นศ.ครุ มรภ.สงขลา สวมวิญญาณครู “พี่สอนน้องให้อ่านเขียน” ช่วยเด็กสนุกกับการเรียนรู้ ลดการลาออกจาก รร.

พุธ ๐๓ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๓๙
นักศึกษาครุศาสตร์ มรภ.สงขลา กลุ่มครูไทยใจเกินร้อย สนองนโยบายกระทรวงศึกษาฯ ผุดโครงการพี่สอนน้องให้อ่านเขียน เพิ่มความมั่นใจ ลดจำนวนเด็กทิ้งการเรียนหันไปประกอบอาชีพใช้แรงงาน

ดร.มนตรี เด่นดวง อาจารย์ประจำโปรแกรมวิชาวัดผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสงขลา (มรภ.สงขลา) ในฐานะที่ปรึกษาโครงการพี่สอนน้องให้อ่านเขียน เปิดเผยว่า โครงการพี่สอนน้องฯ เป็นผลงานของนักศึกษากลุ่มครูไทยใจเกินร้อย ประกอบด้วย 1. น.ส.สุพัตรา โชติมณี 2.น..ส.ซูไวบะห์ สาแม 3. น.ส.ภัทราพันธุ์ พูลเอียด 4. นายฐิติวงศ์ แทบทับ และ5. นายประสิทธิ์ มุสิโก ภายใต้การสนับสนุนจากมูลนิธิสยามกัมมาจล โดยสงขลาฟอรั่ม มีที่มาจากการสนองนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการ ที่สำรวจมาตรฐานการอ่านออกเขียนได้ของเด็กไทย ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ทั่วประเทศ พบว่ามีเด็กอ่านหนังสือไม่ออกเขียนไม่ได้ จำนวน 26,000 คน กระทรวงศึกษาธิการจึงประกาศนโยบายให้ปี 2558 เป็นปีแห่งการปลอดนักเรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งจากการลงพื้นที่โรงเรียนวัดท่านางหอม พบปัญหาผู้เรียนอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ในทุกระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 เกิดจากความไม่สนใจใฝ่รู้ของผู้เรียน อีกทั้งยังมีพัฒนาการและความสามารถในการเรียนรู้ที่แตกต่าง นอกจากนี้ ยังพบว่าเทคนิคและวิธีการสอนของผู้สอนไม่เอื้ออำนวยต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน ทำให้ผู้เรียนเกิดความเบื่อหน่ายในการเรียนรู้

ปัญหาเหล่านี้เป็นปัญหาหลักที่ก่อให้เกิดผลกระทบต่างๆ มากมาย ส่งผลให้ผู้เรียนขาดทักษะการเรียนรู้ด้านการอ่านและเขียน จึงไม่สามารถต่อยอดวิชาอื่นได้ เนื่องจากภาษาไทยเป็นวิชาพื้นฐานของการเรียนรู้ทุกวิชา หากเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ก็ไม่สามารถมีความเข้าใจในวิชาอื่นเช่นกัน จะติดต่อสื่อสารเอกสารที่เป็นลายลักษณ์อักษรก็ยากลำบาก ก่อให้เกิดความเหลื่อมล้ำทางสังคม ซึ่งเด็กเหล่านี้ต้องถูกมองว่าเป็นเด็กไม่เก่ง ไม่สามารถอ่านหนังสือได้ จนอาจทำให้เกิดการลาออกของผู้เรียน เพราะไม่สามารถมีความเข้าใจในการศึกษาวิชาต่างๆ ขาดความเชื่อมั่นในตนเอง จนท้ายที่สุด เด็กเหล่านี้ต้องลาออกจากการศึกษาเพื่อไปประกอบอาชีพที่ใช้แรงงาน

ด้าน น.ส.สุพัตรา โชติมณี นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มรภ.สงขลา ตัวแทนกลุ่มครูไทยใจเกินร้อย กล่าวว่า ตนและเพื่อนๆ มีแนวคิดอยากแก้ไขปัญหาเด็กอ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ซึ่งเป็นปัญหาสำคัญของการศึกษาไทย จึงดำเนินกิจกรรมเริ่มจากค้นหาผู้ร่วมอุดมการณ์ และร่วมกันสำรวจกลุ่มเป้าหมายที่โรงเรียนวัดท่านางหอม จัดอบรมเพื่อสร้างพื้นฐานความรู้ที่ช่วยให้นักเรียนอ่านออกเขียนได้ มีการทดลองสอนก่อนลงพื้นที่จริง เพื่อฝึกเทคนิควิธีการถ่ายทอดความรู้ให้ผู้อื่น และลงพื้นที่เพื่อแก้ปัญหากลุ่มเป้าหมายที่อ่านไม่ออกเขียนไม่ได้ ติดตามและสรุปผลโครงการ นำเสนองานในรูปแบบการจัดนิทรรศการการเรียนรู้เพื่อประชาสัมพันธ์โครงการ ตลอดจนแลกเปลี่ยนประสบการณ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคม ผลจากการจัดโครงการนี้คือ เด็กที่มีปัญหาจะอ่านออกเขียนได้ สามารถเรียนร่วมกับเพื่อนในห้องได้อย่างไม่มีอุปสรรค ส่งผลให้เด็กสนุกกับการเรียนรู้ ซึ่งเป็นส่วนสำคัญที่จะช่วยพัฒนาการศึกษาของไทย ที่สำคัญ ยังเป็นการฝึกประสบการณ์นักศึกษาวิชาชีพครู ให้มีกระบวนการทำงานและเทคนิควิธีการสอน ซึ่งภายภาคหน้านักศึกษากลุ่มนี้จะสามารถเป็นแม่พิมพ์ที่ดีของชาติ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๘:๐๑ วช. ขับเคลื่อนงานวิจัยเชิงพื้นที่ 'ประเทศไทยปลอดภัยจาก PM2.5' มุ่งลดฝุ่นพิษภาคเหนืออย่างยั่งยืน
๑๘:๐๘ TKS จัดประชุมผู้ถือหุ้นปี 2568 ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.33 บ./หุ้น
๑๘:๔๙ STECH จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 แจกปันผลเป็นเงินสดหุ้นละ 0.034 บาท
๑๘:๒๒ SGP จัดประชุมผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผถห.อนุมัติเคาะปันผลครึ่งปีหลัง 0.20 บาท/หุ้น
๑๘:๐๖ ผู้ถือหุ้น FLOYD พร้อมใจเห็นชอบ ไฟเขียวทุกวาระ อนุมัติจ่ายปันผล 0.08 บาท/หุ้น
๑๘:๑๑ TEKA จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 พร้อมไฟเขียวจ่ายปันผล 0.155 บาท
๑๘:๒๓ BRR จัดประชุมสามัญผู้ถือหุ้น ประจำปี 2568 ผู้ถือหุ้นเคาะจ่ายปันผล 0.50 บาท/หุ้น
๑๘:๓๘ กลุ่มเหล็กรุ่นใหม่ เข้าพบ 'เอกนัฏ' ประสานเสียงให้กำลังใจ ดันยกเลิกเหล็ก IF กันเหล็กนำเข้าไร้มาตรฐาน
๑๘:๑๘ ดั๊บเบิ้ล เอ จับมือ เอเชีย เอรา วัน และกรมป่าไม้ จัดกิจกรรมรักษ์โลก สร้างสิ่งแวดล้อมที่ยั่งยืน
๑๗:๒๘ LPH ประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2568 ผถห. ไฟเขียวจ่ายปันผลอีก 0.10 บ./หุ้น