บีที เวลธ์ อินดัสตรีส์ (BTW) หนึ่งในผู้นำงานโครงสร้างเหล็ก โชว์แบ็กล็อกไตรมาสแรก 1,166.7 ล้านบาท พร้อมเดินหน้างานใหม่ 8โครงการ

พุธ ๒๒ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๕:๐๖
บริษัท บีที เวลธ์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTW ผู้ให้บริการแปรรูปผลิตภัณฑ์เหล็กและโครงสร้างเหล็ก รวมถึงชิ้นงานขนาดใหญ่ หรือ โมดูล ซึ่งมีประสบการณ์ในอุตสาหกรรมร่วม 30 ปี เผยปริมาณงานในมือที่ยังไม่ได้ส่งมอบกว่า 1 พันล้านบาท

นายโชติก รัศมีทินกรกุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัท บีที เวลธ์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) หรือ BTW เปิดเผยว่า "BTWประกอบธุรกิจรับงานแปรรูปชิ้นงานเหล็ก (Parts Fabrication) และงานแปรรูปและประกอบกลุ่มชิ้นงานขนาดใหญ่ (โมดูล) ทำให้บริษัทฯ มีข้อได้เปรียบกว่าบริษัทอื่นในอุตสาหกรรมเดียวกัน เนื่องจากความสามารถในการผลิตชิ้นงานที่หลากหลายให้กับลูกค้าในอุตสาหกรรมต่างๆ เช่น โรงไฟฟ้า ปิโตรเคมี ท่าเรือ โรงถลุงเหล็ก เหมืองแร่ ก๊าซและปิโตรเคมี เป็นต้น ทำให้กลุ่มบริษัทฯสามารถปรับเปลี่ยนการรับงานตามสภาพเศรษฐกิจและการเติบโตของแต่ละอุตสาหกรรมที่หลากหลาย ขณะนี้กลุ่มบริษัทฯ มุ่งเน้นการรับงานแปรรูปชิ้นงานเหล็กให้กับโรงไฟฟ้าทั้งในและต่างประเทศ โดยเฉพาะงานระบบท่อ งานแปรรูปและประกอบถังทนแรงดันและถังบรรจุ ส่งผลให้กลุ่มบริษัทฯ รับรู้รายได้อย่างต่อเนื่อง"

นายโชติก กล่าวต่อว่า "สำหรับไตรมาส 1 ซึ่งสิ้นสุดรอบบัญชี ณ วันที่ 31มีนาคม 2559 กลุ่มบริษัทฯ มีโครงการที่อยู่ระหว่างดำเนินงานมูลค่ารวมประมาณ 1,866.1 ล้านบาท คิดเป็นมูลค่างานที่ยังไม่รับรู้รายได้รวมประมาณ1,166.7 ล้านบาท ซึ่งมีทั้งโครงการที่ดำเนินงานต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2558 และที่เพิ่งเริ่มโครงการในไตรมาสแรกของปีนี้โดยแบ่งเป็นงานระบบท่อ อาทิเช่น โรงไฟฟ้าบ้านโป่ง มูลค่างานตลอดโครงการ 70 ล้านบาท และโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มูลค่างานตลอดโครงการ 202 ล้านบาท

ส่วนงานแปรรูปและประกอบถังทนแรงดันและถังบรรจุ อาทิเช่น โครงการโรงไฟฟ้าแม่เมาะ มูลค่างานตลอดโครงการ 146.1 ล้านบาท และโครงการ 12 SPP Project มูลค่างานตลอดโครงการ 85.8 ล้านบาท ด้านงานโครงสร้างเหล็ก (Structural Steel Fabrication) กลุ่มบริษัทฯ มีจำนวนงานที่อยู่ระหว่างดำเนินงาน 4 โครงการ อาทิเช่น โรงไฟฟ้ากัลฟ์ SPP 3 มูลค่างานตลอดโครงการ 433.2 ล้านบาท และโครงการ Haveli Project ซึ่งเป็นโครงการโรงไฟฟ้าในประเทศปากีสถาน มูลค่างานตลอดโครงการ 194.4 ล้านบาท โดยงานแปรรูปชิ้นงานเหล็กนั้นมีระยะเวลาการดำเนินงานที่สั้น ส่งผลให้กลุ่มบริษัทฯ รับรู้รายได้ทันทีเมื่อส่งมอบงานให้ลูกค้า"

นายโชติก กล่าวทิ้งท้ายว่า "กลุ่มบริษัทฯ ยังเข้าร่วมประมูลงานโครงการใหม่ๆ เสมอ และด้วยความสามารถของกลุ่มบริษัทฯ ที่รับผลิตงานได้หลากหลายรูปแบบไม่จำกัดแค่โครงการเหมืองแร่ หรือโครงการโรงไฟฟ้า ที่ผ่านมากลุ่มบริษัทฯ มีประสบการณ์รับจ้างผลิตโครงการในหลากหลายอุตสาหกรรม และมีกลุ่มลูกค้าจากหลากหลายประเทศ แสดงให้เห็นถึงศักยภาพของกลุ่มบริษัทฯ ในการขยายงานไปสู่กลุ่มลูกค้าและธุรกิจใหม่ๆ"

ทั้งนี้ บริษัท บีที เวลธ์ อินดัสตรีส์ จำกัด (มหาชน) ประกอบธุรกิจโดยการถือหุ้นในบริษัทอื่น หรือ Holding Company ด้วยทุนจดทะเบียน 378 ล้านบาท โดยมีบริษัท เบสท์เทค แอนด์ เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด เป็นบริษัทแกน ก่อตั้งเมื่อปี2530 ประกอบธุรกิจให้บริการแปรรูปผลิตภัณฑ์และโครงสร้างเหล็ก หรือSteel Fabrication ที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติร่วม 30 ปี โดยกลุ่มของงานบริการหลักประกอบด้วย งานแปรรูปและประกอบกลุ่มชิ้นงานขนาดใหญ่ หรือ โมดูล (Modularization) ซึ่งเป็นการผลิตกลุ่มชิ้นงานเหล็กหรือระบบการผลิตแยกเป็นหลายโมดูลเพื่อนำไปประกอบในโครงการอุตสาหกรรมหนักขนาดใหญ่ และงานแปรรูปชิ้นงานเหล็ก หรือ Parts Fabrication ได้แก่ งานระบบท่อ งานแปรรูปและประกอบถังทนแรงดันและถังบรรจุ และงานโครงสร้างเหล็ก

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ