ถอดรหัส เทียร์ค้ามนุษย์ (TIP Report 2016) และ เสียงสะท้อนของคนไทยต่อ องค์กรถาวรต่อต้านการค้ามนุษย์

ศุกร์ ๐๕ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๔:๓๑
ดร.นพดล กรรณิกา ประธานชมรมขับเคลื่อนวิชาการเพื่อวิจัยความสุขชุมชน และ ผอ. สำนักวิจัย ซูเปอร์โพล เผย 16 ปีของรายงานอันดับเทียร์ (Tier) ค้ามนุษย์โดยกระทรวงการต่างประเทศสหรัฐฯ พบชื่อประเทศไทย ตกเป็นฐานประเทศแหล่งหากินของขบวนการค้ามนุษย์ต่อเนื่องทุกปีตั้งแต่ฉบับแรกจนถึงปัจจุบัน

ผลวิจัยชี้ให้เห็นว่า ในปีพ.ศ. 2552 หลังไทยมีกฎหมายแก้ปัญหาค้ามนุษย์โดยตรง แต่กลับกลายเป็นแหล่งหากินของเครือข่ายขบวนการค้ามนุษย์ที่โตที่สุดในรายงานของสหรัฐฯ หรือ TIP Report เพราะขาดองค์กรเชี่ยวชาญโดยตรงรองรับ แต่ในปี พ.ศ.2558 หลัง คสช. และรัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา เข้ามาแก้ปัญหาพบปัญหาเครือข่ายลดลงจาก 37 ประเทศจุดเชื่อมโยง เหลือเพียง 18 ประเทศเครือข่ายในรายงาน TIP ปี 2558 และเหลือเพียง 15 ประเทศเครือข่ายในรายงานฉบับปัจจุบัน และประเทศไทยได้รับการปรับอันดับจาก เทียร์ 3 ขึ้นไปอยู่เทียร์ 2.5 ถือเป็นสัญญาณที่ดีต่อการค้าระหว่างประเทศ แต่ชาวบ้านส่วนใหญ่ยังกังวลว่า หากรัฐบาลและ คสช. เปลี่ยนแปลงไปจะขาดความต่อเนื่อง เสนอให้มีองค์กรถาวรป้องกันและปราบปรามการค้ามนุษย์ ควบคุมปัญหาได้อย่างยั่งยืน แนะวันนี้ควรจับตามองพิเศษที่การเข้าออกประเทศไทยเชื่อมโยงกับ 15 ประเทศ ดูตารางที่ 5 ประกอบ ได้แก่ ทุกประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน มอลโดวา และ ฟิจิ

อย่างไรก็ตาม จากการสำรวจเสียงของประชาชน จำนวน 1,153 ตัวอย่างทุกสาขาอาชีพทั่วประเทศพบว่า ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 68.9 มีความสุขมากถึงมากที่สุดเมื่อทราบข่าวประเทศไทยได้รับการจัดอันดับเทียร์ดีขึ้นจาก เทียร์ 3 ขึ้นเป็น เทียร์ 2.5 โดยส่วนใหญ่หรือร้อยละ 65.1 เชื่อมั่นว่าจะทำให้การค้าระหว่างประเทศดีขึ้น แต่ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 66.3 กังวลว่า จะไม่เกิดความยั่งยืนของการต่อต้านการค้ามนุษย์ ถ้ามีรัฐบาลใหม่ ที่น่าสนใจคือ ส่วนใหญ่หรือร้อยละ 85.2 ระบุถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลควรจัดตั้งองค์กรถาวรต่อต้านการค้ามนุษย์

ประเด็นที่น่าพิจารณาคือ ผลจากการสัมภาษณ์เจาะลึกเจ้าหน้าที่รัฐที่มีประสบการณ์ต่อต้านการค้ามนุษย์ในด้านต่างๆ เช่น การค้ามนุษย์ด้านแรงงาน พบว่า อุปสรรคสำคัญต่อการบูรณาการหน่วยงานต่างๆ ของรัฐเพื่อแก้ปัญหาการค้ามนุษย์ ได้แก่ 1) มีฐานข้อมูลการค้ามนุษย์ที่กระจัดกระจายตามหน่วยงานต่างๆ 2) มีการใช้ดุลพินิจของพนักงานเจ้าหน้าที่ ทำให้ผู้เสียหายหลุดไปจานวนมาก 3) มีหน่วยงานทำงานหลากหลาย เกิดหลายมาตรฐาน ล่าช้าช่วยเหลือเหยื่อ 4) มีการแก้ปัญหาค้ามนุษย์แบบงานสั่ง ไม่ยั่งยืนเพราะถือเป็นงานฝาก ไม่ใช่งานหลักของหน่วยต้นสังกัด 5) กฎหมายมากมีหลายฉบับ ขาดองค์ประกอบรวมเป็นเอกภาพ 6) ใช้ระบบบริหารแบบออกคาสั่งในระดับนโยบาย เปลี่ยนคนทำงานระดับปฏิบัติ ทำให้งานไม่ต่อเนื่อง 7) ระบบฐานข้อมูล แบบตัดต่อและรวบรวมจากหลายหน่วยงาน 8) มีการรวบรัดดาเนินคดีที่ส่งผลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลที่เกิดขึ้น รวมทั้งขาดกระบวนการสืบสวนขยายผลเชิงลึกเพื่อตัดวงจรอาชญากรรมการค้ามนุษย์และดาเนินคดีตัวการใหญ่ซึ่งปัจจุบันในวิธีการปกติจะทำได้น้อยมาก 9) มีการอบรมเจ้าหน้าที่รัฐจากแต่ละหน่วยงานเป็น พนักงานเจ้าหน้าที่ แต่หลังอบรมแต่ละคนกลับไปทำงานหลักที่ต้นสังกัด 10) มีข้อจำกัดของแต่ละหน่วยงานในการปฏิบัติการช่วยเหลือเหยื่อค้ามนุษย์ตั้งแต่ต้นทางปัญหาถึงปลายทางปัญหา 11) เหยื่อขบวนการค้ามนุษย์ประสบปัญหาหลายมาตรฐาน ขาดองค์กรกลางที่จัดการปัญหาค้ามนุษย์โดยตรง และ 12) ไม่มีองค์กรที่เป็นเอกภาพแท้จริง เบ็ดเสร็จและครบวงจรในการต่อต้านการค้ามนุษย์

ด้วยเหตุนี้ คณะวิจัยจึงเสนอให้รัฐบาลและหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้องพิจารณา ข้อเสนอการจัดตั้งองค์กรกลางถาวรด้านยุทธศาสตร์และปฏิบัติการหรือ ป.ป.ม. ต่อต้านการค้ามนุษย์โดยตรง ไม่ใช่ในรูปคณะกรรมการต่างๆ ที่มักจะเปลี่ยนแปลง หรือ ถูกยุบไปเมื่อเปลี่ยนรัฐบาล ส่งผลให้ประเทศไทยไม่สามารถรักษาผลประโยชน์ชาติและของประชาชนส่วนรวมไว้ได้อย่างยั่งยืน เนื่องจาก "งานฝาก" ทำให้เกิดการบูรณาการเทียม พอรัฐบาลอ่อนแอปัญหาก็กลับมาอีก องค์กรนี้จะดูแลคุ้มครองเหยื่อค้ามนุษย์แบบครบวงจร ลดความพยายามของเจ้าหน้าที่รัฐและองค์กรภาคเอกชนที่ต้องการปล่อยให้ประเทศไทยมีปัญหาซับซ้อนยุ่งยากโดยหวังได้เงินจากต่างชาติและงบประมาณแผ่นดิน ตามแผนภาพที่แนบมา หากไม่ทำในรัฐบาลนี้ ก็ยากที่จะเกิดในรัฐบาลหน้า

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๓๑ ม.ค. รู้จักโรคอ้วนดีแล้ว.จริงหรือ?
๓๑ ม.ค. บมจ.ไทยเซ็นทรัลเคมี ร่วมกับ MBK ส่งมอบปฏิทินในกิจกรรม ปฏิทินเก่ามีค่า เราขอ
๓๑ ม.ค. BSRC ออกหุ้นกู้รอบใหม่ 8,000 ล้านบาท ยอดจองเกินเป้า ตอกย้ำความเชื่อมั่นของผู้ลงทุน
๓๑ ม.ค. คปภ. ร่วมสัมมนาประกันภัย ครั้งที่ 29 เตรียมรับมือความเสี่ยงอุบัติใหม่ พลิกโฉมธุรกิจประกันภัยสู่ความท้าทายในอนาคต
๓๑ ม.ค. มอบของขวัญให้กับครอบครัวของคุณช่วงวันหยุดพิเศษที่ สเตย์บริดจ์ สวีท แบงค็อก สุขุมวิท
๓๑ ม.ค. OR เปิดตัว CEO คนใหม่ หม่อมหลวงปีกทอง ทองใหญ่ มุ่งผลักดันไทยสู่ Oil Hub แห่งภูมิภาค พร้อมขับเคลื่อนองค์กรด้วยดิจิทัล-นวัตกรรม
๓๑ ม.ค. เดลต้า ประเทศไทย คว้ารางวัล ASEAN's Top Corporate Brand ประจำปี 2567
๓๑ ม.ค. โรงแรมอลอฟท์ กรุงเทพ สุขุมวิท 11 พลิกโฉมใหม่ สุดโมเดิร์น! พร้อมเปิดตัว w xyz bar ตอกย้ำความสนุกในแบบฉบับ
๓๑ ม.ค. PAUL JOE เปิดตัว GLOSSY ROUGE ต้อนรับฤดูใบไม้ผลิ 2025
๓๑ ม.ค. บริษัท โกซอฟท์ (ประเทศไทย) ได้รับเกียรติบัตรศูนย์ รับเรื่องและแก้ไขปัญหาให้กับผู้บริโภคระดับดีเด่น จาก สคบ. และการรับรองมาตรฐาน ISO