กสท.จ่อสั่ง จีเอ็มเอ็มบี จ่ายเงินค้างคืนสมาชิก / ถกเครียดพักจอ Wake Up News ช่องวอยซ์ทีวี 7 วัน

จันทร์ ๑๕ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๓๒
นางสาวสุภิญญา กลางณรงค์ คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) เปิดเผยว่า การประชุมคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์(กสท.) ครั้งที่ 27/2559 วันจันทร์ที่ 15สิงหาคม นี้ มีวาระการประชุมน่าจับตา ได้แก่ เรื่องร้องเรียน กรณี บ.จีเอ็มเอ็มบี จำกัด แจ้งเปลี่ยนระบบการให้บริการแพ็คเกจ Z PAY TV ทางกล่องรับสัญญาณ GMM Z ตามที่ผู้ร้องเรียน(ตั้งแต่เดือน ก.พ. – พ.ค. 59) ที่ใช้บริการกล่องรับสัญญาณดาวเทียมของบริษัทจีเอ็มเอ็ม แซท จำกัด(ผู้ให้บริการโครงข่าย) และผู้สมัครแพ็กเกจของบริษัทจีเอ็มเอ็ม บี จำกัด(แพกเก็จ Z PAY TV)ยังไม่ได้รับเงินค่าแพ็กเกจคืนจากการเยียวยาจำนวน 55 ราย นับตั้งแต่วันที่ไม่สามารถรับชมรายการได้ ตามมติ กสท.ครั้งที่ 19/59เมื่อวันที่ 13 มิ.ย. 59 กสท.ได้รับทราบแผนเยียวยาของบริษัท จีเอ็มเอ็ม แซท ได้ยืนยันแผนชดเชยเยียวยาเดิม ซึ่งในส่วนกรณีผู้ใช้บริการไม่พึงประสงค์จะขอชดเชยด้วยกล่องต้องการที่จะยกเลิกการรับชมช่อง Z Pay TV บริษัทจะชดเชยค่าแพคเกจ โดยได้ติดต่อสอบถามผู้ร้องเรียนกรณีบริษัทฯคืนเงินค่าแพคเกจนับแต่วันที่ไม่สามารถรับชมได้จนถึงระยะเวลาที่แพกเก็จสิ้นสุดลงทางโทรศัพท์ ซึ่งพบว่ายังมีผู้ร้องเรียนทั้ง 55 รายที่ยังไม่ได้รับเงินค่าแพ็กเกจคืนจากบริษัท จีเอ็มเอ็ม บีฯ ซึ่งเข้าข่ายเป็นการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้บริการหรือระงับหยุดให้บริการ อันเป็นการเอาเปรียบผู้บริโภค โดยอาศัยการใช้เครือข่ายหรือการโฆษณาอันมีลักษณะเป็นการค้ากำไรเกินควรหรือก่อให้เกิดความเดือดร้อนรำคาญ ตามข้อ 5(7) ของ ประกาศ กสทช. เรื่อง การกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ. 2555 ประกอบกับประกาศ กสทช. เรื่องมาตรฐานของสัญญาการให้บริการโทรทัศน์แบบอกรับสมาชิก พ.ศ. 2556 ข้อ 35 เนื่องจากบริษัทฯ กระทำการฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขในการให้บริการโดยปราศจากเหตุอันควร คือการไม่ดำเนินการคืนเงินค่าแพคเกจภายใน 30 วัน นับแต่เลิกสัญญา ซึ่งหากไม่ปฏิบัติตามอาจได้รับโทษทางปกครองปรับไม่เกินห้าล้านบาท ตามความในมาตรา 31 แห่งพ.ร.บ. องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ฯ พ.ศ. 2553 ซึ่ง กสทช. มีอำนาจที่จะมีคำสั่งให้ระงับการกระทำดังกล่าวได้ หากฝ่าฝืนคำสั่งดังกล่าว กสทช.มีอำนาจตามาตรา77 ในการกำหนดโทษปรับทางปกครองในอัตรา 5 ล้านบาท และปรับอีกวันละไม่เกิน 100,000 บาท ตลอดระยะเวลาที่ยังไม่ปฏิบัติตามคำสั่งนั้น

"ปัญหาของสมาชิกกล่อง GMM Z สืบเนื่องมาถึงการยกเลิกบริการของ CTH ซึ่งทำให้ต้องมีการทบทวนแผนเยียวยาใหม่ทั้งหมด แต่ก็มีสมาชิกจำนวนไม่น้อยที่ต้องการเลิกสัญญา แต่กลับยังไม่ได้รับเงินคืนตามสัญญาบริการ ดังนั้นเสนอ กสท.ให้ออกคำสั่งบังคับให้ GMM B ต้องเร่งคืนเงินสมาชิกเก่า ถ้าหากฝ่าฝืนควรมีมาตรการลงโทษขั้นสูงสุด หวังว่าทาง กสท. จะให้ความเป็นธรรมกับผู้บริโภคด้วยการบังคับใช้กฎอย่างจริงจังมากกว่าเดิม ส่วนสมาชิกก็อย่าเพิ่งถอดใจ ช่วยกันฟ้องร้องทุกหน่วยงานถ้ายังไม่ได้รับการชดเชยเยียวยาจากการกระทำที่เอาเปรียบผู้บริโภคของเอกชน" สุภิญญา กล่าว

วาระอื่นน่าจับตา ได้แก่ การตรวจสอบพบรายการ Wake Up News ทางช่องวอยซ์ทีวี เมื่อวันจันทร์ที่ 4 ก.ค. 59 เวลา7.36 น. นำเสนอเนื้อหาในช่วง "ห้องเรียนรัฐธัรรมนูญ" มีเนื้อหาลักษณะส่อเสียดโดยการนำรัฐธรรมนูญฉบับเก่ามาเปรียบเทียบกับรัฐบาลปัจจุบัน แต่เนื้อหายังไม่มีลักษณะเป็นการต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามประกาศ คสช. ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่103/2557 คณะอนุกรรมการด้านผังรายการและเนื้อหาจึงเสนอให้ กสท.มีหนังสือขอความร่วมมือไปยังบริษัทวอยซ์ทีวี จำกัด ให้ใช้ความระมัดระวัง ความละเอียดรอบคอบในการออกอากาศรายการในลักษณะต้องห้ามตามกฎหมาย ทั้งนี้ สำนักงานยังได้ตรวจสอบพบว่า รายการ Wake Up News ออกอากาศวันที่ 21 ก.ค. 59 เวลาประมาณ 7.20 น. มีการนำเสนอเนื้อหาที่เป็นการวิพากษ์วิจารณ์ร่างรัฐธรรมนูญและพูดแนะนำให้ประชาชนลงชื่อในเวบไซต์ change.org การออกอากาศ วันที่ 22 ก.ค. มีการนำเสนอเรื่องเกี่ยวกับนายกรัฐมนตรีใช้มาตรา 44 แก้ปัญหารถไฟฟ้าสีน้ำเงิน วันที่ 29 ก.ค. ในช่วงห้องเรียนรัฐธรรมนูญ มีการสัมภาษณ์ รศ.สุขุม นวลสกุล เกี่ยวกับร่างรัฐธรรมนูญ และการออกอากาศ วันที่ 8 ส.ค. 59 อาจมีเนื้อหาลักษณะต้องห้ามมิให้ออกอากาศตามประกาศ คสช.ที่เกี่ยวข้อง อีกทั้งเป็นการขัดต่อข้อกำหนดในบันทึกข้อตกลงที่ได้ทำร่วมกับสำนักงาน กสทช. จึงได้เสนอกำหนดโทษปรับทางปกครองเป็นเงิน 50,000 บาท และมีคำสั่งให้ระงับการออกอากาศรายการ Wake Up News เป็นเวลา 7 วัน

"กรณี VoiceTV กสท. คงต้องนำเทปรายการมานั่งย้อนดูด้วยกันอย่างละเอียด แล้วถกกันว่า ข้อความส่วนไหนที่เข้าข่ายล้ำเส้นกฎหมายกันแน่ ซึ่งก็ยังไม่มีการแจ้งความผิดจาก กกต. ที่กำกับกติกาตามกฎหมายประชามติมาแต่อย่างใด จับตาว่า กสท. บอร์ดเสียงข้างมากจะโหวตอย่างไร ถ้าสุดท้ายถูกพักรายการต้องรอดูท่าทีช่องว่าจะยอมรับหรือใช้สิทธิ์ฟ้องศาลต่อไปหรือไม่ ในความเห็นส่วนตัวขณะนี้รัฐธรรมนูญได้รับเสียงข้างมากสนับสนุนแล้ว ฝ่ายผู้มีอำนาจควรปกป้องเสียงข้างน้อย เปิดพื้นที่ของฝ่ายตรวจสอบ ถ่วงดุลให้มีที่ยืนบ้าง แม้เสียงค้านอาจทำให้รัฐรู้สึกรำคาญใจ แต่ก็จะช่วยเป็นกระจกสะท้อนในการใช้อำนาจตามรัฐธรรมนูญใหม่ด้วยเช่นกัน" สุภิญญา กล่าว

ส่วนวาระอื่นๆน่าจับตา รายงานสภาพปัญหาและแนวทางแก้ไขปัญหาการรบกวนสถานีระบบเอฟ.เอ็ม. วาระการออก(ร่าง)ประกาศ กสทช. เรื่องหลักเกณฑ์การใช้งานคลื่นความถี่ เพื่อสนับสนุนภารกิจป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และในกรณีที่เกิดเหตุฉุกเฉินและภัยพิบัติ วาระการพิจารณาให้ระงับการออกอากาศโฆษณาผลิตภัณฑ์หรือสินค้าเป็นการชั่วคราวในกิจการกระจายเสียงของ สถานีวิทยุกระจายเสียง คลื่นธนบุรี FM.101.75 MHz สถานีวิทยุเทพารักษ์เรดิโอ เครือข่ายเพื่อความมั่นคงของชาติFM.105.25 MHz. วาระการพิจารณาการกระทำที่เป็นการเอาเปรียบผู้บริโภคสถานีวิทยุพัฒนากระจายเสียงพัฒนาสุข เรดิโอ เครือข่ายเพื่อความมั่นคงของชาติ FM.104.25 MHz สถานีวิทยุเพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม FM.104.25 MHz ช่องรายการ R Channelและติดตามความคืบหน้าวาระต่างๆ ในการประชุมวันที่ 15 ส.ค.นี้

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ