JBIC ออกพันธบัตรสกุลเงินบาท

ศุกร์ ๐๒ กันยายน ๒๐๐๕ ๑๕:๓๓
กรุงเทพฯ--2 ก.ย.--ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น
-- จัดเป็นการออกพันธบัตรสกุลเงินเอเชียครั้งแรกภายใต้ ABMI --
1. ธนาคารเพื่อความร่วมมือระหว่างประเทศแห่งญี่ปุ่น หรือ JBIC โดยผู้ว่าการ เคียวสุเกะ ชิโนซาวา (Kyosuke Shinozawa) ลงนามในสัญญาว่าด้วยการออกพันธบัตรสกุลเงินบาท อัตราดอกเบี้ยคงที่ที่ค้ำประกันโดยรัฐบาลญี่ปุ่นในกรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม 2548
2. พันธบัตรสกุลเงินบาทนั้นออกภายใต้แนวคิดริเริ่มตลาดพันธบัตรแห่งเอเชีย (Asian Bond Market Initiative -- ABMI) โดยได้รับการส่งเสริมจากรัฐบาลญี่ปุ่นภายใต้กรอบงานของอาเซียน+3 (ญี่ปุ่น, จีน และเกาหลี) การออกพันธบัตรครั้งนี้จัดเป็นการออกพันธบัตรสกุลเงินเอเซียเป็นครั้งแรก โดยผู้ออกพันธบัตรญี่ปุ่นสอดคล้องกับแนวคิดของ ABMI ในเดือนพฤษภาคม 2547 รัฐบาลไทยได้ระบุแนวทางอนุมัติการออกพันธบัตรโดยรัฐบาลต่างประเทศและสถาบันการเงินที่เป็นทางการต่างประเทศ โดยพิจารณาเป็นกรณีไป โดยหลังจากนั้น JBIC ได้ทำการปรึกษาหารือกับเจ้าหน้าที่ไทยและได้รับการอนุมัติให้ออกพันธบัตรสกุลเงินบาท ด้วยเหตุนี้ JBIC จึงได้ตระเตรียมการและหลังจากที่ได้ติดตามสภาวะตลาดจึงได้ออกพันธบัตรสกุลเงินบาทในครั้งนี้ โดยการออกพันธบัตรในครั้งนี้จัดเป็นการออกพันธบัตรสกุลเงินเอเชียโดยรัฐบาลต่างประเทศหรือหน่วยงานของรัฐบาล ซึ่งสอดคล้องกับแนวคิดของ ABMI
3. เงินบาทที่ได้จากการออกพันธบัตรในครั้งนี้จะนำไปใช้ในการสนับสนุนธุรกิจของบริษัทญี่ปุ่นในประเทศไทย โดยผ่านสาขาที่กรุงเทพฯ ของธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่น (ธนาคารโตเกียว-มิตซูบิชิ, มิซูโฮ คอร์ปอเรท แบงก์ และ SMBC) การออกพันธบัตรครั้งนี้ทำให้การจัดหาเงินทุนสกุลท้องถิ่นโดยไม่มีความเสี่ยงภัยในด้านอ้ตราแลกเปลี่ยนเป็นเรื่องที่เป็นไปได้ ดังนั้นเองจึงเป็นที่คาดกันว่า จะสนองความต้องการมากมายทางด้านการเงินของบริษัทญี่ปุ่นต่างๆ ในประเทศไทย
4. JBIC มีความเห็นว่า เป็นงานชิ้นสำคัญที่จะสนับสนุนการพัฒนาตลาดพันธบัตรในประเทศกลุ่ม
อาเซียนและในประเทศจีนและเกาหลีภายในกรอบงานของแนวคิด ABMI นอกจากนี้ การออกพันธบัตรในตลาดทุนภายในประเทศจะช่วยให้ธนาคารต่างๆ สามารถสนองความต้องการในด้านการเงินในลักษณะหลากหลายที่เพิ่มมากขึ้นทุกทีของบริษัทญี่ปุ่นต่างๆ โดยการให้กู้ยืมเงินในสกุลท้องถิ่น ดังนั้น JBIC จึงมีความผูกพันเกี่ยวกับการออกพันธบัตรในสกุลเงินเอเชียที่จะมีเพิ่มมากขึ้นและการให้กู้ยืมในสกุลเงินท้องถิ่นเพื่อที่จะสนองความต้องการในด้านการเงินต่างๆ โดยอาศัยการปรึกษาหารือกับหน่วยงานในแต่ละประเทศ
5. ข้อมูลข้างล่างนี้เป็นข้อกำหนดเงื่อนไขของพันธบัตร
จำนวนเงิน 3,000 ล้านบาท
ตลาด ตลาดไทย
อายุของพันธบัตร 5 ปี (ชำระเงินครั้งเดียวในวันที่ 7 กันยายน 2553)
อัตราดอกเบี้ยพันธบัตร ร้อยละ 4.78 ต่อปี
ราคาจำหน่าย ร้อยละ 100
ผู้ค้ำประกัน รัฐบาลญี่ปุ่น
จดทะเบียนหลักทรัพย์ ศูนย์ซื้อขายตราสารหนี้ไทย
รายนามผู้จัดจำหน่าย บริษัทหลักทรัพย์ซิตี้คอร์ป (ประเทศไทย) จำกัด และธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (ในฐานะผู้จัดการการจัดจำหน่ายพันธบัตร) บริษัทหลักทรัพย์ พัฒนสิน จำกัด และบริษัทหลักทรัพย์ ทิสโก้ จำกัด (ในฐานะผู้ร่วมจำหน่ายพันธบัตร)--จบ--

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๖:๕๐ รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๑๖:๑๔ ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๑๖:๑๓ Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๑๖:๑๐ ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๑๖:๕๒ โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๑๕:๒๖ กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๑๕:๐๑ สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๑๕:๒๙ 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๑๕:๐๘ โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๑๕:๕๒ electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version