จริยา เสนพงศ์ ผู้ประสานงานรณรงค์ด้านพลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กรีนพีซ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ?กล่าว?ว่า "แม้ กฟผ. จะ?อ้าง?ว่านี่เป็นการดำเนินการ?เพื่อให้เกิดความมั่นใจ?ต่อ?นักลงทุน? ?และไม่มีผลผูกพันทางกฎหมาย แต่สิ่งที่ชัดเจนคือ การเปิดประมูลโครงการในเดือนสิงหาคม 2558 มาจนถึงปัจจุบัน เป็นความพยายามสร้างแรงกดดันต่อคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติให้ผ่านรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อม(EIA) และรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ(EHIA) อันจะส่งผลให้รัฐบาลอนุมัติโครงการ
ส่วนการแต่งตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่ายโดยคำสั่งนายกรัฐมนตรีตามข้อเรียกร้องของเครือข่ายปกป้องอันดามันจากถ่านหินว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมการพลังงานหมุนเวียนกระบี่ ซึ่งทำหน้าที่พิจารณาศักยภาพในการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนในจังหวัดกระบี่นั้น กลายเป็นเพียงพิธีกรรมและปิดโอกาสทางนโยบายที่เอื้อให้ข้อเรียกร้องภาคประชาชนเกิดขึ้นจริง
นอกจากนี้ การพิจารณา?เลือก?ราคาก่อสร้างโรงไฟฟ้าถ่านหินที่ต่ำสุดยังสร้างความกังวลถึงประสิทธิภาพและการกำกับดูแลผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพที่จะเกิดขึ้น
?องค์กรพลังงานระหว่างประเทศ (IEA) ระบุว่า ในกรณีของโรงไฟฟ้าถ่านหินขนาด 600 เมกะวัตต์ที่มีการควบคุมมลพิษที่เข้มงวด ค่าใช้จ่ายทั้งหมดจะอยู่ในราว 6.028 หมื่นล้านบาท (?1) ในขณะที่ โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ขนาด 870 เมกะวัตต์ ซึ่งกลุ่มกิจการค้าร่วม พาวเวอร์ คอนสตรัคชั่น คอร์เปอเรชั่น ออฟ ไชน่า (Power Construction Corporation of China) และบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ (ITD) เสนอไว้ที่ 3.2 หมื่นล้านบาท
?"การที่โครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินกระบี่ตั้งอยู่พื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อม และท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินตั้ง?อยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำปากแม่น้ำกระบี่ซึ่งมีความสำคัญในระดับนานาชาติ ?หากบริษัทพาวเวอร์ คอนสตรัคชั่น คอร์เปอเรชั่น ออฟ ไชน่า (Power Construction Corporation of China) ชนะการประมูล จะต้องตระหนักว่า?การดำเนินการก่อสร้างโครงการนั้น ?ขัดต่อนโยบายด้านสิ่งแวดล้อมของตน (2) ที่หลีกเลี่ยงการพัฒนาโครงการพลังงานในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตมรดกโลก ถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในภาวะคุกคาม และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ (RAMSAR-listed wetlands)" จริยากล่าวเสริม
กรีนพีซเรียกร้องให้ กฟผ.และรัฐบาลยกเลิกโครงการโรงไฟฟ้าถ่านหินและท่าเทียบเรือขนถ่ายถ่านหินกระบี่ เพื่อปกป้องพื้นที่ชุ่มน้ำที่เปราะบางและระบบนิเวศวิทยาอันอุดมสมบูรณ์ที่คนนับล้านพึ่งพาอาศัย ขณะเดียวกันมีข้อเสนอให้มุ่งเน้นความมั่นคงทางพลังงานบนรากฐานของระบบพลังงานหมุนเวียนที่สะอาดของจังหวัดกระบี่
หมายเหตุ :
1.http://www.greenpeace.org/seasia/th/PageFiles/673080/EndCoalCleanCoalFactsheet_TH.pdf/
2. วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ. 2556 กระทรวงพาณิชย์และกระทรวงปกป้องสิ่งแวดล้อมแห่งสาธารณรัฐประชาชนจีนประกาศแนวทางและคู่มือด้านสิ่งแวดล้อมในการลงทุนและความร่วมมือต่างประเทศ (Guidelines for Environmental Protection in Foreign Investment and Co-operation) ที่มีผลกับกิจการทุกประเภทที่ดำเนินงานนอกประเทศจีน ?ในขณะที่??พาวเวอร์ คอนสตรัคชั่น คอร์เปอเรชั่น ออฟ ไชน่า(Power Construction Corporation of China) หรือที่รู้จักกันในอีกชื่อหนึ่งคือ Powerchina ?ซึ่ง?เป็นกลุ่มกิจการค้าร่วมที่ใหญ่ติดอันดับ 1 ใน? ?5 ของการผลิตไฟฟ้า?ของจีน?นั้นมีบทบาทนำในด้านนโยบายสิ่งแวดล้อม หนึ่งใน?นโยบายดังกล่าว?รวมถึงการหลีกเลี่ยงการพัฒนาโครงการพลังงานในพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เขตมรดกโลก ถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตที่อยู่ในภาวะคุกคาม และพื้นที่ชุ่มน้ำที่มีความสำคัญในระดับนานาชาติ (RAMSAR-listed wetlands)
http://kingsofcoal.org/guidelines-for-environmental-protection