คณะวิทย์ฯ มทร.ธัญบุรี ร่วมอนุรักษ์ปะการังเขตอ่าวไทย

อังคาร ๒๖ กรกฎาคม ๒๐๑๖ ๑๗:๔๙
ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล (มทร.) ธัญบุรี กว่า 180 คน ร่วมฟื้นฟูปะการัง ในโครงการปลูกต้นกล้าความดีด้วยจิตอาสา ณ โครงการฟื้นฟูปะการังและสร้างแหล่งเรียนรู้คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดชลบุรี

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สิริแข พงษ์สวัสดิ์ ผู้ช่วยอธิการบดีและคณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เปิดเผยว่า ทางคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เป็นสาขาวิชาที่มีเปิดการเรียนการสอนทางด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ร่วมไปถึงการอนุรักษ์ธรรมชาติให้อยู่คู่กับประเทศไทย โดยทางคณะจะส่งเสริมให้ผู้บริหาร คณาจารย์ เจ้าหน้าที่ และนักศึกษาในการทำกิจกรรมที่ส่งเสริมและเป็นการอนุรักษ์ธรรมชาติ เช่น การปลูกชายเลน งานวิจัยในการคิดค้นปุ๋ยเพื่อพัฒนาเกษตรชุมชนหนองเสือ ชุมชนบึงกาสาม ปทุมธานี สำหรับโครงการปลูกต้นกล้าความดีด้วยจิตอาสา ณ โครงการฟื้นฟูปะการังและสร้างแหล่งเรียนรู้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี จังหวัดชลบุรี โดยปัจจุบันประสบปัญหาปะการังฟอกขาว ทำให้ปะการังสูญหายไป เพื่อเป็นการอนุรักษ์ให้ปะการังอยู่คู่ใต้ท้องทะเล จึงได้จัดกิจกรรมครั้งนี้ขึ้น นอกจากเป็นการอนุรักษ์ปะการังแล้ว นักศึกษาที่เข้าร่วมกิจกรรมยังได้เรียนรู้ชีวิตของสิ่งมีชีวิตใต้ท้องทะเล ตลอดจนคณาจารย์ เจ้าหน้าที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน รู้จักความสามัคคีภายในองค์กร ซึ่งทางสาขาวิชาชีววิทยาจะส่งนักศึกษามาฝึกงานสหกิจศึกษา มูลนิธิกิจกรรมวิทยาศาสตร์ทางทะเลและการอนุรักษ์ที่ดำเนินงานโดยมหาวิทยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี และบริษัทวีนิไทย จำกัด (มหาชน) ณ หาดแสมสาร อำเภอสัตหีบ จังหวัดชลบุรี เพื่อให้นักศึกษาได้เข้ามาทำงานและช่วยวิจัยฟื้นฟูต่อไป

นายกสโมสรนักศึกษาคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี "เทน" นายมนตรี อยู่ชมสุข นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาชีววิทยา เล่าว่า โครงการนี้ตรงกับสาขาของตนเองโดยตรง ปะการังถือว่าเป็นสิ่งมีชีวิต มีผลต่อระบบนิเวศของสิ่งมีชีวิตอีกหลายชีวิต ฉะนั้นเมื่อมีปรากฏการณ์ปะการังฟอกขาวส่งผลต่อปะการัง ทำให้ปะการังตาย ดังนั้นในการปลูกปะการังจึงเป็นการฟื้นฟูปะการังให้อยู่คู่ทะเล เป็นโครงการที่ดี ที่ได้ร่วมกันอนุรักษ์ธรรมชาติ โดยภาคการเรียนที่ตนเองต้องฝึกงานสหกิจศึกษาตนเองจะมาฝึกงานที่มูลนิธิแห่งนี้

"ทศ" นายทศวรรษ อุติลา นักศึกษาชั้นปีที่ 3 สาขาวิชาฟิสิกส์ เล่าว่า สนใจที่จะเข้าร่วมโครงการนี้ อยากได้รับความรู้และอยากลองดำน้ำ เพราะว่า ต้องดำน้ำไปปลูกปะการัง พื้นที่ที่ตนเองลงไปปลูก มีปะการังที่ได้รับการฟื้นฟู ซึ่งมีความสวยงาม ตนเองมาร่วมโครงการถือว่าเป็นส่วนหนึ่งในการช่วยอนุรักษ์ปะการังในครั้งนี้ ถ้ามีโอกาสอยากมาทำกิจกรรมแบบนี้อีก ได้เห็นสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นและเป็นกิจกรรมที่ประทับใจ

"พิมพ์" นางสาวพิมพ์นภา มูลทอง นักศึกษาชั้นปีที่ 4 สาขาวิชาเคมี เล่าว่า ดีใจที่เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ เคยเข้าร่วมโครงการปลูกปะการังเมื่อเทอมการศึกษาที่ผ่าน ซึ่งตอนนั่นมากับอาจารย์ที่สาขาวิชา แต่ตอนนี้มากับเพื่อนต่างสาขาวิชา เป็นโครงการที่ได้ทำกิจกรรมร่วมกัน อยากให้เพื่อนๆ ที่หากิจกรรมยามว่าง ลองมาปลูกปะการัง จะได้รับความรู้จากวิทยากร และได้เห็นสิ่งมีชีวิตใต้ทะเล นอกจากการฟื้นฟูและอนุรักษ์ปะการังแล้ว การรักษาความสะอาดให้กับท้องทะเลก็เป็นสิ่งสำคัญ ถ้าทุกคนช่วยกัน รับรองว่าระบบนิเวศทะเลจะดีและคงความสวยงามตลอดไป

พลังจิตอาสาที่เห็นถึงความสำคัญในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสิ่งแวดล้อม รักษาไว้ซึ่งความอุดมสมบูรณ์ การพึ่งพากันของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งมีชีวิตต่างๆ ร่วมไปถึงมนุษย์ เมื่อได้รับประโยชน์จากธรรมชาติ ควรคืนความสุขสู่ธรรมชาติเช่นกัน

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ