นายสมบัติกล่าวต่อไปว่า การลงประชามติครั้งนี้เป็นเรื่องที่ กบข. วิเคราะห์และเตรียมการรับมือเอาไว้ล่วงหน้า โดยใช้ความระมัดระวัง อีกทั้ง กบข. มีการป้องกันความเสี่ยงด้านอัตราแลกเปลี่ยนก่อนหน้านี้ ทั้งในสกุลเงินปอนด์ป้องกัน ร้อยละ 63 และยูโรป้องกัน ร้อยละ 80 ของการลงทุนที่เป็นเงินสกุลดังกล่าว นอกจากนี้ ในส่วนของการลงทุนในหุ้นทาง กบข. ได้ลดสัดส่วนการลงทุนในหุ้นประเทศอังกฤษลงก่อนหน้าอยู่แล้ว
ผลกระทบต่อการลงทุนให้กับสมาชิก กบข. มีไม่มากนัก เนื่องจาก กบข. ลงทุนส่วนใหญ่ในตราสารหนี้ไทย ร้อยละ 65 อสังหาริมทรัพย์ประมาณ ร้อยละ 7 ซึ่งส่วนใหญ่อยู่ในไทย โดยมีการลงทุนในหุ้นประมาณ ร้อยละ 20 ที่เหลือเป็นการลงทุนทางเลือกอื่นๆ
นายสมบัติกล่าวทิ้งท้ายว่า เหตุการณ์ Brexit แสดงให้เห็นว่าความผันผวนในตลาดเงินตลาดทุนสามารถเกิดได้บ่อยขึ้น ทุกภาคส่วนต้องทำความเข้าใจ และให้ความสำคัญกับการบริหารความเสี่ยงอย่างต่อเนื่อง สำหรับ กบข. เองได้ติดตามสถานการณ์และวิเคราะห์เศรษฐกิจอย่างใกล้ชิด พร้อมปรับกลยุทธ์การลงทุนระยะกลางและระยะยาวให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจอยู่เสมอ เพื่อให้ผลตอบแทนการลงทุนของ กบข. ยังคงเป็นไปตามเป้าหมายระยะยาวที่วางไว้ ทั้งนี้ ณ 31 พฤษภาคม ผลตอบแทนสุทธิเฉลี่ยตั้งแต่ตั้งกองทุน อยู่ที่ร้อยละ 6.69 ต่อปี ในขณะที่ผลตอบแทนสะสมในปี 2559 ถึงวันที่ 28 มิถุนายนหลังเหตุการณ์ Brexit ยังคงเป็นบวกอยู่ในระดับมากกว่า ร้อยละ 2