จับตาวาระ กสท.ถกต่ออนุฯเนื้อหาเสนอปรับวอยซ์ทีวี ขัด ม.37/ ออกประกาศจัดผังรายการเพิ่ม และเตรียมสู้คดีมูลนิธิเสียงธรรมฟ้องคลื่นวิทยุ

พุธ ๐๑ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๑:๒๒
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 17/2559 วันจันทร์ที่ 30พ.ค. นี้ มีวาระประชุมน่าจับตา ได้แก่ การออกอากาศรายการ Wake Up News ทางสถานีโทรทัศน์ช่อง VOICE TV เมื่อวันที่21 เม.ย. 59 เวลาประมาณ 07.22 น. นำเสนอเนื้อหาเกี่ยวกับกลุ่มพลเมืองโต้กลับ ประกาศจัดกิจกรรมอีกครั้งในวันศุกร์นี้ เพื่อเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายวัฒนา เมืองสุข แบบไม่มีเงื่อนไข ซึ่งสำนักงาน กสทช.ได้ตรวจสอบพบเนื้อหารายการดังกล่าว และได้พิจารณาในคณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหา พบว่า มีลักษณะเป็นการต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามประกาศคณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 ลงวันที่ 18 ก.ค. 57 และประกาศ คสช. ฉบับที่ 103/57 ลงวันที่ 21 ก.ค. 57 ซึ่งการออกอากาศที่เป็นการฝ่าฝืนประกาศ คสช. ทั้ง 2 ฉบับ มีผลเป็นการออกอากาศที่มีเนื้อหาสาระกระทบต่อความสงบเรียบร้อย หรือศีลธรรมอันดีของประชาชน ซึ่งต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามมาตรา 37 แห่ง พรบ.การประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2551 และเป็นการขัดต่อข้อกำหนดในบันทึกข้อตกลง วันที่ 4 มิ.ย. 57 ระหว่างสำนักงาน กสทช. และ บริษัท วอยซ์ทีวี จำกัด ผู้รับใบอนุญาตช่อง VOICE TV ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการฯเห็นสมควรโทษปรับทางปกครอง ตามมาตรา 57(2) ประกอบกับมาตรา 57(3) แห่ง พรบ.ประกอบกิจการกระจายเสียงฯ พ.ศ. 2551

นางสาวสุภิญญากล่าวว่า อนุฯเนื้อหาเสนอให้ กสท. เอาผิดรายการโทรทัศน์ที่วิจารณ์การเมืองอีกแล้ว ดิฉันกลับเห็นต่างว่า กสทช.และฝ่ายรัฐควรเปิดใจกว้างขึ้นสำหรับการแสดงความเห็นของฝ่ายค้านและน้อมรับการตรวจสอบจากสื่อต่างๆให้มากขึ้น เพราะเป็นเสรีภาพขั้นพื้นฐานของพลเมือง อีกทั้งเพื่อลดแรงเสียดทานจากกลุ่มคนที่เห็นต่าง ในเวลาที่ประเทศกำลังจะลงมติรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญใหม่ กสทช. ควรให้ความสำคัญกับการกำกับดูแลสื่อไม่ให้ละเมิดสิทธิมนุษยชน และ คุ้มครองผู้บริโภคสื่อมากขึ้น แทนที่จะเน้นควบคุมเสรีภาพทางการเมืองเป็นหลัก

"ส่วนกรณีเรื่องร้องเรียนการถ่ายทอดสดเหตุการณ์เจรจาผู้ต้องหาจนยิงตนเองเสียชีวิต ขณะนี้อนุกรรมการด้านเนื้อหายังอยู่ในระหว่างการรวมรวมข้อมูล และให้ฝ่ายที่เกี่ยวข้องมาขี้แจงก่อนสรุปว่าขัดมาตรา 37 หรือไม่ จึงยังไม่ได้เสนอวาระเข้ามาให้ กสท. พิจารณาครั้งนี้ ส่วนในมิติจริยธรรม สำนักงาน กสทช. ได้ส่งจดหมายไปให้แต่ช่องพิจารณาตัวเองตามกรอบจรรยาบรรณของช่องต่างๆแล้วว่าขัดกติกากำกับตนเองที่วางไว้หรือไม่ แล้วให้แจ้งกลับมาที่ กสทช. ใน 15 วัน จากนั้น สำนักงาน กสทช. จะส่งเรื่องต่อให้องค์กรวิชาชีพสื่อพิจารณาต่อไป เพื่อให้เป็นบรรทัดฐานว่าการเผยแพร่ถือว่าขัดจริยธรรมสื่อไหม ถ้าขัดแล้วสื่อควรทำอย่างไร เช่น การขอโทษและแก้ไข เป็นต้น" สุภิญญากล่าว

นอกจากนี้มีวาระน่าติดตาม ได้แก่ วาระการกำหนดแนวทางการดำเนินคดีปกครอง กรณีมูลนิธิเสียงธรรมเพื่อประชาชน ได้ยื่นฟ้อง กสทช. และ กสท. ต่อศาลปกครองอุดรธานี โดยศาลปกครองมีคำสั่งให้ทำการแก้คำฟ้องพร้อมด้วยพยานหลักฐานยื่นต่อศาลโดยจะครบกำหนดในวันที่ 3 มิ.ย. นี้ วาระสรุปผลการรับฟังความคิดเห็นร่างประกาศ กสทช. เรื่อง หลักเกณฑ์การจัดทำผังรายการสำหรับการให้บริการกิจการกระจายเสียงหรือโทรทัศน์ (ฉบับที่๔) การพิจารณาให้ระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ วาระการขยายระยะเวลายื่นรายงานการแพร่แปลกปลอมของสถานีวิทยุกระจายเสียงที่ได้รับจัดสรรคลื่นความถี่ และวาระอื่นๆ ติดตามการประชุมในวันจันทร์นี้ …

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ