ไอพีพีเอสเผยตลาดไม่ใช้เงินสดมีทิศทางสดใส หลังภาครัฐหนุนให้ประชาชนใช้ตลาดอีเพย์เมนท์เป็นทางเลือกใหม่

พฤหัส ๑๔ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๒๐
ไอพีพีเอสประเมินการเติบโตตลาดอีเพย์เมนท์กำลังไปได้สวย หลังรัฐบาลไฟเขียวหนุนให้ประชาชนหันมาใช้บริการอีเพย์เมนท์ ระบุเชื่อมั่นในการส่งเสริมของภาครัฐที่ผลักดันการเข้าสู่ตลาดที่ไม่ใช้เงินสด จะส่งผลให้การแข่งขันในทางธุรกิจไปได้สวย

ดร.กนกวรรณ ว่องวัฒนะสิน ประธานกรรมการบริหารบริษัท ไอพี เพย์เมนท์ โซลูชั่น จำกัดหรือ IPPS กล่าวว่าจากมติที่ประชุมคณะกรรมการระบบการชำระเงินทางอิเล็กทรอนิกส์ (อีเพย์เมนท์) เห็นชอบพิจารณาให้ผู้ประกอบการและประชาชนหันมาใช้ระบบอีเพย์เมนท์ กันให้มากขึ้นนั้น ในส่วนของไอพีพีเอส ผู้ให้บริการอีเพย์เมนท์หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์ ประเภท ค (6) ซึ่งเป็น 1 ใน 11 รายของประเภท Non-bank ภายใต้แบรนด์ เพย์ฟอร์ยู (PayforU) คาดการณ์ว่าสถานการณ์ตลาดอีเพย์เมนท์ในปีหน้าจะมีการแข่งขันค่อนข้างสูงอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะผู้ให้บริการหลาย ๆ ราย ที่เตรียมหาพันธมิตรเครือข่าย Banking มาร่วมกันทำตลาด เพื่อเตรียมรองรับการให้บริการการโอนเงินระหว่างประเทศ ซึ่งคาดว่าในต้นปีหน้าจะสามารถเปิดให้บริการได้เป็นผลสำเร็จหลังจากได้รับอนุญาตอย่างเป็นทางการจากรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (แบงก์ชาติ)

จากการที่ภาครัฐสนับสนุนในการพัฒนาศักยภาพเพื่อรองรับเศรษฐกิจดิจิตอล และการใช้อีเพย์เมนท์ นั้น คาดว่าจะทำให้ตลาดอีเพย์เมนท์เติบโตสูงขึ้น โดยไอพีพีเอสจะเน้นการทำตลาดไปที่โมบายเพย์เมนท์แอปพลิเคชั่น (Mobile Payment Application) ที่จะนำไปสู่กลุ่มการตลาดที่กว้างขึ้น ซึ่งประเทศไทยมีโครงสร้างพื้นฐานทางด้านเครือข่ายโทรศัพท์มือถือที่พร้อมอยู่แล้ว โดยเฉพาะการมาของ 4G จะช่วยให้ผู้ใช้งานสามารถเข้าถึงแอปพลิเคชั่นต่าง ๆ ได้ง่ายและรวดเร็วมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ลูกค้าสามารถใช้ช่องทางดิจิตอลในการชำระเงินได้ง่ายขึ้น โดยปัจจุบันคนไทยนิยมใช้การชำระเงินผ่านอินเทอร์เน็ตแบงก์กิ้ง (Internet Banking) เป็นอันดับ 1 รองลงมาเป็นบัตรเครดิตและโมบายเพย์เมนท์ (Mobile Payment) ตามลำดับ ส่วนในอนาคตคาดว่าการใช้งานโมบายเพย์เมนท์ จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้นจากตลาดแรงงานต่าง ๆ ที่เข้ามาทำงานในประเทศไทยเพิ่มมากขึ้น ทั้งแรงงานกัมพูชา เมียนมาร์ ลาว และเวียดนาม ทำให้รูปแบบของการโอนเงินระหว่างประเทศในรูปแบบอีเพย์เมนท์เป็นทางเลือกใหม่ ที่เหมาะสำหรับแรงงานที่ไม่มีบัญชีเงินฝากในประเทศไทย รวมไปถึงกลุ่มนักท่องเที่ยวต่างชาติที่มาท่องเที่ยวในไทยด้วย

ทั้งนี้ที่ผ่านมารายได้จากการให้บริการของเพย์ฟอร์ยู (PayforU) ถูกจัดแบ่งออกเป็น 1.ลูกค้าที่ใช้บริการเติมเงินมือถือ 2.ลูกค้าที่จ่ายบิลผ่อนชำระสินค้าเงินผ่อน เช่น เฟิร์สชอยส์ หรืออิออน 3.ลูกค้าที่ใช้จ่ายเงินเพื่อเล่นเกมออนไลน์ และ4.บริการอื่น ๆ โดยรูปแบบการเติมเงินผ่านเพย์ฟอร์ยู สามารถเติมได้กับ ทั้งธนาคารทั้ง 5 แห่ง อาทิ 1.ธนาคารกสิกรไทย 2.ธนาคารกรุงศรีอยุธยา 3.ธนาคารกรุงเทพ 4.ธนาคารไทยพาณิชย์ และ 5. ธนาคารกรุงไทย นอกจากนี้ ยังสามารถเติมเงินกับพันธมิตรร้านค้าต่าง ๆ เช่น เคาน์เตอร์เซอร์วิส เซเว่นอีเลฟเว่น เทสโกโลตัส บิ๊กซี เป็นต้น โดยลูกค้าจะเสียค่าธรรมเนียมประมาณ 10-15 บาท ให้แก่พันธมิตร/ผู้ให้บริการช่องทางเติมเงิน

ดร.กนกวรรณ กล่าวต่อว่า ถึงแม้ว่าจะมีคู่แข่งในตลาดมีเพิ่มมากขึ้น รวมถึงบริการอีเพย์เมนท์ของผู้ให้บริการระบบมือถือ แต่จุดเด่นของเพย์ฟอร์ยู คือ เป็นผู้ให้บริการรับชำระเงินที่ไม่ผูกติดกับค่ายใดค่ายหนึ่ง และสามารถชำระค่าสินค้าหรือบริการได้ทุกประเภท รวมถึงบัตรเติมเงินเกมและการผ่อนชำระสินค้า นอกจากนี้ยังมีพันธมิตรช่องทางเติมเงินที่ครอบคลุมผ่านตู้เอทีเอ็มธนาคาร ร้านสะดวกซื้อ ขณะที่การพัฒนาระบบของไอพีพีเอส ยังอาศัยความเชี่ยวชาญจากบริษัทไอเอสเอสพี (ซึ่งเป็นบริษัทหลักที่ให้บริการอินเทอร์เน็ตมานานกว่า 20 ปี)

หลังเปิดให้บริการอีเพย์เมนท์ หรือกระเป๋าเงินอิเล็กทรอนิกส์อย่างเป็นทางการภายใต้แบรนด์ เพย์ฟอร์ยู ตั้งแต่เดือนมกราคมที่ผ่านมา จนถึงขณะนี้มีสมาชิกแล้วราว 7 แสนราย มียอดทำรายการชำระเงินราว 3 หมื่นรายการต่อวันและส่วนใหญ่เป็นการชำระค่าสาธารณูปโภค เช่น ค่าน้ำประปาและใช้บริการเติมเงินต่าง ๆ และเจาะกลุ่มตลาดรายย่อย หรือไมโครเพย์เมนท์ โดยในปีหน้า เมื่อมีการแข่งขันค่อนข้างสูง

ไอพีพีเอสลงทุนระบบไปแล้วหลักร้อยล้านบาท ที่สร้างความเชื่อมั่นในการใช้งานในระบบอีเพย์เมนท์ ผนวกกับการส่งเสริมของภาครัฐที่ผลักดันการเข้าสู่ตลาดที่ไม่ใช้เงินสด และการทำแอนนี่ ไอดี ทำให้โอกาสที่อีเพย์เมนท์จะเติบโตมีสูงมาก และเนื่องจากเป็นตลาดที่เพิ่งเริ่มต้น ทำให้เรายังประเมินมูลค่าตลาดที่แน่ชัดไม่ได้ อย่างไรก็ตาม บริษัทยังมองว่าการใช้บริการอีเพย์เมนท์ จำเป็นต้องมีช่วงเวลาของการเรียนรู้ ซึ่งปัจจัยสำคัญคือ ความมั่นใจในระบบธนาคารที่จะส่งผลให้เกิดความเชื่อถือในระบบอีเพย์เมนท์ ขณะที่ระบบพื้นฐานการใช้งานอีเพย์เมนท์ ก็พร้อมอยู่แล้ว

จากสถิติปัจจุบันคนไทยมีบัญชีธนาคาร 76 ล้านบัญชี แต่มียอดผู้ใช้มือถือ 80 ล้านเครื่อง บัตรประชาชนหรือฐานข้อมูลกลาง ที่ผ่านมายังไม่สามารถเช็คได้เรียลไทม์ หรือยังไม่สามารถเช็คประวัติอาชญากรได้ ถ้ารัฐพัฒนาจุดนี้ให้ดีขึ้น โอกาสเติบโตของอีเพย์เมนท์ก็จะสูงขึ้น สำหรับปีนี้บริษัทตั้งเป้าหมายมีสมาชิก 2 ล้านราย และรายได้ 500 ล้านบาท และกำลังเตรียมหาพันธมิตรเพื่อขยายบริการอีเพย์เมนท์ไปในกลุ่มองค์กรขนาดกลางและย่อม (เอสเอ็มอี) ซึ่งคาดว่าจะดำเนินการได้ภายในปีนี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๐ ธ.ค. ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๒๐ ธ.ค. กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๒๐ ธ.ค. Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๒๐ ธ.ค. โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๒๐ ธ.ค. ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๒๐ ธ.ค. กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๒๐ ธ.ค. WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๒๐ ธ.ค. เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๒๐ ธ.ค. ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๒๐ ธ.ค. NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ