การประชุมสภาผู้ว่าการประจำปีของธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย ครั้งที่ 1 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน

พุธ ๒๙ มิถุนายน ๒๐๑๖ ๑๖:๓๔
นายกฤษฎา จีนะวิจารณะ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะโฆษกกระทรวง การคลังเปิดเผยว่า นายอภิศักดิ์ ตันติวรวงศ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง ในฐานะผู้ว่าการของไทย ได้เข้าร่วมการประชุมสภาผู้ว่าการประจำปีของธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย ครั้งที่ 1 (1st Asian Infrastructure Investment Bank (AIIB) Board of Governors' Annual Meeting) เมื่อวันที่ 25-26 มิถุนายน 2559 ณ กรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีผู้แทนจากประเทศสมาชิก เข้าร่วมการประชุมทั้งสิ้น 57 ประเทศ ในจำนวนนี้เป็นประเทศที่ให้สัตยาบันแล้วจำนวน 46 ประเทศ รวมถึงประเทศไทย

ในการประชุมสภาผู้ว่าการประจำปีของธนาคารเพื่อการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานเอเชีย เมื่อวันที่ 25 มิถุนายน 2559 มีนาย Zhang Gaoli รองนายกรัฐมนตรีสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นผู้กล่าวเปิด การประชุม และนาย Lou Jiwei รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังสาธารณรัฐประชาชนจีนเป็นประธาน โดยสภาผู้ว่าการได้รับทราบรายงานความก้าวหน้าในการดำเนินงานและงบประมาณประจำปี ค.ศ. 2016 รวมถึงรับทราบโครงการเงินกู้ที่ผ่านความเห็นชอบของคณะกรรมการธนาคารชั่วคราว (Interim Board of Directors:BODs) แล้วจำนวน 4 โครงการ ได้แก่ โครงการเงินกู้แก่ประเทศปากีสถาน ทาจิกิสถาน อินโดนีเซีย และบังคลาเทศ ประกอบด้วย การร่วมลงทุน (Co-finance) กับธนาคารพัฒนาเอเชียในโครงการก่อสร้างทางมอเตอร์เวย์ การร่วมลงทุนกับธนาคารยุโรปสำหรับการพัฒนาและการบูรณะในการพัฒนาเส้นทางบริเวณรอยต่อชายแดน การร่วมลงทุนกับธนาคารโลกในโครงการยกระดับคุณภาพชีวิตในชุมชนแออัด และการลงทุนในโครงการพัฒนาและขยายระบบจ่ายพลังงาน ตามลำดับ รวมมูลค่าโครงการทั้งสิ้น 509 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงจุดเริ่มต้นของความร่วมมือระหว่างองค์กรระหว่างประเทศต่างๆ ในการเติมเต็ม ความต้องการด้านการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานของประเทศสมาชิกต่อไปในอนาคต

นอกจากนี้ ที่ประชุมสภาผู้ว่าการในครั้งนี้ยังได้มีการเลือกตั้งคณะกรรมการธนาคารชุดแรก อย่างเป็นทางการรวม 11 ตำแหน่ง ประกอบด้วย กรรมการจากสมาชิกภายในภูมิภาค 9 ตำแหน่ง ได้แก่ ผู้แทนจากสาธารณรัฐประชาชนจีน อินเดีย รัสเซีย สาธารณรัฐเกาหลี ออสเตรเลีย อินโดนีเซีย ตุรกี ซาอุดิอาระเบีย และไทย และกรรมการจากสมาชิกภายนอกภูมิภาค 2 ตำแหน่ง ได้แก่ ผู้แทนจาก สหราชอาณาจักร และเยอรมนี เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานของฝ่ายบริหารให้เป็นไปตาม แนวนโยบายที่สภาผู้ว่าการได้ให้แนวทางไว้ ไม่ว่าจะเป็นการดำเนินการเพื่อตอบสนองต่อความต้องการของกลุ่มประเทศสมาชิกที่มีข้อจำกัดด้านศักยภาพทางเศรษฐกิจให้สามารถเข้าถึงแหล่งเงินทุนอย่างสมดุล การร่วมมือกับธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับพหุภาคีอื่น ๆ เช่น ธนาคารโลก และธนาคารพัฒนาเอเชีย ฯลฯ

ในการร่วมลงทุนที่มุ่งเน้นด้านโครงสร้างพื้นฐานที่นำไปสู่ความเชื่อมโยงทางเศรษฐกิจและลดความเหลื่อมล้ำภายในภูมิภาค และการพัฒนาระบบการดำเนินงานให้มีความคล่องตัวและมีประสิทธิภาพ รวมถึงโครงสร้างระบบธรรมาภิบาลที่เน้นการเปิดเผยข้อมูลและความโปร่งใสตามมาตรฐานของธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับพหุภาคีอื่น ๆ ในระดับสากลต่อไป

ต่อมา ในวันที่ 26 มิถุนายน 2559 ธนาคาร AIIB ได้จัดการสัมมนาในหัวข้อ Infrastructure and Global Economic Growth และหัวข้อ Financing Green Infrastructure: The Role of Multilateral Development Banks (MDBs) ซึ่งได้มีการหารือถึงบทบาทและความสำคัญของการพัฒนาความเชื่อมโยง ของโครงสร้างพื้นฐานที่ถือเป็นหนึ่งในปัจจัยหลักในการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกในระยะยาว โดยบริษัทที่ปรึกษา McKinsey ได้ประมาณการว่า ในช่วง 15 ปีข้างหน้าประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกยังมีความต้องการการลงทุนในด้านโครงสร้างพื้นฐานอีกกว่า 57 ล้านล้านเหรียญสหรัฐฯ เพื่อรักษาระดับการเติบโต ของเศรษฐกิจโลกต่อไป ซึ่งธนาคารเพื่อการพัฒนาในระดับพหุภาคีต่าง ๆ ถือเป็นหนึ่งในกลไกที่จะมีบทบาทในการผลักดันความร่วมมือและการเชื่อมโยงระหว่างความต้องการและแหล่งเงินทุน นอกจากนี้ ธนาคารเพื่อการพัฒนาเหล่านี้ยังมีบทบาทสำคัญในการควบคุมและกำกับดูแลให้โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่เกิดขึ้นนั้นเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งแม้ว่าการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมนั้น จะส่งผลให้ต้นทุนการดำเนินการโครงการสูงขึ้นอย่างน้อยร้อยละ 6 การส่งเสริมการดำเนินโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เช่น ผลิตภัณฑ์เงินกู้เฉพาะสำหรับการลงทุนที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Credit Loans) พันธบัตร และเงินสนับสนุนในรูปแบบต่าง ๆ เพื่อสนับสนุนการดำเนินการให้บรรลุตามเป้าหมายของอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (UN Framework Convention on Climate Change (UNFCCC) หรือ COP21 จะเป็นประโยชน์ต่อระบบเศรษฐกิจในระยะยาวและถือเป็นพันธกิจที่สำคัญและจำเป็นสำหรับการส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจโลกอย่างยั่งยืน

อนึ่ง ธนาคาร AIIB ได้เริ่มเปิดดำเนินการอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 16 มกราคม 2559 โดยมีนาย Jiin Liqun ดำรงตำแหน่งเป็นประธานธนาคาร (President) ในส่วนของประเทศไทยได้เข้าเป็นสมาชิกโดยสมบูรณ์ภายหลังการส่งมอบสัตยาบันสารเมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2559 พร้อมกันนี้ นายบุญชัย จรัสแสงสมบูรณ์ ที่ปรึกษาด้านเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง ในฐานะผู้แทนของประเทศไทย ได้รับเลือกตั้งให้ดำรงตำแหน่งกรรมการธนาคารในนามกลุ่มออกเสียงของไทย ซึ่งประกอบด้วยประเทศไทย ฟิลิปปินส์ บังคลาเทศ มาเลเซีย เนปาล และมัลดีฟส์ โดยคณะกรรมการชุดนี้ถือเป็นคณะกรรมการชุดแรกอย่างเป็นทางการของธนาคาร AIIB ซึ่งจะมีวาระการดำรงตำแหน่งเป็นเวลา 2 ปี

สำนักนโยบายเศรษฐกิจระหว่างประเทศ สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง โทร. 0 2273 9020 ต่อ 3681

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version