iTopPlus แนะ SME สร้างคอนเทนต์ที่มีคุณค่า อย่าฮาร์ดเซลล์เกิน! รับมือ Facebook ปรับลดการแสดงผลหน้า Fanpage กันคนเบื่อโฆษณา

อังคาร ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๒๕
iTopPlus ผู้นำในการให้บริการด้านการตลาดออนไลน์แบบครบวงจรสำหรับผู้ประกอบการและธุรกิจ SME โดยนายกัมพล ธนาปัญญาวรคุณ ประธานเจ้าหน้าที่ บริษัท ไอท้อปพลัส จำกัด วิเคราะห์เรื่องการปรับ Algorithm ของเฟซบุ๊กว่า "ปัจจุบัน การทำธุรกิจบนโลกออนไลน์ถือเป็นกลยุทธ์สำคัญของผู้ประกอบการ โดยเฉพาะธุรกิจ SME ซึ่งบรรดาเจ้าของแพลทฟอร์มยักษ์ใหญ่ อย่าง Google และ Facebook ต่างออกลูกเล่น และปรับกฎกติกาใหม่ๆ ออกมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้ประกอบการต้องตื่นตัว และต้องก้าวให้ทันอยู่ตลอดเวลา ดังนั้น ผู้ประกอบการ SME ที่สนใจทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ ควรมีความเข้าใจหลักการทำงานของสื่อออนไลน์ประเภทต่างๆ รวมถึงกำหนดวัตถุประสงค์ในการทำการตลาดผ่านสื่อออนไลน์ให้ชัดเจนเสียก่อน

ซึ่งปฏิเสธไม่ได้เลยว่า สื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) ที่ได้รับความนิยมอย่าง Facebook มีบทบาทสำคัญ และกำลังได้รับความนิยมอย่างมาก จากผู้ประกอบการใช้เป็นช่องทางทำการตลาดโฆษณาสินค้าและบริการ ซึ่งที่ผ่านมา เฟซบุ๊กได้ทำการปรับ Algorithm ด้านการแสดงผลใหม่ โดยเน้นการแสดงผลเนื้อหาที่มาจากเพื่อนมากขึ้น และปรับการแสดงผลที่มาจาก Facebook Fanpage ให้ลดลง ยกเว้น Fanpage ที่เพื่อนไปมี Engagement เช่น Like Comment หรือ Share ซึ่งการปรับ Algorithm ในครั้งนี้น่าจะมาจาก 2 สาเหตุหลัก ได้แก่

(1) ป้องกันผู้ใช้งานเบื่อเนื้อหาโฆษณา โดยในปัจจุบันมีการโฆษณาบนเฟซบุ๊กเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้เนื้อหาบนหน้า New feed ของผู้ใช้งานเฟซบุ๊กมีเนื้อหาโฆษณามากขึ้นและสัดส่วนเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับเพื่อนหรือสิ่งที่สนใจลดน้อยลงไป มีโอกาสทำให้ผู้ใช้งานเกิดความเบื่อหน่ายได้

(2) การรักษาหลักการดำเนินธุรกิจ (Core Business) เอาไว้ให้ได้นั่นก็คือ Social Media หรือสื่อสังคมออนไลน์ ซึ่งสื่อสังคมออนไลน์ชนิดนี้หลักสำคัญคือการแสดงเนื้อหาที่น่าสนใจที่มาจากกลุ่มคนที่รู้จักกัน มีความสนใจเรื่องเดียวกัน จนทำให้เกิดเครือข่ายสังคมเสมือนขึ้น ซึ่งหากมีแต่การแสดงผลด้านโฆษณาเป็นส่วนใหญ่ ความเป็นเครือข่ายสังคมเสมือนก็จะหายไป ส่งผลให้คุณค่าของเฟซบุ๊กลดน้อยลง และในระยะยาวอาจส่งผลต่อความนิยมของผู้ใช้งานได้ในที่สุด

จากการที่ Facebook ปรับ Algorithm การแสดงผลดังกล่าว ส่งผลกระทบต่อแบรนด์โดยตรง เนื่องจากการแสดงเนื้อหาของ Fanpage มีค่า Reach ลดลง หรือมีการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายลดลง ทำให้ แบรนด์ต้องใช้เงินเพิ่มขึ้นในการทำโฆษณาเพื่อให้ Content สามารถไปถึงกลุ่มคนจำนวนมากขึ้น และเมื่อ Facebook ให้ความสำคัญกับเนื้อหาที่ผู้คนให้ความสนใจและมีส่วนร่วมไม่ว่าจะเป็นการ Like, Comment หรือ Share ใน Facebook Fanpage ต่างๆ เพิ่มขึ้น สิ่งที่เกิดขึ้นแสดงให้เห็นว่า Facebook กำลังต้องการให้สร้างเนื้อหาที่มีคุณค่าต่อแบรนด์และผู้ใช้งานต้องการเสพเนื้อหาที่มีคุณภาพ รวมถึงการลดการแสดงเนื้อหาที่มีแต่โฆษณาอีกด้วย

ดังนั้น ในการสร้างแบรนด์ หากเลือกใช้ Facebook สิ่งที่ผู้ประกอบการจะต้องหันมาให้ความสำคัญคือการสร้างคุณค่าของเนื้อหา เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายเกิดการมีส่วนร่วมกับแบรนด์ทั้ง Like, Comment หรือ Share ย่อมจะส่งผลดีต่อภาพลักษณ์ของแบรนด์ รวมถึงยังสามารถเพิ่มค่า Reach เพิ่มขึ้นอีกด้วย สิ่งที่ผู้ประกอบการต้องเข้าใจถัดมาคือ Facebook ไม่ใช่เครื่องมือที่จะสามารถสร้างยอดขายได้ทันทีทันใด แต่ต้องใช้ระยะเวลาในการทำให้กลุ่มเป้าหมายเราเข้าใจ และรักสินค้าเราให้ได้ก่อน แต่หากผู้ประกอบการมีวัตถุประสงค์ของการทำการตลาดออนไลน์ด้านการสร้างยอดขาย ควรเลือกใช้ Google เป็นเครื่องมือในการทำการตลาดออนไลน์" นายกัมพลกล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ