ศูนย์ภูมิแพ้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เปิดตัว "Asthma Care" แอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด แห่งแรกในวงการแพทย์ไทย

พุธ ๑๐ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๓๕
ศูนย์ภูมิแพ้โรงพยาบาลธรรมศาสตร์ฯ เปิดตัว "Asthma Care" แอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด แห่งแรกในวงการแพทย์ไทย โหลดฟรีได้แล้ววันนี้ทั้ง iOS / Android

ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือ TU-CAAP ร่วมกับชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ คิดค้นแอพพลิเคชั่นช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหืด เริ่มให้ประชาชนทั่วไปดาวน์โหลดฟรีตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไปผ่านทางโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือสำหรับผู้ที่ใช้ไอโฟน (iOS) และระบบแอนดรอย์ (Andriod)

รศ.นพ.จิตตินัดด์ หะวานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาล แจ้งว่า ศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือ TU-CAAP ร่วมกับชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ เปิดตัวแอพพลิเคชั่นฟรีบนมือถือเพื่อผู้ป่วยโรคหืด "Asthma Care" ทำหน้าที่เสมือนมีพยาบาลส่วนตัวช่วยให้คำแนะนำผู้ป่วยและญาติในการดูแลรักษาโรคหืด โดยเปิดตัวครั้งแรกในระบบ iOS สำหรับผู้ใช้โทรศัพท์ไอโฟน เมื่อวันที่ 9 สิงหาคมปีที่แล้ว และขณะนี้สามารถเปิดให้ดาวน์โหลดใช้งานได้ฟรีในระบบแอนดรอยด์ ซึ่งในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมาระหว่างรอพัฒนาระบบแอนดรอยด์ก็มีผู้เข้าไปดาวน์โหลดใช้งานจำนวนหนึ่ง และได้รับเสียงตอบรับที่ดีจากผู้ใช้งาน

ด้าน รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล ผู้อำนวยการศูนย์ความเป็นเลิศทางด้านโรคภูมิแพ้ โรคหืด และโรคระบบหายใจ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ หรือ TU-CAAP และประธานชมรมผู้ป่วยโรคหืดโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการใช้งานว่า

"Asthma Care" เป็นแอพพลิเคชั่นที่ให้บริการดาวน์โหลดฟรีบนอุปกรณ์โทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโรคหืด โดยแอพพลิเคชั่นดังกล่าวจะทำหน้าที่เสมือนเป็นพยาบาลส่วนตัวช่วยให้คำแนะนำวิธีการดูแลสุขภาพ การใช้ยา การพ่นยา และการปฏิบัติตัวของผู้ป่วยเมื่อเกิดอาการหอบ ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นแห่งแรกและแห่งเดียวในวงการแพทย์ของประเทศไทย โดยมีวัตถุประสงค์ช่วยเหลือผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดให้สามารถปฏิบัติตนและดูแลตนเองได้อย่างถูกวิธี ทั้งในเวลาปกติและเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉิน ทั้งนี้ โรคหืดเป็นโรคที่มีสาเหตุมาจากโรคภูมิแพ้ โดยทั่วไปจะมีอาการไอในตอนเช้าและตอนกลางคืน คัดจมูก น้ำมูกไหล ปัจจุบันพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 1 0 จากจำนวนประชากรทั้งหมดในประเทศไทย มีประชากรที่เป็นโรคหืด ประมาณ 3 ล้านคน มีผู้ป่วยเสียชีวิตปีละเกือบ 1,000 คน ซึ่ง 2 ใน 3 ของผู้ป่วยทั้งหมดมักจะมีอาการที่เกี่ยวข้องกับโรคภูมิแพ้ และโดยส่วนใหญ่แล้วโรคหืดมักจะพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ โดยจะเริ่มเป็นได้ตั้งแต่ 2-5 ขวบแรก และในผู้ใหญ่จะเริ่มประมาณ 30 ปีขึ้นไป ในผู้ป่วยที่เป็นโรคหืด สิ่งสำคัญที่ทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตคือ เมื่อมีอาการแล้วดูแลตัวเองไม่ได้ พ่นยาไม่ทัน จึงทำให้เสียชีวิต เพราะฉะนั้นผู้ป่วยที่เป็นโรคหืดจะได้รับการสอนแผนปฏิบัติการณ์เมื่อมีอาการหืดกำเริบหรือที่คนทั่วไปเรียกว่าอาการหอบ ยกตัวอย่างเช่น เมื่อหอบแล้วต้องทำอย่างไร มีอาการขนาดไหนถึงต้องมาโรงพยาบาล ซึ่งเมื่อทีมงานแพทย์และบุคลากรทางการพยาบาลสอนผู้ป่วยในเรื่องนี้ ก็จำเป็นจะต้องสอนบ่อยๆ สอนซ้ำๆ เพราะผู้ป่วยจำไม่ได้ด้วยเหตุผลที่ว่าในบางคนในหนึ่งปีหอบแค่ครั้งเดียว เมื่อเกิดอาการขึ้นมาไม่สามารถจำกระบวนการแก้ปัญหาช่วยเหลือตัวเองได้ ในทางปฏิบัติที่ผ่านมาแพทย์จะให้แผ่นพับแก่ผู้ป่วยและญาติไปอ่าน แต่ผู้ป่วยมักจะทำแผ่นพับนั้นหายและลืม

ต่อมาสังเกตว่าในทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ใช้ประโยชน์จากโทรศัพท์มือถือเยอะ จึงคิดหาวิธีว่าทำอย่างไรให้ผู้ป่วยสามารถดูแลตนเองได้เมื่อเกิดหืดกำเริบ จึงนึกถึงแอพพลิเคชั่นโปรแกรมที่จะช่วยชีวิตสำหรับผู้ป่วยที่เป็นหืด ซึ่งแอพพลิเคชั่นที่คิดขึ้นมานี้มีชื่อว่า "Asthma Care" (แอสท์ม่า แคร์)

รศ.พญ.อรพรรณ โพชนุกูล กล่าวต่อไปว่า ในแอพพลิเคชั่นดังกล่าวมีจุดเด่นคือ เมื่อมีอาการหอบเกิดขึ้นให้กดรูปรถพยาบาล ก็จะมีวิธีการดูแลเมื่อเกิดอาการหอบว่าจะต้องดูแลตนเองอย่างไร รวมถึงเบอร์โทรศัพท์ฉุกเฉิน และขั้นตอนปฏิบัติที่เป็นสีเขียว สีเหลือง สีแดง ซึ่งสีเขียวหมายถึงไม่หอบ สีเหลืองหมายถึงเริ่มหอบ การดูแลเบื้องต้น และสีแดงหมายถึงเป็นหอบมาก จำเป็นต้องมาโรงพยาบาลทันที ในส่วนอื่นๆ จะสอนเรื่องวิธีการพ่นยา การหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น รวมถึงการประเมินตนเอง เพราะผู้ป่วยจะได้ทราบว่าในเดือนที่ผ่านมาหรือในปีที่ผ่านมาตนเองหอบไปกี่ครั้ง เพื่อจะได้ให้ข้อมูลกับแพทย์ได้ถูกต้องและมีผลต่อการวินิจฉัยของแพทย์ได้ นอกจากนี้แพทย์ยังต้องการให้ผู้ป่วยพ่นยาทุกวันและมาพบแพทย์ตามนัด เพราะโรคหืดจำเป็นจะต้องใช้ยาทุกวันตลอดชีวิต โดยมีการตั้งค่าเตือนว่าเมื่อใดต้องพ่นยา ตั้งเตือนการพบแพทย์ สามารถดูแลผู้ป่วยเมื่อเกิดภาวะฉุกเฉินและสามารถดูแลตนเองในระยะยาวได้ จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น ในอนาคตทีมงานมีแผนที่จะทำเป็นเวอร์ชั่นภาษาอังกฤษเพื่อให้ผู้ป่วยโรคหืดได้ใช้ทั่วโลก

สำหรับผู้สนใจสามารถดาวน์โหลดแอพพลิเคชั่นดังกล่าวได้ฟรีไม่มีค่าใช้จ่าย โดย "Asthma Care" เป็นแอพพลิเคชั่นที่ใช้งานง่าย ผู้ใช้สามารถหาคีย์เวิร์ดที่เกี่ยวข้องได้ประมาณ 20 คำ เช่น Asthma Care หืด หอบ ฉุกเฉิน ปอด การพ่นยา เป็นต้น จากนั้นก็จะปรากฏโปรแกรม Asthma Care ขึ้นมาให้เราสามารถดาวน์โหลดได้ ซึ่งในขณะนี้ทีมงานพัฒนาจนสามารถใช้ในสมาร์ทโฟนที่เป็นระบบ iOS และระบบ Android ได้แล้วทั้ง 2 ระบบ เพื่อให้ครอบคลุมกับผู้ป่วยที่ใช้สมาร์ทโฟนในทุกๆ รุ่น ซึ่งแอพพลิเคชั่นนี้จะเป็นผู้ช่วยที่ช่วยชีวิตผู้ป่วยโรคหืดในอนาคตได้ และจะทำให้ลดอัตราการเสียชีวิตจากโรคหืดที่มีสาเหตุจากการที่ผู้ป่วยพ่นยาไม่ทันและพ่นยาผิดวิธีได้มาก

สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ คุณพัชรา บุญญอนุชิต โทร. 0 2926 9973-4

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๒๒ พ.ย. รีเลชั่นชิพรีพับบลิค แนะกลยุทธ์สำคัญ นำพาธุรกิจร้านอาหารสู่ความสำเร็จ มัดใจลูกค้าให้อยู่หมัด
๒๒ พ.ย. ชมนวัตกรรมสุดล้ำในงาน METALEX 2024 หลายแบรนด์แกะกล่องเครื่องจักรครั้งแรกในงานนี้
๒๒ พ.ย. Bangkok Illustration Fair 2024 สู่การเติบโตก้าวใหญ่ในปีที่ 4
๒๒ พ.ย. ผลการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันด้านดิจิทัลโดย IMD ประจำปี 2567 TMA เผยไทยครองอันดับ 37 ในการจัดอันดับด้านดิจิทัลปีนี้
๒๒ พ.ย. โก โฮลเซลล์ จัดเต็มสินค้า ส่งสุข สุดอร่อย เฉลิมฉลองเทศกาลส่งท้ายปี เข้มกระเช้าปีใหม่ดีมีมาตรฐาน พร้อมชู อาหารแช่แข็ง-อาหารสด
๒๒ พ.ย. กทม. จับมือสถานทูตเนเธอร์แลนด์ ประจำประเทศไทย จัดประชุมเชิงปฏิบัติการ ACTIVE Workshop เมืองเดินเท้า และจักรยานสัญจร ครั้งที่
๒๒ พ.ย. สัมผัสความหรูหราของวิลล่าริมทะเล VEYLA NATAI RESIDENCES ผ่านประสบการณ์เหนือระดับในงาน SOUL of VEYLA
๒๒ พ.ย. 'แอสเซทไวส์' จับมือ 'สยามกีฬา' เปิดศึกลูกหนังยุวชนทัวร์นาเมนต์ใหญ่แห่งปี AssetWise Siamkeela Cup 2024-25 ต่อเนื่องเป็นปีที่
๒๒ พ.ย. โรงแรมเรเนซองส์ เปิดตัว R FINDS แพลตฟอร์มดิจิทัลระดับโลก ที่จะเชื่อมมนต์เสน่ห์ชุมชนท้องถิ่นสู่นักเดินทางทั่วโลก
๒๒ พ.ย. electric.neon.lamp หยิบเพลงฮิต แม้ ใส่ฟีลดนตรีเหงาปนเศร้าในแบบ Piano Version