ฟิทช์ให้อันดับเครดิตหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 ของธนาคารกสิกรไทยที่ 'AA- (tha)’

ศุกร์ ๒๔ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๐:๓๙
ฟิทช์ เรทติ้งส์ (ประเทศไทย) ประกาศให้อันดับเครดิตภายในประเทศแก่หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 (Basel III compliant Tier 2 subordinated notes) สกุลเงินบาทของธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) หรือ KBank (อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาว 'AA(tha)'/แนวโน้มอันดับเครดิตมีเสถียรภาพ) ที่ 'AA-(tha)' ทั้งนี้วัตถุประสงค์ในการเสนอขายหุ้นกู้เพื่อเพิ่มความแข็งแกร่งของเงินกองทุนชั้นที่ 2 และเงินที่ได้จากการออกหุ้นกู้จะถูกนำไปใช้ในการดำเนินกิจการทั่วไปของธนาคาร

ปัจจัยสนับสนุนอันดับเครดิต

อันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิไม่มีหลักประกันที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 ตามเกณฑ์บาเซล 3 นี้ได้รับการจัดอันดับให้อยู่ต่ำกว่าอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิง (anchor rating) หนึ่งอันดับ เพื่อสะท้อนถึงความเสี่ยงของการขาดทุนจากการชำระคืนเงินกู้ (loss severity risk) ที่มากกว่าเมื่อเทียบกับตราสารหนี้ที่ไม่ด้อยสิทธิเนื่องจากหุ้นกู้ดังกล่าวมีสถานะด้อยสิทธิ หนึ่งในข้อกำหนดสิทธิที่สำคัญของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวคือเรื่องปัจจัยที่แสดงว่าธนาคารมีผลการดำเนินงานที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (non-viability trigger) โดยมีการกำหนดไว้ว่าธนาคารจะมีสถานะเป็นธนาคารที่ไม่สามารถดำเนินกิจการได้เมื่อธนาคารกลางหรือทางการตัดสินใจเข้าให้การช่วยเหลือทางการเงินแก่ธนาคารเพื่อให้ธนาคารสามารถดำเนินกิจการต่อไปได้และผู้ถือหุ้นกู้จะต้องรองรับผลขาดทุนในลักษณะการตัดเป็นหนี้สูญบางส่วนได้ (partial write-down) โดยไม่ได้เป็นการบังคับให้ตัดหนี้สูญทั้งจำนวน (mandatory full write-down)

นอกจากนี้หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 นี้ จะมีลำดับในการได้รับชำระหนี้ก่อน (senior) ตราสารทางการเงินที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 1 ที่มีคุณสมบัติสามารถรองรับผลขาดทุนได้ (loss absorption feature) ส่วนในกรณีที่มีเหตุการณ์ให้เกิดการตัดหนี้สูญ หุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 นี้จะถูกตัดเป็นหนี้สูญในสัดส่วนที่เท่ากัน (pari passu) กับหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่นับเป็นเงินกองทุนชั้นที่ 2 และมีคุณสมบัติสามารถรองรับผลขาดทุนได้โดยการตัดเป็นหนี้สูญชุดอื่นๆ ที่ออกโดยธนาคาร

อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ KBank ที่ 'AA(tha)' ซึ่งถูกใช้เป็นอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงนั้นพิจารณาจากความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารเอง โดยสถานะทางการเงินโดยรวมของธนาคารถือว่าเป็นตัวชี้วัดที่ดีที่สุดสำหรับความเสี่ยงที่ผู้ถือตราสารหนี้ของธนาคารจะไม่ได้รับผลตอบแทนตามที่คาดการณ์ (non-performance risk) ซึ่งก็คือความเสี่ยงที่ธนาคารจะมีสถานะเป็นธนาคารที่ไม่สามารถดำเนินกิจการต่อไปได้ (non-viable) ทั้งนี้ ฟิทช์ ไม่ได้มีการปรับลดอันดับเครดิตลงเพิ่มเติมจากอันดับเครดิตที่ใช้อ้างอิงเนื่องจากหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าวไม่ได้มีคุณสมบัติรองรับผลขาดทุนระหว่างการดำเนินกิจการ (going-concern loss absorption feature)

ความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank (ซึ่งสะท้อนได้จากอันดับความแข็งแกร่งของธนาคาร หรือ Viability Rating ) พิจารณาจากเครือข่ายธุรกิจที่แข็งแกร่งในประเทศไทยและฐานลูกค้าขนาดใหญ่ของธนาคาร รวมทั้งความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคารซึ่งที่ผ่านมาอยู่ในระดับดีมาอย่างต่อเนื่อง แต่กำลังเผชิญกับความเสี่ยงที่เพิ่มมากขึ้นจากสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ยังคงมีแนวโน้มที่อ่อนแอต่อเนื่อง ฟิทช์เชื่อว่าความแข็งแกร่งทางการเงินโดยรวมของ KBank ยังคงอยู่ในระดับที่ค่อนข้างดีเมื่อเทียบกับธนาคารอื่นที่มีอันดับเครดิตใกล้เคียงกันหรือสูงกว่า โดยเฉพาะในด้านความสามารถในการทำกำไร คุณภาพสินทรัพย์และเงินกองทุนและธนาคารน่าจะสามารถรับมือกับสภาพแวดล้อมในการดำเนินงานที่ท้าทายมากขึ้นในช่วง 1-2 ปีข้างหน้าได้ เนื่องจากธนาคารมีความสามารถในการรองรับความเสี่ยงที่ค่อนข้างสมเหตุสมผลในด้านของระดับเงินกองทุน ระดับสำรองหนี้สงสัยจะสูญ และความสามารถในการทำกำไร

ปัจจัยที่อาจส่งผลต่ออันดับเครดิตในอนาคต

การเปลี่ยนแปลงของอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ KBank น่าจะส่งผลกระทบในทิศทางเดียวกันต่ออันดับเครดิตของหุ้นกู้ด้อยสิทธิดังกล่าว

อันดับเครดิตภายในประเทศของ KBank จะได้รับผลกระทบในทิศทางเดียวกันกับการเปลี่ยนแปลงของระดับความแข็งแกร่งทางการเงินซึ่งสะท้อนในอันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของธนาคาร อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของ KBank อาจได้รับการปรับเพิ่มอันดับหากธนาคารสามารถรับมือกับสภาวะแวดล้อมในการดำเนินงานที่อ่อนแอเช่นในปัจจุบันได้ ในขณะที่ธนาคารยังสามารถเพิ่มความแข็งแกร่งของระดับเงินกองทุนและความสามารถในการรองรับความเสี่ยงในด้านคุณภาพสินทรัพย์ได้อย่างต่อเนื่อง

อันดับความแข็งแกร่งทางการเงินของ KBank อาจได้รับผลกระทบในเชิงลบหากธนาคารมีการปรับตัวลดลงในด้านวินัยในการควบคุมระดับความเสี่ยงที่ยอมรับได้และมีคุณภาพสินทรัพย์ที่ปรับตัวแย่ลงอย่างมากและต่อเนื่อง ซึ่งจะส่งผลให้ฐานะเงินกองทุนของธนาคารอาจปรับตัวลดลง (หรือเผชิญกับความเสี่ยงมากขึ้น) อย่างมีนัยสำคัญ โดยผลกระทบต่ออันดับความแข็งแกร่งทางการเงินดังกล่าวจะส่งผลกระทบต่อเนื่องกับอันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของธนาคาร

อันดับเครดิตของ KBank ที่ไม่ได้รับผลกระทบจากการประกาศอันดับเครดิตในครั้งนี้ มีดังนี้:

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวที่ 'BBB+'; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะสั้นที่ 'F2'

- อันดับความเข็งแกร่งทางการเงินที่ 'bbb+'

- อันดับเครดิตสนับสนุนที่ '2'

- อันดับเครดิตสนับสนุนขั้นต่ำที่ 'BBB-'

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวที่ 'AA(tha)'; แนวโน้มอันดับเคดริตมีเสถียรภาพ

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะสั้นที่ 'F1+(tha)'

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของโครงการหุ้นกู้ EMTN ประเภทไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกัน มูลค่ารวม 2.5 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ที่ 'BBB+'

- อันดับเครดิตสากลสกุลเงินต่างประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ ไม่ด้อยสิทธิ ไม่มีหลักประกันที่ 'BBB+'

- อันดับเครดิตภายในประเทศระยะยาวของหุ้นกู้ด้อยสิทธิที่ 'AA-(tha)'

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ