ประชาชนร้อยละ 63.59 ระบุต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติให้มากขึ้น

ศุกร์ ๑๕ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๗:๐๙
ประชาชนร้อยละ 63.59 ระบุต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับเนื้อหาร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติให้มากขึ้น 56.05% ตั้งใจจะออกไปลงประชามติ 73.16% เชื่อจะมีการแก้ไขรัฐธรรมนูญหลังเลือกตั้งหากผ่านประชามติ

ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจความรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,181 คน

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญได้ทำการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นเรียบร้อยแล้วตั้งแต่ปลายเดือนมีนคม พ.ษ. 2559 และได้มีการกำหนดให้มีการลงประชามติว่าจะรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิหาคม พ.ศ. 2559 นี้ ซึ่งระยะเวลากว่าสองเดือนหลังจากที่มีการยกร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสมบูรณ์ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้มีการประชาสัมพันธ์สร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญผ่านช่องทางต่างๆ ทั้งใน โทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ หรือในสื่อออนไลน์ต่างๆ รวมถึงให้ประชาชนสามารถติดตามอ่านร่างรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณ์ผ่านช่องทางต่างๆ ด้วยเหตุดังกล่าว ประชาชนในสังคมส่วนหนึ่งเริ่มตื่นตัวในการศึกษาทำความเข้าใจเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญเพื่อประกอบการตัดสินใจในการลงประชามติซึ่งย่อมมีทั้งผู้ที่เห็นด้วยและไม่เห็นด้วย แต่อย่างไรก็ตาม ยังมีประชาชนอีกส่วนหนึ่งที่ยังไม่ทราบเกี่ยวกับเนื้อหาของร่างรัฐธรรมนูญและอีกส่วนหนึ่งไม่ได้ให้ความสนใจเนื่องจากมองว่ารัฐธรรมนูญยังเป็นเรื่องไกลตัวและไม่ได้มีผลต่อการดำรงชีวิตของตน ดังนั้นจากประเด็นดังกล่าว สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจความรับรู้และความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งเป็นหญิงร้อยละ 50.55 และชายร้อยละ 49.45 ส่วนใหญ่มีอายุ 25 ถึง 34 ปีคิดเป็น 30.57% สามารถสรุปผลได้ดังนี้ สำหรับแหล่งข้อมูลที่กลุ่มตัวอย่างรับรู้รับทราบเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติมากที่สุด 5 อันดับคือ สื่อโทรทัศน์คิดเป็นร้อยละ 83.32 สื่อออนไลน์ต่างๆคิดเป็นร้อยละ 81.03 สื่อหนังสือพิมพ์คิดเป็นร้อยละ 78.15 ฟังผู้อื่นเล่าคิดเป็นร้อยละ 75.19 และสื่อวิทยุคิดเป็นร้อยละ 72.14 ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 63.59 มีความคิดเห็นว่าจำเป็นต้องเพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญและการลงประชามติให้มากขึ้นกว่าในปัจจุบัน

ในด้านพฤติกรรมการอ่านร่างรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างถึงร้อยละ 61.3 ยอมรับว่าตนเองยังไม่ได้อ่านร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการลงประชามติเลย ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 28.54 ระบุว่าได้อ่านเป็นบางส่วนแล้ว โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างเพียงร้อยละ 10.16 ที่ได้อ่านหมดทั้งฉบับแล้ว

ในด้านความคิดเห็นต่อจุดเด่นในร่างรัฐธรรมนูญฉบับที่กำลังจะมีการลงประชามติจากการที่ได้รับรู้รับฟังและอ่านมานั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 30.57 มีความคิดเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะลงประชามติมีจุดเด่นในด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นมากที่สุด รองลงมามีความคิดเห็นว่ามีจุดเด่นในด้านการแก้ไขปัญหา/ความวุ่นวายทางการเมืองมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 22.69 ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.21 ร้อยละ 10.58 และร้อยละ 7.37 มีความคิดเห็นว่ามีจุดเด่นในด้านการให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชน ด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาสาธารณะสุขสังคมและด้านการให้บริการพื้นฐานกับประชาชนมากที่สุดตามลำดับ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 6.27มีความคิดเห็นว่ามีจุดเด่นในด้านการให้ความเท่าเทียมกันระหว่างประชาชน โดยที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.31 มีความคิดเห็นว่าไม่มีจุดเด่นใดใดเลย ในทางกลับกันสำหรับจุดด้อยในร่างรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีความคิดเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะลงประชามติมีจุดด้อยในด้านการให้บริการพื้นฐานกับประชาชนมากที่สุดซึ่งคิดเป็นร้อยละ 29.38 รองลงมาร้อยละ 23.29 มีความคิดเห็นว่ามีจุดด้อยในด้านการให้ความเท่าเทียมกันระหว่างประชาชนมากที่สุด ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 13.63 และร้อยละ 10.84 มีความคิดเห็นว่าด้านการยกระดับคุณภาพการศึกษาสาธารณะสุขสังคม และด้านการให้สิทธิเสรีภาพกับประชาชนมีจุดด้อยมากที่สุดตามลำดับ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 9.48 มีความคิดเห็นว่าด้านการแก้ไขปัญหา/ความวุ่นวายทางการเมืองมีจุดด้อยมากที่สุด และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.54 มีความคิดเห็นว่าด้านการปราบปรามการทุจริตคอรัปชั่นมีจุดด้อยมากที่สุด โดยกลุ่มตัวอย่างที่เหลือระบุว่าไม่มีจุดด้อยใดใดเลๆคิดเป็นร้อยละ 5.84

สำหรับความตั้งใจในการออกไปลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญนั้น กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 56.05 ระบุว่าตนเองตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 16.77 ตั้งใจจะไม่ออกไป ขณะที่กลุ่มตัวอย่างมากกว่าหนึ่งในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 27.18 ยังไม่แน่ใจ

นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างเกือบสามในสี่หรือคิดเป็นร้อยละ 73.16 เชื่อว่าหากในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญผ่านประชามติจะถูกนักการเมืองทำการแก้ไขหลังการเลือกตั้งแน่นอน ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 19.56 ไม่เชื่อ ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 7.28 ไม่ขณะเดียวกันมีกลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่แต่ไม่ถึงครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 48.94 มีความคิดเห็นว่าการมีคำถามพ่วงประชามติจะไม่ส่งผลต่อการตัดสินใจรับหรือไม่รับร่างรัฐธรรมนูญ ขณะที่กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 39.46 ยอมรับว่าส่งผล และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 11.

และในด้านความคิดเห็นต่อกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามตินั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 51.65 มีความคิดเห็นว่าหากในกรณีที่ร่างรัฐธรรมนูญไม่ผ่านประชามติควรนำรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาปรับปรุงแก้ไขแล้วประกาศใช้ รองลงมามีความคิดเห็นว่าควรเริ่มกระบวนการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 28.11 ส่วนกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 20.24 มีความคิดเห็นว่าควรนำรัฐธรรมนูญฉบับก่อนหน้ามาใช้ทันที ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version