ซิสโก้เผยโร้ดแมปดิจิทัล แนะธนาคารสร้างรายได้ 405 พันล้านดอลลาร์

อังคาร ๐๕ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๒:๒๘
ด้วยโซลูชั่นดิจิทัลที่สำคัญ - ทรานส์ฟอร์มการขายและการให้บริการ การชำระเงินผ่านโมบายล์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงลึก การให้คำแนะนำผ่านทางวิดีโอ และไซเบอร์ซีเคียวริตี้ ขับเคลื่อนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของรายได้สำหรับ "ธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย" (Retail Bank)

ซิสโก้ ระบุว่า 405.3 พันล้านดอลลาร์ (หรือประมาณ 14 ล้านล้านบาท) คือมูลค่าเดิมพันทางดิจิทัล (Digital Value at Stake - VaS) ที่ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อย (Retail Banks) มีโอกาสที่จะได้รับในปี 2558 ถึง 2560 อย่างไรก็ตาม ในปี 2558 บริการด้านการเงินคิดเป็นสัดส่วนเพียง 29 เปอร์เซ็นต์ของโอกาสดังกล่าว ในบรรดาปัญหาท้าทายที่ขัดขวางการเติบโตและการสร้างสรรค์นวัตกรรม "จุดอ่อนทางด้านการรักษาความปลอดภัยไซเบอร์" หรือไซเบอร์ซีเคียวริตี้ คือปัญหาสำคัญ ส่งผลให้ธนาคารไม่สามารถปรับใช้เทคโนโลยีดิจิทัล และโมเดลธุรกิจได้อย่างเหมาะสม ทั้งยังพลาดโอกาสที่จะได้รับรายได้กว่า 70 เปอร์เซ็นต์

นอกจากนี้ ธนาคารยังได้รับแรงกดดันจากบริษัทที่ให้บริการด้านระบบการเงินดิจิทัลหรือ "ฟินเทค" (Fintech) รวมถึงความต้องการของผู้บริโภคในโลกดิจิทัล และกฎระเบียบที่ซับซ้อน แล้วธนาคารเหล่านี้จะสามารถแข่งขันและช่วงชิงโอกาสในการสร้างรายได้ได้อย่างไร? ในฐานะเซ็กเมนต์ที่ใหญ่ที่สุดในธุรกิจบริการด้านการเงิน ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อยจะแย่งชิงส่วนแบ่งที่เหมาะสมได้อย่างไร?

ซิสโก้ได้เผยแพร่รายงานผลการศึกษาล่าสุดที่มีชื่อว่า "โร้ดแมปสู่มูลค่าดิจิทัลในธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย" ("Roadmap to Digital Value in the Retail Banking Industry") โดยให้รายละเอียดเกี่ยวกับมูลค่าเดิมพันทางดิจิทัล (Digital Value at Stake) สำหรับธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย รวมถึงแผนการพัฒนาด้านดิจิทัลเพื่อความสำเร็จ รายงานดังกล่าวเปิดเผยกรณีการใช้งานดิจิทัลที่ผลักดันมูลค่าและผลตอบแทนการลงทุนได้รวดเร็วที่สุดสำหรับธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย ด้วยการลงทุนในเทคโนโลยีที่เหมาะสม เช่น ระบบวิเคราะห์ข้อมูลขั้นสูง โมบิลิตี้ วิดีโอ และรูปแบบการให้บริการแบบเวอร์ช่วลไลซ์ รวมถึงแผนจัดการความเสี่ยงด้านความปลอดภัย ธนาคารจะสามารถสร้างกลยุทธ์สำหรับการช่วงชิงส่วนแบ่งมูลค่าดิจิทัลหลายแสนล้านดอลลาร์

โร้ดแมปของซิสโก้สำหรับการช่วงชิงมูลค่าดิจิทัลในธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย

ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อยจะต้องเร่งการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล มิฉะนั้นอาจมี "ความเสี่ยง"ต่อการเลิกกิจการ: ธุรกิจสตาร์ทอัพในกลุ่ม "Fintech" ก่อให้เกิดการหยุดชะงักทางธุรกิจของธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อย ด้วยการนำเสนอผลิตภัณฑ์และบริการที่ใกล้เคียงกันผ่านระบบดิจิทัล ผลที่ตามมาก็คือ ธุรกิจ Fintech เหล่านี้สามารถแย่งชิงส่วนแบ่งตลาดจากธนาคาร ทั้งยังหลีกเลี่ยงอุปสรรคที่ธนาคารทั่วไปต้องพบเจอ ธุรกิจดังกล่าวให้บริการแก่ลูกค้าผ่านระบบดิจิทัล ขณะที่ธนาคารที่ไม่สามารถดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัลก็อาจต้องออกจากตลาดเป็นการถาวร ผลการศึกษาในปี 2558 ของศูนย์ปฏิรูปธุรกิจดิจิทัลทั่วโลก (Global Center for Digital Business Transformation หรือ DBT Center) ภายใต้โครงการความร่วมมือระหว่าง IMD Business School และซิสโก้ ชีว่าธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อยชั้นนำ 4 จาก 10 แห่งจะถูกแซงหน้าโดยบริษัทที่ให้บริการด้านการเงินดิจิทัลในอีก 3 ปีข้างหน้า อย่างไรก็ดี มีธนาคารเพียง 27 เปอร์เซ็นต์เท่านั้นที่ดำเนินมาตรการเชิงรุกด้วยการปฏิรูปธุรกิจของตนเอง ผลการศึกษาของซิสโก้ระบุว่า กรณีการใช้งานดิจิทัลที่สำคัญๆ ในธุรกิจธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อย จะขับเคลื่อนกว่า 90 เปอร์เซ็นต์ของโอกาสในการสร้างมูลค่า 405.3 พันล้านดอลลาร์ ตัวอย่างการใช้งานโซลูชั่นดิจิทัลที่ว่านี้ได้แก่ การให้คำปรึกษาผ่านวิดีโอ การปฏิรูปบุคลากร การชำระเงินผ่านอุปกรณ์โมบายล์ พนักงานธนาคารแบบเสมือนจริง การให้คำปรึกษาโดยอ้างอิงการวิเคราะห์ข้อมูล การให้บริการโฮสติ้งและแพลตฟอร์มที่พร้อมสร้าง Social Network เองแบบง่ายๆ (White-label service) โฆษณาที่มีการเชื่อมต่อถึงกัน การตลาดออนไลน์ และอื่นๆ แล้วองค์ประกอบพื้นฐานสำคัญที่ครอบคลุมทุกกรณีการใช้งานคืออะไร? คำตอบก็คือ "ไซเบอร์ซีเคียวริตี้"

จุดอ่อนทางไซเบอร์ซีเคียวริตี้ขัดขวางการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลในธุรกิจธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อย: ถึงแม้ว่าการปฏิรูประบบดิจิทัลจะก่อให้เกิดโอกาสมากมาย และการแข่งขันที่รุนแรงมากขึ้น แต่ธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อยยังคงดำเนินการปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างเชื่องช้า ผลการศึกษาของซิสโก้ที่มีชื่อว่า "ไซเบอร์ซีเคียวริตี้ช่วยกระตุ้นการเติบโต" ("Cybersecurity as a Growth Advantage") เป็นการสำรวจความคิดเห็นของผู้บริหารระดับสูงฝ่ายการเงินและสายงานธุรกิจทั่วโลก โดยพบว่า 71 เปอร์เซ็นต์ของผู้บริหารเห็นพ้องต้องกันว่า ความเสี่ยงและภัยคุกคามทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้เป็นอุปสรรคขัดขวางการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลภายในองค์กร นอกจากนี้ 39 เปอร์เซ็นต์ของผู้ตอบแบบสอบถามระบุว่าตนเองได้ระงับโครงการสำคัญเนื่องจากข้อกังวลใจดังกล่าว และ 60 เปอร์เซ็นต์ยอมรับว่าองค์กรของตนลังเลที่จะสร้างสรรค์นวัตกรรมในด้านต่างๆ เช่น ผลิตภัณฑ์และบริการดิจิทัล เนื่องจากความเสี่ยงที่ตรวจพบ โครงการดิจิทัลที่ถูกชะลอได้แก่ การให้บริการผ่านหลายช่องทาง การบริหารสินทรัพย์และการถ่ายโอนสินทรัพย์ บริการธนาคารและการชำระเงินผ่านอุปกรณ์โมบายล์ การให้บริการแบบ Self-service และการให้บริการแบบเวอร์ช่วลไลซ์ ข้อมูลวิเคราะห์ทางด้านเศรษฐกิจของซิสโก้ประเมินว่า ธนาคารที่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ พลาดโอกาสในการช่วงชิงมูลค่า 144 พันล้านดอลลาร์ทั่วโลกในช่วงปี 2554 ถึง 2558

สรุปก็คือ "ข้อกังวลใจในเรื่องไซเบอร์ซีเคียวริตี้" ไม่ใช่อุปสรรคขัดขวางการสร้างสรรค์นวัตกรรมดิจิทัลเสมอไป ธนาคารที่ให้บริการลูกค้ารายย่อยสามารถปรับเปลี่ยนไซเบอร์ซีเคียวริตี้จากภาระให้กลายเป็น "สินทรัพย์ที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของลูกค้า รวมถึง การสร้างสรรค์นวัตกรรม และการเติบโต" โซลูชั่นดิจิทัลทั้งหมดนี้จำเป็นต้องอาศัยรากฐานทางด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้ที่แข็งแกร่ง

"ธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อยในไทยปัจจุบันกำลังแข่งกับคู่แข่งที่ไม่ใช่ธนาคาร (non-banks) เช่น Fintech หรือบริษัทต่างชาติที่กำลังใช้กลยุทธ์ Digital Transformation ผลการสำรวจและรายงานของอุตสาหกรรมการเงินการธนาคารแสดงให้เห็นว่าจำนวนการทำธุรกรรมดิจิทัลกับธนาคารในประเทศไทยเพิ่มขึ้นมากในช่วงห้าปีที่ผ่านมา และคาดว่าจะเพิ่มขึ้นอีกหลายเท่าในห้าปีถัดไป ความท้าทายที่เกิดขึ้นทันทีสำหรับธนาคารในวันนี้คือ "การทรานส์ฟอร์มด้านดิจิทัล (Digital Transformation)" และการทำให้มันเป็นส่วนหนึ่งของกลยุทธ์องค์กร" นาย วัตสัน ถิรภัทรพงศ์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซิสโก้ ประเทศไทย และภูมิภาคอินโดจีน กล่าว "ในขณะที่ธนาคารสำหรับลูกค้ารายย่อยเริ่มมีการพัฒนากลยุทธ์ดิจิทัลและนำโซลูชั่นดิจิทัลมาปรับใช้ "การทรานส์ฟอร์มด้านไซเบอร์ซีเคียวริตี้" ก็ไม่ควรถูกมองข้าม เพราะแทนที่องค์กรจะมองว่าภัยคุกคามเป็นภาระ องค์กรควรมองว่า "ความปลอดภัย เป็นสินทรัพย์ที่ส่งเสริมความเชื่อมั่นของลูกค้า" เพื่อสร้างผลผลิตในระยะยาว ความล่าช้าในการริเริ่มเทคโนโลยีใหม่ๆ จะทำให้ธนาคารมีมูลค่าความเสี่ยงมากขึ้น และอาจไม่สามารถอยู่ในระบบธุรกิจได้"

ในการคำนวณมูลค่าดิจิทัล ซิสโก้ได้ทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางเศรษฐกิจอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ โดยครอบคลุม 16 อุตสาหกรรมในภาคเอกชน รวมถึงธุรกิจบริการด้านการเงิน ข้อมูลวิเคราะห์ดังกล่าวอ้างอิงการติดต่อสื่อสารกับลูกค้าและการประเมินกรณีการใช้งานดิจิทัลในภาคเอกชนราว 350 เคส โดย 30 เคสเกี่ยวข้องกับธุรกิจบริการด้านการเงิน อ่านรายงานฉบับเต็ม รวมถึงกรณีการใช้งานดิจิทัลที่แนะนำสำหรับธนาคารที่ให้บริการแก่ลูกค้ารายย่อย

ข้อมูลเพิ่มเติม

ประเด็นสำคัญ: โร้ดแมปสู่มูลค่าดิจิทัลในธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย

รายงานฉบับเต็ม: โร้ดแมปสู่มูลค่าดิจิทัลในธุรกิจธนาคารเพื่อลูกค้ารายย่อย

บล็อก: เลนี่ เซลวาจจิโอ หัวหน้าฝ่ายธุรกิจบริการด้านการเงินทั่วโลก

อินโฟกราฟิก: การปรับเปลี่ยนสู่ดิจิทัลและการรักษาความปลอดภัย

เริ่มต้นการพัฒนาเพื่อสร้างมูลค่าทางดิจิทัลในภาคเอกชน

Digital Vortex: ธุรกิจดิจิทัลปฏิวัติอุตสาหกรรม

คำแนะนำสำคัญ: ธนาคารจะแก้ปัญหา 'ช่องว่างทางมูลค่า' และฟื้นฟูความเชื่อมั่นของลูกค้าได้อย่างไร ห้าอุตสาหกรรมที่จะได้รับผลกระทบมากที่สุดจากการปรับเปลี่ยนสู่ระบบดิจิทัล

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ