงข้อมูลบนคลาวด์จากที่ไหนก็ได้ ช่วยประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย

ยอดเยี่ยมไปกว่านั้นเมื่อเราสามารถควบคุมข้อมูลของเราผ่านคลาวด์ส่วนบุคคล (Personal Cloud ) โดยการทำงานของ Cloud Storage หรือฮาร์ดดิสก์แบบติดตั้งภายนอกที่มีฟีเจอร์ในการเชื่อมต่อคลาวด์ผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ตได้ เช่น My Cloud คลาวด์สตอเรจส่วนตัวที่มีฮาร์ดดิสก์หนึ่งตัวบรรจุอยู่ภายในพร้อมความสามารถในการทำเป็นคลาวด์ผ่านอินเตอร์เน็ตใช้ได้ทุกที่ ด้วยอุปกรณ์ My Cloud นี้ ไม่ว่าคุณจะไปเที่ยวที่ไหนในเมืองไทยหรือไปต่างประเทศ เสมือนมีเมฆส่วนตัวติดตามไปด้วยทุกที่ทุกเวลา ทุกหนทุกแห่งในโลกนี้แค่มีอินเตอร์เน็ตคุณก็จะสามารถเข้าถึงข้อมูลดิจิตอลของคุณได้จากคอมพิวเตอร์และบรรดาอุปกรณ์เคลื่อนที่ทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็นมือถือ หรือแท็ปเล็ต ออกแบบมาเพื่อคอนซูเมอร์ในสนนราคาที่จับต้องได้ทุกสายอาชีพ และไม่ต้องเสียค่าเช่าคลาวด์สตอเรจรายเดือน/ปีเหมือนผู้ให้บริการผ่านระบบออนไลน์ด้วย

ผู้ใช้ My Cloud สามารถกำหนด Username และ Password ในการเข้าถึงข้อมูลได้ และถ้ามีผู้ใช้ My Cloud หลายคน เราสามารถตั้งสิทธิ์ในการเข้าถึงโฟลเดอร์ต่างๆ ได้ด้วย อันนี้เหมาะเลยสำหรับตากล้องที่มีทีมงานผู้ช่วยหลายท่าน และหากต้องการเพิ่มการปกป้องข้อมูลให้แน่นหนาเป็นสองเท่า อาจเขยิบไปใช้รุ่น My Cloud Mirror เป็นคลาวด์สตอเรจที่มีฮาร์ดดิสก์สองตัวอยู่ภายในกล่องเดียวกัน โดยฮาร์ดดิสก์ตัวที่สองจะสำรองข้อมูลจากฮาร์ดดิสก์ตัวที่หนึ่ง ข้อมูลในฮาร์ดดิสก์ทั้งสองลูกจะเหมือนกัน (หากทำ Mirror 1) ข้อดีคือในกรณีที่ฮาร์ดดิสก์ตัวหนึ่งเสียก็ยังมีอีกตัวที่มีข้อมูลเหมือนกันเป็นแบ็คอัพไว้

จะเห็นได้ว่าฝั่งรับข้อมูลสามารถเกิดขึ้นได้จริงแล้ว มาดูฝั่งส่งกันบ้าง นั่นก็คือกล้อง กล้องบางตัวมี WiFi ในตัว หากไม่มีก็จำเป็นต้องซื้อ ตัว WiFi แยก หรือการ์ดหน่วยความจำที่ทำหน้าที่เป็น WiFi ได้ด้วย เช่น Eye-Fi จากนั้นก็ใช้มือถือควบคุม ทำการส่งภาพไปยังฮาร์ดดิสก์ที่ติดตั้งอยู่ที่บ้านผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต จะเห็นว่าฝั่งส่งยังมีขั้นตอนอยู่ไม่น้อย ทว่าเทคโนโลยีพัฒนาขึ้นทุกวัน ในอนาคตอันใกล้อาจมีกล้องที่รองรับ 4G ช่วยลดขั้นตอนที่ต้องส่งข้อมูลภาพผ่านมือถือได้ และอีกความหวังหนึ่งคือ กล้องมือถือที่พัฒนาคุณภาพดีขึ้นเรื่อยๆ ทำให้เมื่อถ่ายรูปเสร็จสามารถย้ายรูปไปจัดเก็บไว้ที่ฮาร์ดดิสก์ผ่านอินเตอร์เน็ตของมือถือได้เลย ปัจจุบันนี้มือถือบางรุ่นก็สามารถรองรับ raw file ได้แล้ว

อย่างไรก็ตาม ข้อจำกัดอีกอย่างของการส่งภาพผ่านอินเตอร์เน็ตคือความเร็วของอินเตอร์เน็ต ทุกวันนี้แม้ความเร็วของอินเตอร์เน็ตจะเร็วขึ้นกว่าสมัยก่อน แต่การส่งภาพใหญ่ๆ ยังต้องใช้เวลาอยู่เหมือนกัน แต่เมื่อถึงเวลาหนึ่งที่กล้องสามารถส่งภาพจากตัวกล้องไปยัง Cloud ได้เอง หรือมือถือที่มีกล้องความละเอียดสูง เวลานั้นความเร็วอินเตอร์เน็ตอาจไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป เมื่อทุกอย่างมาบรรจบกันได้ กระบวนการบริหารจัดการภาพถ่ายในอุดมคติที่คิดไว้คงจะเกิดขึ้นได้อย่างสมบูรณ์แบบ และช่วยให้ชีวิตช่างภาพง่ายขึ้นแน่นอน

"เทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้นทุกวัน ทำให้งานถ่ายภาพของเราสะดวกมากขึ้น ปัจจุบันการจัดการและเก็บภาพของเราทำได้สะดวกอย่างยิ่งและมีตัวเลือกหลากหลายเหมาะกับการใช้งานที่แตกต่าง ไม่จำเป็นต้องหิ้วเอาฮาร์ดดิสก์ติดตัวไปแต่สามารถโอนไฟล์ภาพเข้าสู่ฮาร์ดดิสก์ที่อยู่ที่บ้านได้โดยใช้คลาวด์สโตเรจอย่าง My Cloud เป็นตัวช่วยบริหารจัดการเนื้อหาดิจิตอลให้เรา ชีวิตการทำงานสะดวกกว่าเดิมมากๆ" ผู้บริหารและจัดการเว็บไซต์ FOTOFAKA แสดงความคิดเห็น

"ช่างภาพหลายคนในยุคฟิลม์ต่างผันตัวเองไปทำธุรกิจอื่น เพราะไม่ปรับตัวให้ทันกล้องดิจิตอลทุกวันนี้ช่างภาพในยุคดิจิตอล นอกจากต้องก้าวตามทันเทคโนโลยีกล้องแล้ว ต้องเริ่มปรับตัวเรียนรู้การใช้เทคโนโลยีในการจัดเก็บไฟล์ที่รวดเร็วและปลอดภัย ที่สำคัญต้องสะดวกจัดการได้ทุกที่ทุกเวลา เพราะเมื่อคุณไวกว่าคนอื่นนั่นคือโอกาสที่มากกว่าคนอื่นเช่นกัน การจัดเก็บข้อมูลผ่านคราวด์มันจะเป็นการจัดเก็บข้อมูลที่สมบูรณ์และสะดวกสบายที่สุดในยุคปัจจุบัน" วริศร ดิสรานนท์ ช่างภาพมืออาชีพจาก Varisign Photography Studio แสดงความคิดเห็นปิดท้าย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ