บอร์ด “GUNKUL” เดินหน้าผงาดเป็นผู้นำธุรกิจพลังงานทดแทน ไฟเขียวลุยโรงไฟฟ้าโซลาร์ฟาร์มแดนปลาดิบเพิ่มอีก 66.78 MW มั่นใจสร้างผลตอบแทนให้ผู้ถือหุ้นยาวกว่า 20 ปี

พฤหัส ๒๕ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๑๕:๔๕
บมจ.กันกุล เอ็นจิเนียริ่ง (GUNKUL) ข่าวดีมีต่อเนื่อง! บอร์ดอนุมัติลงทุนโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เคนโตส ที่ประเทศญี่ปุ่นกำลังการผลิต 66.78 เมกะวัตต์ มูลค่ากว่า 8,391 ล้านบาท "โศภชา ดำรงปิยวุฒิ์" เผยการลงทุนในครั้งนี้เพื่อขยายฐานธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนไปยังต่างประเทศ สอดคล้องกับนโยบายในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำผู้ประกอบธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนระดับนานาชาติ มั่นใจสร้างผลตอบแทนการเติบโตของทรัพย์สิน-กำไร ให้แก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นต่อเนื่องยาวกว่า 20 ปี

คุณโศภชา ดำรงปิยวุฒิ์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท กันกุลเอ็นจิเนียริ่ง จำกัด (มหาชน) หรือ GUNKUL เปิดเผยว่า ที่ประชุมคณะกรรมการบริษัทครั้งที่ 6/2559 เมื่อวันที่ 25 สิงหาคม 2559 มีมติอนุมัติการเข้าทำรายการลงทุนในโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์เคนโตส (Kentos) เมืองอุทสึโนะมิยะ จังหวัดโทชิงิ ประเทศญี่ปุ่น ขนาดกำลังการผลิตของโครงการตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 66.78 เมกะวัตต์ และตามการติดตั้ง 72.80 เมกะวัตต์ คิดเป็นมูลค่ารวมของโครงการประมาณ 24,017 ล้านเยน หรือประมาณ 8,391 ล้านบาท โดยลงทุนผ่าน Gunkul International (Mauritius) ซึ่งเป็นบริษัทย่อยของบริษัทฯ (ถือหุ้นในสัดส่วน 100%) และแต่งตั้ง Future Asset Management เพื่อรองรับธุรกรรมในโครงสร้างแบบ TK Structure สำหรับโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งนับเป็นโครงการที่ 3 ของบริษัทฯ ในประเทศญี่ปุ่น

สำหรับประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับจากการลงทุนในครั้งนี้ ช่วยส่งเสริมนโยบายของบริษัทฯ ในการก้าวขึ้นสู่ความเป็นผู้นำในธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนในระดับนานาชาติและมีส่วนร่วมสำคัญในการผลักดันให้เกิดโรงไฟฟ้าจากพลังงานสะอาด รวมถึงเปิดโอกาสสำคัญให้บริษัทฯ สามารถขยายฐานธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนไปยังต่างประเทศ ส่งเสริมให้บริษัทฯ มีอัตราการเติบโตทั้งทรัพย์สิน ผลกำไรและกระแสเงินสดอย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลา 20 ปี โดยคาดว่าจะได้รับผลตอบแทนจากการลงทุนในอัตรา 10-15% ตลอดอายุการลงทุน ที่สำคัญกระจายความเสี่ยงของรายได้ของบริษัทฯ และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ในระยะยาว

อย่างไรก็ตาม บริษัทฯ จะได้รับการสนับสนุนเงินกู้จากสถาบันการเงิน ร่วมกับการใช้เงินทุนหมุนเวียนและเงินสดจาก ผลประกอบการของบริษัทฯ ที่จะได้รับเป็นปกติในระหว่างการพัฒนาโครงการโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ดังกล่าว ตลอดช่วงระยะเวลา 5 ปี ก่อนจำหน่ายไฟฟ้าเชิงพาณิชย์ได้

"บอร์ดพิจารณาแล้วเห็นว่า การเข้าทำรายการดังกล่าวของบริษัทฯ มีความสมเหตุสมผลและจะเป็นประโยชน์ต่อบริษัทฯ และผู้ถือหุ้น เนื่องจากการเข้าซื้อหุ้นดังกล่าวเป็นโอกาสสำคัญที่ทำให้บริษัทฯ สามารถขยายฐานธุรกิจโรงไฟฟ้าพลังงานทดแทนไปยังต่างประเทศ ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมาย ในการก้าวสู่ความเป็นผู้นำในการประกอบธุรกิจไฟฟ้าจากพลังงานทดแทนในระดับนานาชาติ และโครงการดังกล่าวจะสร้างผลตอบแทน อัตราการเติบโตของทรัพย์สิน ผลกำไร และกระแสเงินสดให้แก่บริษัทฯ และผู้ถือหุ้นของบริษัทฯ ได้อย่างต่อเนื่องเป็นระยะเวลากว่า 20 ปี" คุณโศภชากล่าว

สำหรับโครงการโซล่าร์ฟาร์มในญี่ปุ่น 2 โครงการแรกอยู่ในระหว่างปิดโปรเจคไฟแนนซ์ โดยคาดว่าน่าจะแล้วเสร็จในไตรมาส 4 ทำให้กันกุลมีโครงการพลังงานแสงอาทิตย์อยู่ในระหว่างก่อสร้าง ณ ปัจจุบัน 150 MW มูลค่าโครงการประมาณ 15,000 ล้านบาท นอกจากนี้ยังมีโครงการลมอีก 2 โครงการภายในประเทศ ขนาด 60 + 50 MW มูลค่าโครงการประมาณ 12,000 ล้านบาท โดยบริษัทฯ ยังคงตั้งเป้าหมาย 500 MW ภายในปี 2017 พร้อมทั้งเตรียมออกหุ้นกู้เพื่อรองรับการขยายตัวของบริษัท

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๐๒ ASMT ผนึก TFT ร่วมลงนามด้านวิชาการด้านอุตสาหกรรมการบิน
๑๗:๑๖ กรมวิชาการเกษตร เดินหน้า ถ่ายทอดองค์ความรู้การผลิตอะโวคาโดคุณภาพ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรกว่า 2 แสนบาท/ไร่
๑๗:๕๕ Dow มุ่งพัฒนาประสิทธิภาพผลิตภัณฑ์ Personal Care ควบคู่ความยั่งยืน ตอบโจทย์ผู้บริโภคตลาดเครื่องสำอางในภูมิภาคเอเชีย
๑๗:๔๗ โอซีซี มอบความรู้ พัฒนาอาชีพให้ผู้ต้องขังหญิง
๑๗:๑๒ ดร.นุชนารถ ชลคงคา นำทีมสถาบัน ESTC จัดอบรมให้ Karmakamet
๑๗:๐๐ กนภ. เห็นชอบร่าง พรบ. การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กลไกสำคัญสู่เส้นทางเศรษกิจคาร์บอนต่ำ และมีภูมิคุ้มกันฯ
๑๖:๐๐ WePlay x คอลแลบตัวละครสุดปัง! พบกับมินิเกมใหม่ และการ์ตูนสุดน่ารักที่คุณจะต้องหลงรัก
๑๖:๐๔ เดลต้า ประเทศไทย และ WEnergy Global ร่วมลงนามบันทึกข้อตกลงเพื่อขับเคลื่อนอนาคตพลังงานสีเขียว
๑๖:๔๗ ความภาคภูมิใจของ ไลอ้อน กับ 3 รางวัลแห่งเกียรติยศ เผยผลงานโดดเด่นกับหลายรางวัลที่ได้รับในปี 2567
๑๖:๐๒ NOBLE คว้าเรทติ้งสูงสุด ระดับ AAA SET ESG Ratings ประจำปี 2567 ยกระดับองค์กรสู่ความยั่งยืนภายในแนวคิด Live Different ตามกรอบ