นายอภิชาติ โตดิลกเวชช์ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวว่า ประเทศกำลังอยู่ในช่วงปฏิรูปครั้งใหญ่ ทั้งการเมือง และเศรษฐกิจโดยมองเรื่องของการใช้ภูมิปัญญาตนเองและการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน
งานสัมมนาครั้งนี้ได้ยกเอาการผลิตสุรากลั่นชุมชนในหลายแห่งขึ้นมาเป็นกรณีศึกษา โดยสรุป หมู่บ้านสุรากลั่นชุมชนจังหวัดแพร่ เติบโตมาจากการสนับสนุนของ พช. มีการวางแผนที่ดีจากการใช้ภูมิปัญญาดั่งเดิมผสมกับนวัตกรรม รวมถึงแผนการตลาดแบบมืออาชีพ และควรส่งเสริมให้คนรุ่นใหม่เข้ามาสานงานต่อ เชื่อว่าในอนาคตค้าจาก "ชุมชนสะเอียบ" จ.แพร่ มีโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาขึ้นมาจนเป็นที่ต้องการของตลาด และพัฒนาไปสู่ระดับประเทศและส่งออก
อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน กล่าวด้วยว่า การพัฒนาให้ประเทศไทยเข้าสู่การเป็น "Thailand 4.0" ซึ่งรัฐบาลต้องการให้เห็นรูปธรรมภายใน 2 ปี เพราะรัฐบาลจะอยู่ในวาระอีกไม่เกินปี 2560 ถ้ากลไกการขับเคลื่อนเกิดความเข้าใจ
เดิมทีโครงการโอทอปสามารถทำรายได้ถึงปีละ109,000 ล้านบาท เฉพาะครึ่งปีที่ผ่านมานี้โอทอปทำได้ไปแล้ว 70,000 ล้านบาท ฉะนั้นถ้าสถานการณ์คงที่จะมีรายได้ปีนี้น่าจะอยู่ที่ 120,000 ล้านบาท และถ้าทำการผลักดันภายใต้เงื่อนไขประชารัฐ "ทำน้อยได้เงินมาก" คือการพัฒนาผลิตภัณฑ์สู่นวัตกรรม เชื่อว่า รายได้จะเพิ่มมากขึ้นอย่างน่าพอใจ ซึ่งถ้ามุ่งไปที่การพัฒนาสินค้าท้องถิ่นของชาวบ้าน ก็จะมีโอกาสได้ขึ้นไปจำหน่ายบนเครื่องบิน ซึ่งบริษัทการบินไทยได้ทำความร่วมมือกับกรมการพัฒนาชุมชนอยู่แล้ว ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการออกแบบผลิตภัณฑ์ในสินค้า 500 ชนิดให้เหมาะสมเท่านั้น
เรามักสนใจแต่สินค้าที่ผ่านประกวดได้มาตรฐานซึ่งมีอยู่เพียง 10,000 กิจการเท่านั้น แต่ละเลยสินค้าอีก 70,000 กิจการไปอย่างน่าเสียดาย ทางกรมการพัฒนาชุมชนจึงแบ่งสินค้าออกเป็นเกรด 4 ระดับคือ A,B,Cและ D ซึ่งเกรด A คือผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง เกรด B คืองานฝีมือคุณภาพสูงมีจำนวนจำกัด เกรด C คือสินค้าที่สามารถขายในประเทศได้ ส่วนเกรด D คือสินค้าที่จะเข้าไปพัฒนาปรับปรุงให้กลับเข้ามาสู่กลไกลการตลาดได้ซึ่งนอกจากรายได้ที่เกิดขึ้นแล้ว ยังจะมีการส่งเสริมให้เกิดธุรกิจการท่องเที่ยวชุมชน ซึ่งจะเป็นตัวเพิ่มเม็ดเงินเข้ามาในระบบอีกด้วย
ดร.อัจฉราวรรณ มณีขัติย์ ผู้อำนวยการสถาบันการพัฒนาชุมชน กล่าวเพิ่มเติมว่า โครงการนี้จะเป็นการให้ความรู้จากสถาบันถึงงานนโยบายประชารัฐของรัฐบาล จึงเป็นเป้าหมายสำคัญของท่านอธิบดีที่จะผลักดันให้เกิดความรู้ความเข้าในในนโยบายประชารัฐ ในเจ้าหน้าทุกระดับชั้นก่อนลงไปปฏิบัติงาน
ดังนั้นโครงการนี้จะให้บรรลุไปได้จึงเน้นเอาหัวหน้ากลุ่มงานระดับจังหวัดทั้ง 3 กลุ่มงานใน 76 จังหวัดจังหวัดละ 3 คนเข้ามาเรียนรู้เชิงปฏิบัติการเพื่อนำกลับไปถ่ายทอดสื่อสารกับประชาชนได้อย่างมั่นใจและต้องทำงานกับบริษัทประชารัฐจำกัดที่ตั้งขึ้นทุกจังหวัด
ซึ่งเรื่องนี้ต้องทำความเข้าใจอย่างชัดเจนก่อนที่จะเข้าไปในชุมชน เพื่อสร้างนโยบายให้มีชีวิตขึ้นมา นับเป็นก้าวย่างที่สำคัญของกรมการพัฒนาชุมชนที่จะแปรนโยบายเป็นความสำเร็จ สร้างความสุขให้ประชาชนได้ต่อไป