กกพ. หนุนนโยบายภาครัฐ เดินหน้าโครงการนำร่องโซลาร์เสรี ส่งเสริมพลังงานหมุนเวียนของประเทศ

อังคาร ๒๓ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๖:๕๐
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (กกพ.) เดินหน้าออกประกาศโครงการนำร่อง (Pilot Project) การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอย่างเสรี พ.ศ. 2559 พร้อมเชิญชวนเจ้าของบ้านอยู่อาศัยหรือเจ้าของอาคารธุรกิจ โรงงาน เข้าร่วมโครงการ ช่วยลดค่าใช้จ่ายจากการซื้อไฟฟ้าและยังช่วยลดกำลังไฟฟ้าสูงสุด (Peak) ในช่วงกลางวันได้

นายวีระพล จิรประดิษฐกุล กรรมการกำกับกิจการพลังงาน ในฐานะโฆษกของ กกพ. เปิดเผยถึงความคืบหน้าโครงการนำร่อง (Pilot Project) การผลิตไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์บนหลังคาอย่างเสรี พ.ศ. 2559 หรือ โซลาร์เสรี ว่า กกพ. ได้ออกประกาศรับสมัครเข้าร่วมโครงการแล้วเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม 2559 โดยโครงการโซลาร์เสรีนี้เป็นรูปแบบของโครงการนำร่อง เพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการดำเนินโครงการ และมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อการผลิตไฟฟ้าเพื่อใช้ในบ้านหรือในอาคารเป็นหลัก (Self-Consumption) และส่วนที่เหลือจะไหลย้อนเข้าสายจำหน่ายให้น้อยที่สุด แต่ทั้งนี้จะไม่มีการจ่ายเงินค่าไฟฟ้าที่ไหลคืนเข้าระบบในช่วงนำร่องนี้ อย่างไรก็ตาม ได้มีการยกเว้นค่าธรรมเนียมในการตรวจสอบด้านเครื่องวัดหน่วยไฟฟ้าหรือมิเตอร์ไฟฟ้าในกลุ่มผู้เข้าร่วมโครงการประเภทบ้านอยู่อาศัย และประเภทอาคารธุรกิจหรือโรงงานที่มีระดับแรงดันที่เชื่อมต่อต่ำกว่า 12 กิโลโวลต์ โดยการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายจะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ สำหรับที่พักอาศัยหรืออาคารธุรกิจที่จะเข้าร่วมโครงการจะต้องเป็นกลุ่มที่มีการใช้ไฟฟ้าอย่างสม่ำเสมอในช่วงกลางวัน โดยมีเป้าหมายกำลังการผลิตติดตั้งของโครงการนำร่องนี้ รวมทั้งสิ้นจำนวน 100 เมกะวัตต์ แบ่งปริมาณตามกลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ออกเป็น พื้นที่ของการไฟฟ้านครหลวงและพื้นที่ของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค พื้นที่ละ 50 เมกะวัตต์ โดยแบ่งเป็นประเภทบ้านที่อยู่อาศัย จำนวน 10 เมกะวัตต์ ขนาดติดตั้งไม่เกิน 10 กิโลวัตต์ และประเภทอาคารธุรกิจ จำนวน 40 เมกะวัตต์ ขนาดติดตั้ง 10-1,000 กิโลวัตต์

คุณสมบัติเบื้องต้นของผู้เข้าร่วมโครงการที่สำคัญ คือ ต้องเป็นผู้ใช้ไฟฟ้าในเขตพื้นที่ดำเนินการของการไฟฟ้านครหลวงและการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค กรณีเป็นประเภทบ้าน จะต้องเป็นเจ้าของบ้านหรือที่ได้รับการยินยอมจากผู้ที่เป็นเจ้าของบ้านหรือมีสัญญาเช่าบ้านและได้รับการยินยอมจากผู้ที่เป็นเจ้าของบ้าน หรือหากเป็นประเภทอาคารธุรกิจหรือโรงงาน จะต้องเป็นเจ้าของอาคารหรือที่ได้รับการยินยอมจากผู้ที่เป็นเจ้าของอาคารหรือมีสัญญาเช่าอาคารและได้รับการยินยอมจากผู้ที่เป็นเจ้าของอาคาร โดยทั้ง 2 ประเภท สถานที่ที่ติดตั้งระบบต้องมีมิเตอร์ที่มีการซื้อไฟฟ้าอยู่แล้ว หรือเป็นผู้ขอใช้ไฟฟ้ารายใหม่ และสำหรับผู้ที่ได้รับหนังสือรับแจ้งการประกอบกิจการพลังงานที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องขอรับใบอนุญาตจาก สำนักงาน กกพ. หรือผู้ที่ติดตั้งระบบด้วยตนเองอยู่ก่อนแล้ว สามารถสมัครเข้าร่วมโครงการนำร่องนี้ได้เช่นกัน โดยแจ้งความประสงค์และยื่นแบบคำขอเชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายไฟฟ้า เช่นเดียวกับผู้เข้าร่วมโครงการนำร่องรายใหม่

สำหรับการเปิดรับเข้าร่วมโครงการนำร่อง กำหนดเปิดรับสมัครตั้งแต่วันที่ 22 สิงหาคม 2559 ถึงวันที่ปริมาณกำลังการผลิตติดตั้งครบถ้วนตามเป้าหมาย แต่ทั้งนี้ จะเปิดรับไม่เกินวันที่ 7 ตุลาคม 2559 ผู้ที่สนใจสามารถดูรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซต์ของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) www.mea.or.th และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.)http://vspp.pea.co.th

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๐ ม.ค. ซีอีโอธุรกิจธนาคารเดิมพันกับเทคโนโลยีเกิดใหม่แม้มีช่องว่างทางทักษะ
๑๐ ม.ค. เครียดจริงหรือแค่คิดไปเอง? เช็คระดับความเครียดของคุณใน 5 นาที
๑๐ ม.ค. อลิอันซ์ อยุธยา ประกันชีวิต จัดงาน Agency Kick off 2025 รวมพลังฝ่ายขาย มุ่งสู่ความเป็นเลิศในทุกด้าน
๑๐ ม.ค. ซัมซุง ปล่อยทีเซอร์เล่นใหญ่รับต้นปี เตรียมพบ Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่
๑๐ ม.ค. ซัมซุง ดึง แม่ชม พร้อมด้วย พี่จอง-คัลแลน ปล่อยทีเซอร์เล่นใหญ่รับต้นปี เตรียมพบ Galaxy AI ผู้ช่วยส่วนตัวคนใหม่
๑๐ ม.ค. มูลนิธิป่อเต็กตึ๊ง ขยายพื้นที่ บรรเทาทุกข์ มอบไออุ่น แก่ผู้ประสบภัยหนาวในถิ่นทุรกันดารพื้นที่จังหวัดสุพรรณบุรี และชัยนาท รวมมูลค่ากว่า 8
๑๐ ม.ค. ร่วมสำรวจอนาคตธุรกิจโลจิสติกส์ไทยในงานสัมมนาออนไลน์ฟรี!
๑๐ ม.ค. ปีใหม่จะไม่โสด! Tinder เผยอาทิตย์แรกเดือน ม.ค. ปัดขวาคึกคักที่สุด
๑๐ ม.ค. MPJ แย้มข่าวดีรับปีใหม่ รุกขยายลานตู้ที่ศรีราชาครั้งใหญ่ คาดเพิ่มรายได้ลานตู้ 52%
๑๐ ม.ค. COVERMARK จัด Precious Bright Promotion ต้อนรับลูกค้าใหม่