ปวดข้อนิ้วมือเรื้อรัง...ระวังเป็นโรครูมาตอยด์

พุธ ๐๖ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๑:๕๐
อาการปวดข้อนิ้วมือเป็นอีกหนึ่งอาการที่พบได้บ่อยไม่แพ้อาการปวดข้อเข่า หรือปวดหลัง ซึ่งสาเหตุอาจเกิดขึ้นได้จากหลายอย่าง ทั้งที่เกิดจากความผิดปกติของเนื้อเยื่อรอบ ๆ ข้อ เช่น เอ็นอักเสบ นิ้วล็อค พังผืดกดทับเส้นประสาทบริเวณข้อมือ หรืออาจเกิดจากความผิดปกติของข้อนิ้วมือเอง ได้แก่ ข้ออักเสบ และข้อนิ้วเสื่อม โรคข้ออักเสบที่เกี่ยวข้องกับบริเวณข้อนิ้วมือมีหลายโรค แต่โรคที่พบได้บ่อยและมีความสำคัญ จำเป็นต้องได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่ถูกต้อง คือ โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ เนื่องจากผู้ป่วยโรคนี้มีโอกาสที่ข้อจะถูกทำลาย กระดูกกร่อน และตามมาด้วยข้อผิดรูปหรือพิการได้

โรคข้ออักเสบรูมาตอยด์เป็นโรคที่พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชายในอัตราส่วน 8:1 สามารถพบได้ตั้งแต่ช่วงวัยรุ่น จนถึงวัยสูงอายุ ปัจจุบันพบว่ามีปัจจัยหลายอย่างที่เกี่ยวข้องและทำให้เกิดโรค รวมทั้งกรรมพันธุ์ การติดเชื้อ การสูบบุหรี่ และปัจจัยจากสภาพแวดล้อมบางอย่าง

อาการสำคัญของผู้ป่วยคือปวดข้อและมีข้ออักเสบเรื้อรังที่ต่อเนื่องกันนานเกิน 6 สัปดาห์ โดยเฉพาะที่บริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ แต่ในผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงอาจจะมีข้ออักเสบได้ทุกข้อทั่วทั้งร่างกาย รวมทั้งข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก ข้อเข่า ข้อเท้า และข้อนิ้วเท้า ข้อที่มีการอักเสบจะมีลักษณะกดเจ็บ บวม แดง อุ่นหรือร้อน เมื่อขยับหรือใช้งานจะมีอาการปวด เวลาตื่นนอนตอนเช้าผู้ป่วยมักจะมีอาการข้อฝืด ตึง แข็ง ขยับได้ลำบาก ( morning stiffness) ต้องใช้เวลาสักพักจึงจะขยับข้อได้ดีขึ้น ในผู้ป่วยบางรายอาจจะมีไข้ต่ำๆ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร และน้ำหนักลดร่วมด้วยได้ ธรรมชาติของโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์จะมีการทำลายกระดูกอ่อนที่บุผิวข้อ ทำให้ในระยะยาวเกิดการทำลายข้อ กระดูกกร่อน ข้อผิดรูป ส่งผลต่อการใช้งาน หรืออาจก่อให้เกิดความพิการ

นอกจากนี้ผู้ป่วยยังอาจมีอาการในระบบอื่นๆ ของร่างกาย เช่น ภาวะซีด ตาอักเสบ ปอดอักเสบมีพังผืด เส้นเลือดฝอยอักเสบ หรือภาวะแทรกซ้อนที่อันตรายถึงชีวิต เช่น หลอดเลือดหัวใจตีบ และกระดูกต้นคอกดทับไขสันหลัง เป็นต้น การวินิจฉัยจำเป็นต้องอาศัยทั้งประวัติ การตรวจร่างกาย การถ่ายภาพรังสี ( x-ray) การตรวจเลือดหาค่ารูมาตอยด์ ( rheumatoid factor) และแอนติบอดี้ที่จำเพาะต่อโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ ( anti-CCP) ซึ่งหากได้รับการวินิจฉัยแล้วผู้ป่วยจำเป็นจะต้องได้รับการรักษาที่ถูกต้องด้วยการใช้กลุ่มยาต้านโรครูมาติก ( disease-modifying antirheumatic drugs ; DMARDs) เพื่อลดการอักเสบของข้อ ช่วยชะลอและป้องกันการทำลายข้อได้ในระยะยาว

เป้าหมายในการรักษาโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ในปัจจุบัน คือมุ่งหวังที่จะให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดี ไม่ปวดข้อ ทำงานได้เป็นปกติ และลดโอกาสเกิดข้อพิการ ซึ่งการรักษาจะประสบความสำเร็จได้ถ้าผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยและรักษาที่รวดเร็ว โดยเฉพาะในช่วง 1 ปีแรกที่เริ่มมีอาการ ดังนั้น ถ้าผู้ป่วยเริ่มมีอาการปวดข้อ หรือสังเกตเห็นข้อบวม แดง อุ่นหรือร้อน โดยเฉพาะที่บริเวณข้อนิ้วมือ และข้อมือ หรือมีอาการข้อฝืด ตึง แข็งเวลาตื่นนอนในตอนเช้า ถึงแม้จะเป็นมาไม่นานควรจะรีบปรึกษาแพทย์ เพื่อให้ได้รับการตรวจวินิจฉัยแลรักษาอย่างถูกต้องต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version