การรักษาแผลเบาหวานเรื้อรังด้วย ออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy)

จันทร์ ๒๒ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๕๓
ปัจจุบันมีการใช้ Hyperbaric Oxygen Therapy เข้ามาช่วยในการรักษาโรคเบาหวานที่มีแผลเรื้อรัง โดยเฉพาะแผลเบาหวานที่เท้าซึ่งมีวิธีการคือ ให้ผู้ป่วยหายใจเอาออกซิเจนบริสุทธิ์ 100% ภายใต้เครื่องปรับบรรยากาศความกดดันสูงที่มากกว่าความดันบรรยากาศที่ระดับน้ำทะเล เพื่อเพิ่มปริมาณออกซิเจนในกระแสเลือดให้มากขึ้น พอเลือดไหลเวียนไปยังตำแหน่งที่มีแผลก็จะส่งออกซิเจนเข้าไปในเนื้อเยื่อนั้นและได้มากขึ้น

ประสิทธิภาพของ Hyperbaric Oxygen Therapy

หลังจากเนื้อเยื่อที่อยู่บริเวณแผลได้รับปริมาณออกซิเจนเพิ่มมากขึ้น ออกซิเจนเหล่านี้จะไปกระตุ้นการสร้างเส้นเลือดเล็ก ๆ ให้มาเลี้ยงแผลมากขึ้น กระตุ้นเนื้อเยื่อให้มีการสร้างคอลลาเจน ซึ่งมีส่วนสำคัญในการหายของแผล กระตุ้นการทำงานของเม็ดเลือดขาวในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ลดการบวมของเนื้อเยื่อส่งเสริมการซ่อมแซมและการหายของบาดแผล

โดยการรักษาโรคเบาหวานที่มีแผลเรื้อรังด้วยออกซิเจนความดันสูง (Hyperbaric Oxygen Therapy) เป็นการรักษาเสริมหรือเพิ่มเติมอีกวิธีหนึ่งที่ใช้ร่วมกับการรักษาอื่นทั้งทางอายุรกรรมและศัลยกรรม นอกจากนั้นยังสามารถรักษา โรคต่าง ๆ ได้มากมาย เช่น โรคฟองอากาศอุดตันเส้นเลือด , พิษจากก๊าซคาร์บอนมอนออกไซด์ , โรคน้ำหนีบ, เนื้อเยื่อที่ได้รับบาดเจ็บจากการบดขยี้ (crush injury) , การติดเชื้อที่แผลและการติดเชื้อที่กระดูก , แผลเรื้อรังจากการฉายแสง , แผลไฟไหม้ น้ำร้อนลวก เป็นต้น

ความถี่ในการทำงาน

จำนวนครั้งและระยะเวลาในการทำยังไม่มีข้อสรุปที่ชัดเจน ขึ้นอยู่กับตัวผู้ป่วยและสภาพของบาดแผลหรือการบาดเจ็บนั้น ๆ สำหรับการรักษาโรคเบาหวานแผลที่เท้าจะใช้ประมาณ 20 – 40 ครั้ง ครั้งละ 1 – 2 ชม. โดยขึ้นอยู่กับอัตราการตอบสนองของแผลและการรักษา

สำหรับเครื่อความกดอากาศในปัจจุบันแบ่งออกเป็น 2 แบบใหญ่ ๆ คือ แบบ Monochamber รักษาผู้ป่วยได้ครั้งละ 1 คน

แบบ Multichamber ใช้รักษาผู้ป่วยได้ครั้งละ 2 – 18 คน

ภาวะแทรกซ้อนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ โดยปกติถ้าได้รับการรักษาตามมาตรฐานด้วยความกดอากาศไม่เกิน 3 บรรยากาศ และการรักษาแต่ละครั้งไม่ เกิน 2 ชม. จะพบภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นน้อยมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าได้รับการซักประวัติและตรวจร่างกายอย่างถูกต้องจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก่อนรักษา อย่างไรก็ตามสามารถพบภาวะแทรกซ้อนได้แก่ การบาดเจ็บที่หูชั้นกลาง อาการปวดหู หูอื้อ ปวดไซนัส และปวดฟัน เป็นต้น ซึ่งส่วนใหญ่อาการจะดีขึ้นเองหลังจากการหยุดทำ

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ