นภาพร เจตะวัฒนะ หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การซื้อสื่อ มายด์แชร์ กล่าวว่า "เนื่องจากผู้บริโภคมีช่องทางการรับการโฆษณาที่หลากหลายมากขึ้น แบรนด์จึงปรับการใช้งบโฆษณาในสอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป แต่ทั้งนี้ตัวเลขงบโฆษณาที่ลดลงเป็นเพราะแบรนด์ปรับกลยุทธิ์การใช้เงินให้สอดคล้องกับพฤติกรรมผู้บริโภคเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด โดยแต่ละช่องสามารถเรียกคนดูด้วยการสร้างจุดเด่นของช่องด้วยการคว้าความสนใจของผู้บริโภคในช่วงนั้นๆมาสร้างคอนเทนท์"
พเยาว์ ธรรมธีรสุนทร หัวหน้าฝ่ายวางแผนกลยุทธ์การซื้อสื่อโทรทัศน์ มายด์แชร์ กล่าวเสริมว่า "ในปัจจุบันการวิเคราะห์ข้อมูลแบบอะแด็ปทีพให้สอดคล้องกับพฤติกรรมของผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายเป็นสิ่งที่สำคัญ และการใช้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีศักยภาพในการคาดการณ์เพื่อผลลัพธ์ทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนให้สูงมากชึ้นเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญที่นักการตลาดต้องคำนึง"
มายด์แชร์ยังได้ให้มุมมองต่อการอุตสากรรมโทรทัศน์ในปี 2559 ดังต่อไปนี้
• ระยะเวลาในการการรับชมทีวีของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้นจากปี 2558
• เรทติ้งของดิจิตัลทีวีมีอัตราที่มากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญเมื่อเทียบกับผู้เล่นเก่า
• โดยเรทติ้งที่เพิ่มชึ้นเป็นการสะท้อนให้เห็นถึงพัฒนาการของคอนเทนท์
• นอกเหนือจากละครแล้ว ความสนใจของผู้บริโภคยังกระจายไปยังคอนเทนท์อื่นๆ เช่น ข่าว กีฬา และรายการวาไรตี้
• โปรแกรมมาติคทีวี ทำให้การซื้อแม่นยำและบริหารงบโฆษณาให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
• ในยุคการแข่งขันข้ามจอ ช่องต้องมองเห็นและคว้าโอกาสดึงความสนใจของผู้บริโภคมาทำคอนเทนท์
• มีเดียแลนด์สเคปมีความเชื่อมโยงและหลอมรวมกันมากขึ้น ดังนั้นการวัดผลจึงควรมีมาตรการวัดที่เป็นมาตรฐานเดียวกัน
• ข้อมูลเป็นสิ่งสำคัญที่นักการตลาดต้องนำมาวิเคราะห์ เพื่อเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงผู้บริโภคอย่างมีประสิทธิภาพในยุคที่ผู้บริโภคเป็นผู้เลือก การใช้ข้อมูลและเครื่องมือที่มีศักยภาพในการคาดการณ์เพื่อผลลัพธ์ทางการตลาดและเพิ่มสัดส่วนผลตอบแทนต่อการลงทุนให้สูงมากชึ้นกลายเป็นวัตถุประสงค์ที่สำคัญในยุคที่การเข้าถึงผู้บริโภคมีช่องทางที่หลากหลาย