โพลล์ระบุ ปชช. ร้อยละ 59.81 ตั้งใจจะออกไปลงประชามติ ร้อยละ 52.56 เชื่อว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านประชามติได้

พฤหัส ๐๔ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๔๘
ศ. ดร.ศรีศักดิ์ จามรมาน ประธานกรรมการอาวุโส ,อาจารย์พรพิสุทธิ์ มงคลวนิช ประธานกรรมการ ,ดร.พิสิฐ พฤกษ์สถาพร กรรมการรองผู้อำนวยการ และอาจารย์วัฒนา บุญปริตร กรรมการรองผู้อำนวยการสำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์ วิทยาลัยเทคโนโลยีสยาม (ระดับอุดมศึกษา) แถลงผลการสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ ซึ่งได้ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 22 ถึง 27 กรกฎาคม พ.ศ. 2559 จากกลุ่มตัวอย่างทั้งหมด 1,172 คน โดยเปรียบเทียบกับผลการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวว่า วันที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นี้ถูกกำหนดให้เป็นวันลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญรวมถึงคำถามพ่วงประชามติเกี่ยวกับการให้อำนาจสมาชิกวุฒิสภาลงมติเลือกนายกรัฐมนตรี แต่จากผลการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมที่ผ่านมาพบว่ามีกลุ่มตัวอย่างมากกว่าร้อยละ 60 ที่ยังไม่ได้มีโอกาสอ่านร่างรัฐธรรมนูญเลยและมีมากกว่าหนึ่งในสี่ที่ยังไม่แน่ใจว่าจะออกไปลงประชามติหรือไม่ ขณะเดียวกันหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องได้เพิ่มการประชาสัมพันธ์สร้างความรับรู้และความเข้าใจให้กับประชาชนเกี่ยวกับเนื้อหาในร่างรัฐธรรมนูญผ่านช่องทางต่างๆมากขึ้น และมีการรณรงค์ให้ประชาชนออกมาใช้สิทธิ์ลงประชามติ ทั้งนี้เพื่อเป็นการสร้างความตื่นตัวให้ประชาชนได้ตระหนักถึงความสำคัญของรัฐธรรมนูญและสิทธิในการไปลงประชามติของตน นอกจากนี้ยังมีการจัดทำร่างรัฐธรรมนูญส่งไปตามครัวเรือนให้ประชาชนได้อ่าน แต่อย่างไรก็ตามยังมีครัวเรือนอีกเป็นจำนวนมากที่ไม่ได้รับร่างรัฐธรรมนูญและประชาชนอีกจำนวนหนึ่งที่ยังไม่แน่ใจว่าจะออกไปลงประชามติหรือไม่ ดังนั้น สำนักวิจัยสยามเทคโนโลยีอินเทอร์เน็ตโพลล์จึงได้ทำการสำรวจพฤติกรรมและความคิดเห็นของประชาชนทั่วไปในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญเพื่อเปรียบเทียบกับการสำรวจในวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2559

ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าวต่อว่า จากการสำรวจกลุ่มตัวอย่างทั้งหมดซึ่งมีอายุตั้งแต่ 18 ปีขึ้นไป โดยเป็นเพศหญิงร้อยละ 50.68 และเพศชายร้อยละ 49.32 สามารถสรุปผลได้ดังนี้

ในด้านความรับรู้เกี่ยวกับวันลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญ กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 72.95 ทราบว่าจะมีการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญวันอาทิตย์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2559 นี้ โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมที่ผ่านมาซึ่งมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 65.82 ที่ทราบ ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 27.05 ยังไม่ทราบ ดังได้แสดงไว้ในตารางที่ 1

ในด้านพฤติกรรมและความคิดเห็นต่อการลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญซึ่งสรุปไว้ในตารางที่ 2 นั้น กลุ่มตัวอย่างมากกว่าครึ่งหนึ่งซึ่งคิดเป็นร้อยละ 55.38 ยอมรับว่าตนเองยังไม่ได้มีโอกาสอ่านร่างรัฐธรรมนูญที่กำลังจะมีการลงประชามติเลย โดยลดลงจากการสำรวจเมื่อวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 61.3 แต่อย่างไรก็ตามมีกลุ่มตัวอย่างประมาณหนึ่งในสามหรือคิดเป็นร้อยละ 33.87 ที่ระบุว่าตนเองได้อ่านเป็นบางส่วนแล้ว โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 28.54 ขณะที่จำนวนกลุ่มตัวอย่างที่ได้อ่านทั้งฉบับแล้วมีเพียงร้อยละ 10.75 โดยเพิ่มขึ้นเพียงเล็กน้อยเมื่อเทียบกับการสำรวจเมื่อวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งมีร้อยละ 10.16 นอกจากนี้กลุ่มตัวอย่างร้อยละ 59.81 ระบุว่าตนเองตั้งใจจะออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติในร่างรัฐธรรมนูญในวันที่ 7 สิงหาคมนี้ โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งมีร้อยละ 56.05 ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 21.59 ระบุว่าตนเองตั้งใจจะไม่ออกไปใช้สิทธิ์ลงประชามติซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 16.77 ในการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคม อย่างไรก็ตามมีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 18.6 ที่ยังไม่แน่ใจ โดยลดลงจากการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งมีอยู่ที่ร้อยละ 27.18

ขณะเดียวกันกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 52.56 มีความคิดเห็นว่าร่างรัฐธรรมนูญจะผ่านการลงประชามติในวันที่ 7 สิงหาคม โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจเมื่อวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 50.8 แต่อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.32 ไม่แน่ใจซึ่งลดลงจากร้อยละ 25.83 ในการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคม ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 23.12 ที่คิดว่าไม่ผ่าน โดยลดลงเพียงเล็กน้อยจากการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 23.37 และกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 53.84 มีความคิดเห็นว่าควรให้สมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) มีสิทธิ์ลงมติเลือกนายกรัฐมนตรีในช่วง 5ปีแรกหลังการเลือกตั้งครั้งแรก ซึ่งเพิ่มขึ้นจากร้อยละ 52.33 ในการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคม ขณะที่มีกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 24.66 ที่ไม่แน่ใจ โดยลดลงจากการสำรวจเมื่อวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 26.84 อย่างไรก็ตามกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 21.5 มีความคิดเห็นว่าไม่ควร โดยเพิ่มขึ้นจากการสำรวจระหว่างวันที่ 2 ถึง 7 กรกฎาคมซึ่งอยู่ที่ร้อยละ 20.83 ศ.ดร.ศรีศักดิ์กล่าว

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version