แพทย์แนะเลือกรองเท้าอย่างไรให้เหมาะกับรูปเท้า

ศุกร์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๓๗
เทรนด์สุขภาพปีนี้ คงหนีไม่พ้นการดูแลร่างกายตัวเองให้แข็งแรง ซึ่งการออกกำลังกายที่มาแรงในช่วงนี้เห็นทีจะเป็นการวิ่ง ซึ่งการวิ่งจะทำให้เท้าของเรารับแรงกระแทกเป็นจำนวนมาก เช่น วิ่ง 2 กิโลเมตร เท้ามีการก้าวกระแทกพื้น 5,000 ก้าว ทำให้เกิดการบาดเจ็บขึ้นมาได้ ฉะนั้นการเลือกใช้รองเท้าวิ่งที่ถูกสุขลักษณะตามรูปเท้าเราจึงเป็นสิ่งที่จำเป็น

เท้าคนเรามีหลายรูปแบบ เช่น เท้าปกติ เท้าแบน หรืออุ้งเท้าโก่ง ถ้าจะมองให้เห็นภาพ ให้มองเท้าเราเหมือนยางรถยนต์ การมีเท้าที่ปกติก็เหมือนลมยางที่สูบพอดี สามารถรับการกระแทกและให้ความมั่นคงได้ แต่ถ้ายางนิ่มไปเหมือนเท้าที่แบนก็จะยวบยาบไร้ความมั่นคง เท้าจะพลิกได้บ่อย ส่วนเท้าที่โก่งเกินไปเป็นดังยางที่สูบลมจนต็มที่มั่นคงแต่ไม่สามารถรับแรงกระแทกได้ดี ทำให้วิ่งนานๆแล้วเกิดอาการเจ็บที่เท้าได้

การดูว่าอุ้งเท้าของเราเป็นอย่างไร ทำโดย เอาผ้าชุบน้ำมาถูเท้าให้เปียก หลังจากนั้นทำการเหยียบบนแผ่นกระดาษให้เป็นรอยเท้า หรือ ตรวจวัดลักษณะอุ้งเท้าด้วยเครื่อง i – Step ที่เชื่อมโยงกับระบบคอมพิวเตอร์ ใช้เวลาเพียง 20 วินาที ผลการตรวจจะแสดงให้เห็นการกระจายน้ำหนักของเท้าในแต่ละจุด การกระจายน้ำหนักที่ไม่สมดุลเป็นสาเหตุของปัญหาเท้าและการเดิน เราสามารถแก้ไขการกระจายน้ำหนักที่ไม่สมดุลนี้ ได้ด้วยการเลือกรองเท้า และแผ่นรองรองเท้าที่เหมาะสม

ทั้งนี้ การคำนวน (arch index) ให้แบ่งเท้าเป็นสามส่วน เอาส่วนกลางสุดของเท้า เป็นตัวตั้ง และหารด้วย ส่วนกว้างสุดของส้นเท้า (arch index = B/C) ถ้าได้ค่า น้อยกว่า 0.45 แสดงว่ามีเท้าโก่ง ได้ค่าระหว่าง 0.45-0.75 อุ้งเท้าปกติ และถ้ามากกว่า 0.76แสดงว่าเป็นคนมีรูปเท้าแบน ในการเลือกรองเท้ากีฬา ต้องให้เหมาะสมกับรูปอุ้งเท้าเรา ไม่งั้นจะเกิดการบาดเจ็บได้ง่าย ทำให้เวลาเราเดินเข้าไปในร้านเครื่องกีฬา จะมีแบบรองเท้าให้เราเลือกมากมาย วิธีการเลือกตามลักษณะเท้ามีดังนี้

ในคนที่มีอุ้งเท้าแบน ควรจะเลือกรองเท้าที่มีความมั่นคงที่ดี ดูจากชื่อจะมีคำว่า motion control , maximum support , stability หรือจะดูให้รองเท้า มีพื้นที่แข็งสักเล็กน้อย ไม่สามารถบิดไปมาได้ ขณะงอรองเท้าจะต้องไม่งอตามแรงเรา และแผ่นรองเท้าควรมีอุ้งเท้าด้านในนูนขึ้นมาเพื่อเพิ่มอุ้งเท้าของผู้ใส่ อาจต้องใส่เดินพื้นที่ไม่เสมอกันดูว่าไม่ทำให้เท้าเราเกิดการพลิก

สำหรับคนที่มีเท้าที่โก่งนูนขึ้นมา จะมีความแข็งของเท้าที่มาก สามารถส่งพลังงานลงสู่พื้นได้เต็มที่ แต่ก็มีข้อเสีย ว่าเท้าค่อนข้างไม่ยืดหยุ่น ทำให้จะเกิดการบาดเจ็บและเมื่อยที่หลังเท้า การเลือกรองเท้าควรเสริมเรื่องการรองรับการกระแทก เช่น well cushioned มีระบบดูซับแรง เช่น gel technology, air technology, boost foam การดูรองเท้าให้ กดที่แผ่นรองเท้าให้มีการยุบตัวและคืนตัวได้ดี แล้วใส่เดินรู้สึกนิ่มเท้า

คนที่มีเท้าที่ปกติ ดีทั้งการส่งแรงสู่พื้น และการรับแรงกระแทกที่ดี สามารถเลือกรองเท้าได้เกือบทุกชนิด แต่แนะนำให้ค่อนมาทางนิ่มเพื่อป้องกันการบาดเจ็บ และแผ่นรองเท้าควรมีอุ้งเพื่อให้เท้าเราสัมผัสกับรองเท้าได้มากที่สุด

ในบางคนถึงแม้เปลี่ยนรองเท้าและยังมีอาการข้อเท้าพลิก หรือเจ็บบ่อย ๆ ไม่สามารถเล่นกีฬาได้นาน ๆ อาจมีปัญหาด้านอื่น หรือมีเอ็นรอบข้อเท้ามีปัญหา แนะนำให้มาพบแพทย์เพื่อตรวจเพิ่มเติมในการมาหาให้เอารองเท้ากีฬาที่ใส่ประจำมาดูด้วย เพราะรูปแบบอัตราการสึกของพื้นรองเท้า สามารถบอกลักษณะของทรงเท้า และวิธีการเดินได้ เพื่อจะได้มีการแนะนำที่ถูกต้องต่อไป

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version