“ไฟเบอร์วัน” รุกวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เล็งกวาดรายได้ 2,000 ล้าน พร้อมเข้า “ตลาดหลักทรัพย์”

จันทร์ ๒๗ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๗:๒๐
ไฟเบอร์วัน รุกหนักธุรกิจอินเตอร์เน็ตใยแก้วนำแสง ความเร็วสูงสุด 1,000 MBPS รับเศรษฐกิจดิจิตอล ประกาศวางระบบเทคโนโลยีใหม่ให้ชุมชนฟรีเจาะกลุ่มโครงการที่อยู่อาศัย พร้อมเปิดตัวสัมพันธกิจให้บริการกลุ่มแรก AIS Fibre และ Planet Fiber ด้านผู้บริหาร ชี้อนาคตอุปกรณ์ในบ้านจะถูกพัฒนาให้อัจฉริยะ การวางโครงข่ายอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงจึงเป็นสิ่งจำเป็น ตั้งเป้าเจาะตลาดผู้อยู่อาศัยมากกว่าล้านครัวเรือนใน 3 ปี หวังกวาดรายได้ 2,000 ล้านบาท คาดปีหน้าเข้าโลดแล่นในตลาดหลักทรัพย์

คุณกิตติ โกสินสกุล ประธานกรรมการ บริษัท ไฟเบอร์วัน จำกัด (มหาชน) ผู้พัฒนาโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกเพื่อใช้งานอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เปิดเผยว่า บริษัทได้พัฒนาและเปิดตัวนวัตกรรมใหม่ที่ทันสมัยสุดในภูมิภาค คือ การติดตั้งโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกแบบรวมศูนย์ หรือ DSP : Digital Services Provider ที่เป็นเอกสิทธิเฉพาะของบริษัทฯ

โดยโครงข่ายดังกล่าวจะสามารถรองรับการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง (Supper Speed Internet) ของผู้ให้บริการ (ISP) ได้หลากหลาย ในระดับความเร็วมากกว่า 50 MBPS ไปจนถึงระดับ 1,000 MBPS รวมถึงบริการดิจิตอลอื่นๆอีกมากมาย ที่จะช่วยให้ผู้อยู่อาศัยได้ประโยชน์และมีอิสรภาพในการเลือกใช้บริการ สำหรับระบบโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกแบบ DSP นี้จะเข้าไปทดแทนโครงข่ายทองแดงรุ่นเก่าที่ล้าสมัยที่มีจำนวนมากกว่า 6 ล้านครัวเรือนในประเทศ เป็นการรองรับตลาดอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง SMART BUILDING และ SMART VILLAGE

นายกิตติ บอกด้วยว่า ปัจจุบันแนวโน้มการใช้บริการดิจิตอลและอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยโครงข่ายใยแก้วนำแสง ขยายตัวมากขึ้น ดังนั้นการวางโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกเพื่อรองรับอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง จึงกลายเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ ที่พักอาศัย รวมไปถึงผู้ประกอบการอสังหาริมทรัพย์ เนื่องจากในอนาคตอุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ จะถูกพัฒนาให้สามารถเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ตได้หมด

ดังนั้นบริษัทจึงเร่งขยายงานและเตรียมจะเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยเพื่อระดมทุน โดยขณะนี้อยู่ในระหว่างการเจรจาเพื่อคัดเลือกที่ปรึกษาทางการเงิน คาดว่าจะสามารถยื่นแบบคำขออนุญาตเสนอขายหลักทรัพย์ และแบบแสดงรายการข้อมูลการเสนอขายหลักทรัพย์และร่างหนังสือชี้ชวน (Filing) ต่อ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) ได้ภายในต้นปีหน้า และคาดว่าจะสามารถเข้าซื้อขายในตลาดหลักทรัพย์ได้ในปลายปีหน้า หรือ ต้นปี 2561

นายอภิชาติ พริ้งพวงแก้ว รักษาการประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท ไฟเบอร์วัน จำกัด (มหาชน) บอกว่า บริษัทมีแผนติดตั้งโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติกแบบ DSP ที่เป็นเอกสิทธิเฉพาะของบริษัทฯแก่ชุมชุนที่ผ่านการคัดเลือกให้ฟรี รวมถึงดูแลระบบให้อีก 15 ปี โดยมีปัจจุบันมีโครงการที่อยู่อาศัยให้ความสนใจขอเข้ารับการติดตั้งโครงข่ายไฟเบอร์ออฟติดแบบ DSP นี้กว่า 3,000 อาคาร/หมู่บ้าน ซึ่งคิดเป็นจำนวนผู้ใช้งานเกือบ 1,000,000 ราย คาดว่าจะติดตั้งแล้วเสร็จ 200,000 ครัวเรือน ในปี 2559 นี้ ซึ่งทำให้ บมจ.ไฟเบอร์วัน เป็นผู้นำตลาดด้าน Sharing Fiber Network ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศ รวมถึงคาดว่าจะสามารถติดตั้งได้มากกว่า 1,000,000 ครัวเรือนภายใน 3 ปี ซึ่งจะส่งผลให้ในปี 2561 บริษัทมีรายได้ 2,000 ล้านบาท จากปีนี้ที่คาดว่าจะมีรายได้ระดับร้อยล้านบาท โดยรายได้ของบริษัทจะมาจากส่วนแบ่งจาก ISP ในการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง

พร้อมกันนี้ บมจ.ไฟเบอร์วัน ยังได้เปิดกลุ่มสัมพันธกิจกลุ่มแรกที่เข้าร่วมกับบริษัท คือ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด (มหาชน) (AIS Fibre )และ บริษัท แพลนเน็ต คอมมิวนิเคชั่น เอเชีย จำกัด (มหาชน) (Planet Fiber) โดยกลุ่ม สัมพันธกิจดังกล่าวจะเริ่มทยอยนำเสนอบริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงด้วยไฟเบอร์ ให้แก่ผู้ใช้งานในชุมชนที่พักอาศัยทั้งหมดที่มีความพร้อม ซึ่งจะจัดให้มีการประสานงานกันของตัวแทนจำหน่ายของบริษัทแต่ละฝ่ายในการอำนวยความสะดวกซึ่งกันและกัน รวมไปถึงการพัฒนาความร่วมมือกันของทีมงานด้านเทคนิคและการซ่อมบำรุงของบริษัทแต่ละฝ่าย เพื่อให้บรรลุเป้าหมายทางธุรกิจร่วมกันอย่างยั่งยืนต่อไป

ทั้งนี้จากการพัฒนาโครงข่ายที่ถูกออกแบบมาภายใต้แนวคิดแบบ Sharing Economy อันเป็นปรัชญาหลักของบริษัทฯ ในการแบ่งปันการใช้โครงข่ายไฟเบอร์ออฟติก โดยไม่เกิดความซ้ำซ้อนในการลงทุนนี้ จะช่วยปรับโฉมสภาพภูมิทัศน์บ้านเมืองให้สวยงามและเพิ่มความปลอดภัยให้ชีวิตประชาชน ไม่ที่ก่อให้เกิดมลพิษทางสายตาดังที่ประจักษ์ในปัจจุบัน รวมถึงสร้างการแข่งขันของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงซึ่งจะส่งผลดีต่อผู้บริโภคในระยะยาว และเป็นการตอบรับกับนโยบายเศรษฐกิจดิจิตอล(Digital Economy)ของไทยอีกด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ