ราชภัฏโคราช ปลูกฝังนักคิดวิทยาศาสตร์รุ่นเยาว์

พฤหัส ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๕๑
เมื่อวันที่ 18-19 มิถุนายน 2559 ศูนย์วิทยาศาสตร์ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครราชสีมาได้จัดโครงการค่ายวิทยาศาสตร์ โรงเรียนบุญวัฒนา ครั้งที่ 1 ณ ห้องประชุมศูนย์วิทยาศาสตร์ (24.125) โดยมี ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.บุปผชาติ ต่อบุญสูง รองผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ เป็นประธานกล่าวต้อนรับ และมอบโล่ที่ระลึกให้กับโรงเรียนที่เข้าร่วมโครงการ

กิจกรรมค่ายวิทยาศาสตร์ ประกอบด้วย การให้ความรู้เรื่อง การใช้อุปกรณ์ขั้นพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์ ความปลอดภัยในห้องปฏิบัติการ ต่อด้วยปฏิบัติการเคมี การวัดค่าความเป็นกรด-เบสของสารเคมีในชีวิตประจำวัน ปฏิบัติการชีววิทยา การใช้กล้องจุลทรรศน์ เซลล์ เนื้อเยื่อ และปฏิบัติการฟิสิกส์ วงจรไฟฟ้าอย่างง่าย

การจัดโครงการครั้งนี้ ถือเป็นการบริการวิชาการเสริมสร้างความรู้ด้านวิทยาศาสตร์ ให้กับโรงเรียนบุญวัฒนา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน เพื่อให้นักเรียนได้ฝึกทักษะพร้อมปฏิบัติ ในกระบวนการคิดแบบวิทยาศาสตร์ ด้วยการใช้อุปกรณ์พื้นฐานได้อย่างถูกต้อง ซึ่งนักเรียนที่เข้าร่วมโครงการสามารถนำความรู้ไปใช้ในการพัฒนาตนเองได้เต็มศักยภาพ ตลอดจนเป็นการปลูกฝังให้เยาวชนมีความสนใจในการเรียนวิทยาศาสตร์และเกิดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาในชั้นเรียน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ