นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย แนะหญิงไทย สามารถตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก ด้วยวิธี HPV DNA ทุกสามปี

อังคาร ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๓๓
พร้อมให้ข้อมูลแก่บุคลากรทางการแพทย์ สามารถใช้ HPV DNA test สำหรับการตรวจคัดกรองปฐมภูมิ (primary screening) ให้กับผู้หญิงอายุ 25 ปีขึ้นไป ที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว

นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย แนะนำผู้หญิงที่มีอายุ 25 ปีขึ้นไป โดยเฉพาะผู้ที่เคยมีเพศสัมพันธ์แล้ว ให้พบแพทย์เพื่อตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุกๆ 2-3 ปี ด้วยวิธีเซลล์วิทยา หรือ HPV DNA สำหรับการตรวจแบบ HPV DNA เพียงอย่างเดียวสามารถใช้ในการตรวจคัดกรองปฐมภูมิ (Primary Screening) แล้วจึงแยกแยะต่อว่า จำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยโรคมะเร็งปากมดลูกเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่นอีกหรือไม่ ทั้งนี้ HPV DNA Test เป็นวิธีการตรวจชนิดแรกที่ได้รับการรับรองจากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยมีข้อมูลสนับสนุนเพียงพอที่จะระบุถึงความเสี่ยงของผู้ป่วยในการเป็นโรคมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้

เนื่องจากเชื้อไวรัส HPV เป็นสาเหตุของมะเร็งปากมดลูก ซึ่งสามารถอยู่ในร่างกายได้นานถึง 10 ปี หรืออาจจะนานกว่านั้นโดยไม่แสดงอาการใดๆ การตรวจ HPV DNA จะช่วยให้แพทย์สามารถประเมินความเสี่ยงในการเกิดมะเร็งปากมดลูกในอนาคตได้ อีกทั้งยังเพิ่มความแม่นยำให้แก่การตรวจแพปสเมียร์เพียงอย่างเดียว อีกทั้ง สตรีที่ติดเชื้อไวรัส HPV มักไม่แสดงอาการออกมา ดังนั้น การตรวจตรวจหา DNA ของเชื้อไวรัส HPV ด้วย HPV DNA Test ทุกๆ 3 ปี จะเพิ่มโอกาสในการตรวจพบเชื้อตั้งแต่ต้น และนำไปสู่การป้องกันมะเร็งปากมดลูกในระยะยาวได้ ซึ่งจากสถิติพบว่าหากตรวจพบเร็ว การรักษาในระยะก่อนมะเร็ง มีโอกาสหายขาดสูงถึงร้อยละ 98 แต่หากพบมะเร็งปากมดลูกในระยะลุกลามแล้ว โอกาสหายจะลดลงอย่างมาก

ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย เผยว่า "ปัจจุบันมะเร็งปากมดลูกถือเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญของประเทศไทย เนื่องจากมีจำนวนผู้เสียชีวิตสูงในบรรดามะเร็งของสตรี จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก ประเทศไทยมีผู้ป่วยมะเร็งปากมดลูกรายใหม่ ปีละเกือบ 10,000 ราย และเสียชีวิตประมาณปีละเกือบ 5,000 ราย หรือโดยเฉลี่ยประมาณ 14 รายต่อวัน[i] สาเหตุสำคัญที่ทำให้หญิงไทยเป็นโรคนี้คือ ความอายที่จะไปตรวจคัดกรอง ซึ่งหากเข้ารับการตรวจคัดกรองและพบว่าเป็นระยะก่อนมะเร็ง แพทย์สามารถทำการรักษาให้หายขาดได้ ผู้หญิงส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อไวรัส HPV จะไม่มีอาการ จึงไม่รู้ว่าตนเองมีเชื้อไวรัส HPVอยู่ในร่างกายหากไม่ไปตรวจ ซึ่งจากสถิติพบว่าผู้หญิง 4 ใน 5 คน จะติดเชื้อไวรัส HPV ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต โดยที่เชื้อไวรัส HPV ติดต่อได้ผ่านทางการสัมผัส ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นทางเพศสัมพันธ์"

HPV DNA Test ที่ได้รับการรับรองนี้ใช้วิธีการเก็บเซลล์บริเวณปากมดลูกในการตรวจหา DNA ของเชื้อ HPV จำนวน 14 สายพันธุ์ที่มีความเสี่ยงสูง โดยสามารถระบุเชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ได้อย่างเฉพาะเจาะจง และยังสามารถตรวจหาเชื้อ HPV สายพันธุ์เสี่ยงสูงอีก 12 สายพันธุ์ได้ในการตรวจเพียงครั้งเดียว ทั้งนี้ โรคมะเร็งปากมดลูกเกือบทุกกรณีมีสาเหตุมาจากการติดเชื้อ HPV โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เชื้อ HPV สายพันธุ์ 16 และ 18 ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูกถึงร้อยละ 70[ii]

ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ กล่าวเสริม "เนื่องจากผู้หญิง 4 ใน 5 คน จะติดเชื้อไวรัส HPV ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคมะเร็งปากมดลูก ในช่วงใดช่วงหนึ่งของชีวิต[iii] สมาคมฯ จึงต้องการรณรงค์ให้หญิงไทยหันมาใส่ใจกับการตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกกันให้มากขึ้น

ดร. อัลแบร์โต กูเตียร์เรซ ผู้อำนวยการ Office of In Vitro Diagnostics and Radiological Health, Center for Devices and Radiological Health จากองค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา กล่าวว่า "การรับรองให้ HPV DNA Test เป็นการตรวจคัดกรองปฐมภูมิสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก นับเป็นการเพิ่มทางเลือกให้กับสตรีและแพทย์ในการตรวจคัดกรองโรคมะเร็งปากมดลูก โดยบริษัท โรช ไดแอกโนสติกส์ ได้ทำการวิจัยอย่างสมบูรณ์และให้ข้อมูลเพียงพอในการสร้างความมั่นใจต่อองค์การอาหารและยาถึงความปลอดภัยและประสิทธิภาพของ HPV DNA Test ในการตรวจคัดกรองแบบปฐมภูมิสำหรับโรคมะเร็งปากมดลูก"

"ในช่วง 30 ปีที่ผ่านมา มีการศึกษาและพัฒนาองค์ความรู้อย่างมากมายเกี่ยวกับเรื่อง HPV และมะเร็งปากมดลูก ซึ่งปัจจุบันเรายังพบอีกว่า การป้องกันโดยวิธีตรวจคัดกรองด้วย HPV DNA Test นั้น มีความไวต่อการตรวจพบได้ดีและสูงกว่าวิธีดั้งเดิมอย่างแพปสเมียร์ (Pap smear) และ วีไอเอ (VIA) โดยมีผลการทำวิจัยที่ชัดเจนแล้ว และเป็นวิธีตรวจคัดกรองที่องค์การอาหารและยา ประเทศสหรัฐอเมริกา ให้การรับรองด้วย ทำให้สูตินรีแพทย์มีความมั่นใจในการใช้ HPV DNA Test เป็นการตรวจคัดกรองในแบบปฐมภูมิมากขึ้น ซึ่งเป็นอีกหนทางหนึ่งที่จะช่วยลดมะเร็งปากมดลูกในประเทศไทย โดยใช้เทคโนโลยีใหม่" ศ.พญ.สฤกพรรณ วิไลลักษณ์ นายกสมาคมมะเร็งนรีเวชไทย กล่าวสรุป

สำหรับผู้ที่สนใจ สามารถอ่านข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับไวรัส HPVและโรคมะเร็งปากมดลูกได้ที่เว็บไซต์ www.hpvactnow.com

[i] GLOBOCAN 2012: Estimated Cancer Incidence, Mortality and Prevalence Worldwide in 2012 http://globocan.iarc.fr/Pages/fact_sheets_population.aspx

[ii] Schiffman, M, et al. Human papillomavirus and cervical cancer. Lancet. 2007; 370:890–907.

[iii] Centers for Disease Control and Prevention. Human Papillomavirus (HPV)-Associated Cancers. http://www.cdc.gov/cancer/hpv/basic_info/

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๕ เม.ย. Electronic Nose นวัตกรรมตรวจวัดกลิ่น! เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดี กรมอนามัย ร่วม MOU กรมควบคุมมลพิษ และ 4 หน่วยงานรัฐ - เอกชน
๒๕ เม.ย. ITEL ประชุมผู้ถือหุ้นประจำปี 68 ไฟเขียวอนุมัติแจกวอร์แรนต์ฟรี ลุยขยายธุรกิจ
๒๕ เม.ย. สวทช. โดย นาโนเทค เฟ้นหา 8 ผู้ประกอบการ ต่อยอดนวัตกรรมสมุนไพรสู่ผลิตภัณฑ์มูลค่าสูง
๒๕ เม.ย. คาเฟ่ แคนทารี ชวนมาลิ้มลองเมนูพิเศษประจำเดือนพฤษภาคม - มิถุนายน 2568 อร่อยครบเครื่องทั้งรีซอตโตต้มยำ เครป
๒๕ เม.ย. ซีพี ออลล์ x มูลนิธิชาวปักษ์ใต้ ร่วมสนับสนุนทุนการศึกษาเพื่ออาชีพแก่เยาวชนในจังหวัดภาคใต้
๒๕ เม.ย. ซีพีแรม ดีเดย์ เปิดเวที FINNOVA 2025 : ยกระดับความรู้สู่นวัตกรรมอาหาร ปักหมุดไทยศูนย์กลางนวัตกรรมอาหารโลก
๒๕ เม.ย. ดีไซน์เพื่อชีวิตที่ไม่หยุดนิ่ง: อาดิดาส ออริจินอลส์ เผยโฉม ADIZERO ARUKU พร้อมพื้นรองเท้าแบบโปรเกรสซีฟ
๒๕ เม.ย. พรีโม จับมือ Q-CHANG จัดทัพทีมช่างกว่า 2,000 ทีม! ยกระดับบริการซ่อมห้องชุด ตอกย้ำแนวคิด Primo Happy Maker
๒๕ เม.ย. ครั้งแรก กับ Dance (แดนซ์) Glossy Body Hair Perfume Mist น้ำหอม 2-in-1 พร้อมเปิดตัวพรีเซ็นเตอร์คนใหม่ เก๋ไก๋ บุกใจกลางกรุง ชวนสาวๆ
๒๕ เม.ย. SCB CIO ชี้ 3 ปัจจัยกระทบตลาดการเงินฉุดสินทรัพย์ทั่วโลกผันผวน แนะระวังการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยง เพิ่มน้ำหนักหุ้นกู้ระยะสั้นคุณภาพดี และ