รองผู้ว่าฯ ลพบุรี จับมือเบทาโกร ตรวจแรงงานในฟาร์มไก่ มุ่งยกระดับการจัดการด้านแรงงานในอุตสาหกรรมการเลี้ยงไก่

ศุกร์ ๑๙ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๐:๔๙
จังหวัดลพบุรี นำโดยรองผู้ว่าฯ จับมือภาคเอกชน เครือเบทาโกร นำคณะตรวจบูรณาการและแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน ลงพื้นที่ตรวจฟาร์มไก่ ในจังหวัดลพบุรี ไม่พบการกระทำที่ผิดกฎหมายแรงงาน พร้อมให้นโยบายและชี้แนะแนวทางการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดีและมีประสิทธิภาพต่อนายจ้าง

นายรังสรรค์ ตันเจริญ รองผู้ว่าราชการจังหวัดลพบุรี ในฐานะประธานคณะทำงานตรวจบูรณาการและแก้ไขปัญหาด้านแรงงาน นำทีมคณะทำงาน ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อาทิ สำนักงานสวัสดิการและคุ้มแรงงานจังหวัดลพบุรี สำนักงานจัดหางานจังหวัดลพบุรี กองรักษาความมั่นคงภายในจังหวัดลพบุรี ฯลฯ พร้อมด้วยภาคเอกชน เครือเบทาโกร ลงพื้นที่ตรวจฟาร์มไก่ในจังหวัดลพบุรี เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการค้ามนุษย์ด้านแรงงานในจังหวัดลพบุรี เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพตามนโยบายของรัฐบาล รวมทั้งสภาพการจ้างงานและสภาพการทำงานเป็นไปตามที่กฎหมายกำหนด โดยเข้าตรวจสถานประกอบกิจการ พี เจ ฟาร์ม 2 ซึ่งตั้งอยู่ ณ ตำบลหนองยายโต๊ะ อำเภอชัยบาดาล จังหวัดลพบุรี เป็นแห่งแรกตามแผน และจะเข้าตรวจสถานประกอบกิจการอื่นๆ อย่างต่อเนื่อง

นายรังสรรค์ กล่าวภายหลังการตรวจเยี่ยมฟาร์มว่า "จังหวัดลพบุรี มีการเลี้ยงไก่ แปรรูปไก่มากที่สุดในประเทศไทย มีไก่แปรรูปส่งออกต่างประเทศ เป็นเรื่องละเอียดอ่อนถ้าหากมีประเด็นปัญหาที่แสดงออกถึงว่าเรายังขาดมาตรฐาน ไม่เป็นมาตรฐานสากลด้านแรงงานหรือมีการค้ามนุษย์ อาจจะถูกต่อต้านจากประเทศผู้รับซื้อ ท่านผู้ว่าฯ มอบให้เป็นประธานคณะทำงาน วันนี้มาดูแล้ว จากการตรวจเรื่องของกฎหมาย เรื่องการคุ้มครองแรงงานเป็นไปตามกฎหมาย บริษัทนี้เป็นคอนแทร็ค ฟาร์ม ของบริษัทใหญ่ บริษัทใหญ่ดูแล ให้คำแนะนำตลอด ตามนโยบายท่านผู้ว่าฯ ลพบุรีมีผู้ประกอบการประมาณ 200 กว่าราย ในส่วนของจังหวัดเราได้เชิญผู้ประกอบการรายใหญ่มาประชุมชี้แจงทำความเข้าใจ ว่าทำไมเราถึงต้องเข้มงวดหรือต้องแข็งขันในเรื่องนี้ ซึ่งผู้ประกอบการรายใหญ่เข้าใจดีมาก เพราะรู้ว่าธุรกิจสมัยใหม่มีความเกี่ยวเนื่องกันทั่วโลก กติกาสากลเป็นเรื่องสำคัญ ส่วนคอนแทร็คฟาร์มมีอยู่ 200 - 300 แห่ง คือหลุดไม่ได้ ถ้าผิดพลาดขึ้นมาสักที่จะกระทบภาพรวมของทั้งจังหวัด ชุดบูรณาการฯ ต้องพากันออกไปตรวจให้คำแนะนำ ที่ไหนผิดกฎหมายต้องดำเนินคดี ที่นี่เป็นที่แรกตรวจดูแล้วถูกต้อง พูดคุยกับผู้ประกอบการ ทราบดีถึงเรื่องหลักเกณฑ์เรื่องเหล่านี้ และก็ยินดีให้ความร่วมมือทุกประการ"

ด้าน นายรุ่งโรจน์ ตันติเวชอภิกุล รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ สำนักบริหารและพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ เครือเบทาโกร กล่าวว่า เบทาโกร ตระหนักถึงความสำคัญในการยกระดับการจัดการด้านแรงงานของ

อุตสาหกรรมอาหาร จึงมีนโยบายในการควบคุมให้ทุกบริษัทในเครือและตลอดจนห่วงโซ่อุปทาน (Supply Chain) ที่เกี่ยวข้อง มีการจัดการเรื่องแรงงานโดยยึดหลักความถูกต้อง ปฏิบัติตามมาตรฐานแรงงานอย่างถูกกฎหมาย มีวิธีการปฏิบัติต่อแรงงานที่ดีและเท่าเทียมกันทุกเชื้อชาติ ตามหลักจริยธรรมสากล ซึ่งดำเนินการมาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว และเพื่อยกระดับมาตรฐานแรงงานให้มีมาตรฐานเดียวกันอย่างเป็นรูปธรรม จึงกำหนด "มาตรฐานแรงงานเบทาโกร" หรือ BLS (BETAGRO Labor Standard) ขึ้น โดยประกาศเริ่มดำเนินการกับทุกบริษัทในเครือ เมื่อเดือนเมษายน พ.ศ.2558 และขยายไปสู่เกษตรกรคู่สัญญาในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ.2558 ที่ผ่านมา โดยมีหน่วยงานภาครัฐร่วมดำเนินการด้วย

"มาตรฐานแรงงานเบทาโกร หรือ BLS ไม่เพียงแต่สอดคล้องกับกฎหมายแรงงานไทย มาตรฐานสากลด้านสิทธิมนุษยชน และแรงงานสัมพันธ์ ยังมีเป้าหมายที่จะผลักดันมาตรฐานการจัดการแรงงานให้ดียิ่งขึ้นไปในอนาคต การดำเนินการให้เป็นไปตามมาตรฐาน BLS ประกอบด้วยขั้นตอนต่างๆ ได้แก่ การจัดอบรม เตรียมความพร้อมทีมงานที่ปรึกษาภายในเครือเบทาโกร การจัดอบรมให้ความรู้และความเข้าใจแก่เกษตรกรคู่สัญญา การติดตามความคืบหน้า รวมถึงมีระบบตรวจสอบทั้งจากภายในเครือฯ (Internal Audit) และจากภายนอก (External Audit) เช่น ลูกค้า ภาคราชการ ตลอดจนหน่วยงานที่เชื่อถือได้ในระดับสากล หากตรวจพบ

การกระทำใดๆ ที่ไม่ถูกต้อง จะขอให้เกษตรกรคู่สัญญาดำเนินการแก้ไขโดยเร็ว พร้อมส่งทีมงานที่ปรึกษาเข้าไปช่วยให้คำแนะนำ ทั้งนี้ เครือเบทาโกร ได้ตัดสินใจยกระดับสัญญาจ้างให้มีข้อกำหนดในการหยุดดำเนินธุรกิจชั่วคราวหากพบว่ามีข้อพิพาทแรงงานเกิดขึ้นกับคู่สัญญา จนกว่าจะดำเนินการจัดการด้านแรงงานให้ถูกต้องตามข้อแนะนำของทีมที่ปรึกษา" นายรุ่งโรจน์กล่าว

นอกจากนี้ เครือเบทาโกร มุ่งมั่นในการยกระดับมาตรฐานการจัดการด้านแรงงานเพื่อคุณภาพชีวิต ที่ดี มีการทบทวนและพัฒนาระบบการจัดการอย่างต่อเนื่อง และบริษัทยังมีส่วนสำคัญในการผลักดันมาตรฐานการจัดการแรงงานในระดับประเทศด้วย

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๒๑ 60 ปีแห่งความมุ่งมั่น! คาโอ คว้ารางวัลอุตสาหกรรมดีเด่น 2 ประเภทในปี 2567 ชูความสำเร็จด้านสิ่งแวดล้อมและความรับผิดชอบต่อสังคม
๑๗:๒๓ AVATR ก้าวสู่ความสำเร็จครั้งยิ่งใหญ่! ระดมทุนในรอบ Series C ได้มากกว่า 11,000 ล้านหยวน พร้อมก้าวสู่ความเป็นผู้นำในตลาดรถยนต์ไฟฟ้าหรูหราแห่งอนาคต
๑๗:๐๖ Zoom เปิด 10 เทรนด์ ใช้ AI ในการทำงานปี 2568
๑๗:๑๐ เปิดมุมมองอาชีพที่หลากหลายในอุตสาหกรรมกาแฟไทย เจาะลึกบทบาทและแนวทางยกระดับสู่การเติบโตอย่างยั่งยืน
๑๗:๑๔ อนาคตแห่งการเดินทาง: 5 คนขับ AI จากแอปเรียกรถ Maxim
๑๗:๕๕ Well-Being House บ้านชั้นเดียวเอาใจคนวัยเกษียณ
๑๗:๑๖ กทม. แจงเปิดกว้างการแข่งขันโครงการเช่าคอมพิวเตอร์พกพาสำหรับนักเรียน
๑๖:๓๗ รายงาน Ericsson Mobility Report ฉบับล่าสุด เผยผู้เริ่มให้บริการ 5G กลุ่มแรกกำลังมุ่งสู่โมเดลธุรกิจที่เน้นประสิทธิภาพ
๑๗:๒๕ เมดีซ กรุ๊ป ร่วมสมทบทุนสนับสนุนมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราช ช่วยผู้ป่วยในชนบท ถิ่นทุรกันดารที่ห่างไกล
๑๖:๔๔ CNN จับตา นวัตกรรมล่าสุดจากนักวิจัยไทย พลิกโฉมการตรวจคัดกรองความเครียดด้วย เหงื่อ