ประกาศผลรางวัล “การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์” ครั้งที่ 1 ในงานมหกรรมวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 2559 ณ อิมแพ็ค เมืองทองธานี

ศุกร์ ๒๖ สิงหาคม ๒๐๑๖ ๐๙:๓๔
กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ จัด "การประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์" ครั้งที่ 1หวังสื่อสารความคิดและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ ให้เป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้ ผ่านเรื่องสั้นวิทยาศาสตร์ที่มีทั้งจินตนาการและความรู้ควบคู่กัน โดยผู้ได้รับรางวัลชนะเลิศทั้ง 3 ประเภท ได้แก่ นายปองวุฒิ รุจิระชาคร จากเรื่อง "เสี้ยวบันทึกความทรงจำของจักรกลบกพร่องตัวหนึ่ง" ประเภทบุคลทั่วไป นางสาวฐาปนีย์ ด้วงนิล จากเรื่อง "ชีวิตนิรันดร์" ประเภทอุดมศึกษา และนางสาวขวัญกมล จิตรตระกูล จากเรื่อง "The conversation" มัธยมศึกษาตอนปลาย

ดร.มรว.ชิษนุสรร สวัสดิวัตน์ ประธานโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1 กล่าวว่า โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1 เป็นความสำเร็จจากการร่วมมือของ 4 องค์กร ได้แก่ องค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.) มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ทั้ง 4 องค์กรได้เห็นความสำคัญของวรรณกรรมเชิงวิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมสังคมหันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น การเขียนเรื่อง ไม่ว่าจะเรื่องสั้นหรือนวนิยายแนววิทยาศาสตร์ เป็นสิ่งสำคัญในการสื่อสารความคิดและความรู้ทางวิทยาศาสตร์ให้เป็นเรื่องราวที่เข้าใจได้ รวมทั้งสร้างความสนใจในวิทยาศาสตร์ให้แก่เยาวชน ผ่านความสนุกและบันเทิง สิ่งหนึ่งที่สังเกตได้คือ ในประเทศไทยงานเขียนนวนิยายหรือเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ส่วนใหญ่มีกแปลมาจากต่างประเทศ น้อยมากที่จะได้เห็นงานเขียนฝีมือคนไทย ซึ่งน่าเสียดายมาก

ในการโครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ในครั้งนี้ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้ที่มีความสนใจในเรื่อง สั้นแนววิทยาศาสตร์ มีผู้ส่งผลงานเข้าประกวดมากถึง 188 เรื่อง ซึ่งแบ่งออกเป็น 3 ประเภทคือ ประเภทประชาชนทั่วไป ประเภทอุดมศึกษา และประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยทางคณะกรรมการได้อ่านและเลือกผลงานที่มีความโดดเด่นด้านเนื้อหา และมีลีลาการเขียนที่น่าสนใจชวนติดตาม ให้เหลือเพียง 17 เรื่อง เพื่อรวมเล่มตีพิมพ์เป็นหนังสือ "เสี้ยวบทสนทนานิรันดร์" ซึ่งหนังสือเล่มนี้จะให้แง่คิดเชิงจริยธรรม รวมทั้งมุมมองที่ทำให้ตระหนักว่าการใช้ชีวิตกับวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีในอนาคต จำเป็นต้องเตรียมตัวและทำความเข้าใจกับมันให้มากขึ้น และหวังว่าจากการประกวดครั้งนี้จะเป็นอีกแรงผลักดันให้เกิดนักเขียนนวนิยาย เรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์รุ่นใหม่เกิดขึ้นในสังคมไทยต่อไป

นายสาคร ชนะไพฑูรย์ รองผู้อำนวยการ รักษาการแทนผู้อำนวยการองค์การพิพิธภัณฑ์วิทยาศาสตร์แห่งชาติ (อพวช.)กล่าวว่า อพวช. ทำหน้าที่เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านวิทยาศาสตร์ให้กับสังคม ผ่านนิทรรศการและกิจกรรม ที่หลากหลาย การได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ในครั้งนี้ จึงถือเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสร้างความตระหนักให้กับสังคมมันมาสนใจวิทยาศาสตร์มากยิ่งขึ้น วิทยาศาสตร์ดูเป็นเรื่องยากสำหรับหลาย ๆ คน ดังนั้นการนำวิทยาศาสตร์มานำเสนอในรูปแบบ เรื่องสั้น นวนิยาย ที่ค่อยๆ อธิบายผ่านเรื่องราวที่เกิดขึ้นในชีวิตทำให้ผู้อ่านสามารถเชื่อมโยงได้ว่ามันอยู่ในชีวิตเราอย่างไร และในบางครั้งเนื้อหาเกินจริงด้วยสร้างจากจินตนาการ แต่ก็มีจินตนาการในหลายเรื่องที่สร้างแรงบันดาลใจให้กับนักวิทยาศาสตร์นำมาสร้างเป็นสิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมที่มีให้เห็นในปัจจุบัน

ศาสตราจารย์ คลินิกนายแพทย์ อุดม คชินทร อธิการบดิมหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า จินตนาการและใจรักวิทยาศาสตร์ไม่ได้เกิดขึ้นในห้องเรียนเสมอไป แม้ว่าเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ที่เรียกว่า Science fictionจะอยู่นอกกรอบกำหนดความรู้ทางวิทยาศาสตร์ปัจจุบัน ซึ่งอาจจะทำให้ดูนอกเหนือจากกรอบความสนใจหรือหน้าที่ของมหาวิทยาลัยที่เน้นเรื่องวิทยาศาสตร์อย่างมหิดล แต่ผู้ทำงานด้านวิทยาศาสตร์ โดยเฉพาะผู้ทำงานวิจัยและผู้สร้างนวัตกรรม ย่อมรู้ดีว่า ความรักวิทยาศาสตร์และจินตนาการมีส่วนสำคัญต่อความสำเร็จในการค้นคว้าทางวิทยาศาสตร์มากเพียงใด โครงการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1 นี้จึงหวังจะมีส่วนส่งเสริมให้ผู้อ่านและเยาวชนสนุกสนานไปกับเรื่องเล่าที่มีจินตนาการทางวิทยาศาสตร์ทุกเรื่อง โครงการนี้มีการแข่งขันในประเภทมัธยมและประเภทอุดมศึกษา เป็นการสนับสนุนให้นักเรียนนักศึกษาฝึกการคิดทางวิทยาศาสตร์อย่างสร้างสรรค์และมีทักษะในการสื่อสารวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกใช้คำหรือการเรียบเรียงเหตุผลอธิบายหลักวิทยาศาสตร์ก็ตาม ซึ่งทักษะนี้เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับผู้เขียนเกี่ยวกับวิทยาศาสตร์ ไม่ว่าจะเขียนเรื่องสั้น งานวิจัย หรือบทความ เมื่อคนทำงานวิทยาศาสตร์สามารถอธิบายวิทยาศาสตร์ได้เก่งขึ้น สังคมก็เข้าใจวิทยาศาสตร์มากขึ้น

นายบูรพา อารัมภีร นายกสามาคมนักเขียนแห่งประเทศไทยกล่าวว่า นับเป็นครั้งแรกที่ 4 องค์กร อย่าง อพวช. มหาวิทยาลัยมหิดล สมาคมนักเขียนแห่งประเทศไทย และสมาคมวิทยาศาสตร์แห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ส่งเสริมสนับสนุนให้เกิดการอ่านการเขียน ที่มุ่งสู่สังคมวิทยาศาสตร์ในประเทศไทย โดยการจัดการประกวดแข่งขันครั้งนี้ขึ้น จากงานเขียนที่ส่งประกวด ทำให้เห็นความคิดอ่านของคนไทยในเรื่องราวด้านวิทยาศาสตร์หลากหลายแนวคิด ซึ่งครอบคลุมไปถึงเรื่องราวในปัจจุบันที่ส่งต่อไปถึงความคิดอ่านในอนาคตอย่างก้าวล้ำ หลายเรื่องราวบ่งบอกถึงความคิดหรือสิ่งที่อาจจะเกิดขึ้นจริงในอีกหลายปีข้างหน้า ใช่เพียงแต่จินตนาการที่วาดหวังของผู้เขียน มีผลงานหลายชิ้นที่คณะกรรมการตัดสินต้องถกเถียงเพื่อหาข้อยุติและมอบรางวัล งานนี้จึงนับเป็นหมุดหมายสำคัญของการอ่านเขียนในแวดวงวรรณกรรม เพื่อให้เกิดสังคมวิทยาศาสตร์ในประเทศไทยต่อไป

สำหรับผลรางวัลในการประกวดเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ครั้งที่ 1 มีดังนี้

ประเภทมัธยมศึกษาตอนปลาย

· รางวัลชนะเลิศ

- ผลงานเรื่อง The conversation

โดย นางสาวขวัญกมล จิตรตระกูล โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี จังหวัดชลบุรี

· รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

- ผลงานเรื่อง มหัตภัยโลกเก่า "ความเห็นแก่ตัว" หายนะแห่งการล่มสลาย

โดย นางสาวเนตรชนก กีรตินาวีสุวรรณ โรงเรียนกบินทร์วิทยา จังหวัดปราจีนบุรี

· รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

- ผลงานเรื่อง เฟืองนิรันดร์ (Eternal Gear)

โดย นายภรัณยู โอสถธนากร โรงเรียนมหิดลวิทยานุสรณ์ จังหวัดนครปฐม

· รางวัลชมเชย 2 รางวัล

- ผลงานเรื่อง สถานการณ์หมอกควัน

โดย นายกิตติ อัมพรมหา โรงเรียนสุนทรภู่พิทยา จังหวัดระยอง

- ผลงานเรื่อง Home

โดย นางสาวซอแก้ว ลิมปิชาติ โรงเรียนเซนต์โยเซฟทิพวัล จังหวัดสมุทรปราการ

ประเภทอุดมศึกษา

· รางวัลชนะเลิศ

- ผลงานเรื่อง ชีวิตนิรันดร์

โดย นางสาวฐาปนีย์ ด้วงนิล มหาวิทยาลัยพะเยา

· รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 1

- ผลงานเรื่อง ปฏิกิริยาแค้น

โดย นายนราวิชญ์ เลิศหงิม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี

· รางวัลรองชนะเลิศ อันดับ 2

- ผลงานเรื่อง A New Hope

โดย นายสหรัฐ เหลี่ยมเพ็ง มหาวิทยาลัยมหิดล

· รางวัลชมเชย 2 รางวัล

- ผลงานเรื่อง นิยายรักคู่ขนาน

โดย นายสิทธิศักดิ์ บุญมา มหาวิทยาลัยราชภัฏลำปาง

- ผลงานเรื่อง Along the capsule's way

โดย นางสาวชมตะวัน ลิ้มชูพรวิกุลมหาวิทยาลัยขอนแก่น

ประเภทประชาชนทั่วไป

· รางวัล ชนะเลิศ ประเภทประชาชนทั่วไป

- ผลงานเรื่อง เสี้ยวบันทึกความทรงจำของจักรกลบกพร่องตัวหนึ่ง

โดย นายปองวุฒิ รุจิระชาคร

· รางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 1

- ผลงานเรื่อง สิ่งประดิษฐ์

โดย นายชัยวัฒน์ จงมั่นวัฒนา

· รางวัล รองชนะเลิศ อันดับ 2

- ผลงานเรื่อง แซกโซโฟนเหล็กกล้า

โดย นายสงกรานต์ ประสาทเขตต์การ

· รางวัลชมเชย 4 รางวัล ได้แก่

- ผลงานเรื่อง จิตมาตา โดย นางสาวไพเราะ มากเจริญ

- ผลงานเรื่อง ระนาบลวง โดย นายจุลพงษ์ อุดมพรพิบูล

- ผลงานเรื่อง เล่ห์ภุมรี โดย นายคเชนทร์ อัศวมณีกุล

- ผลงานเรื่อง ตู้แช่ไครโอนิกส์หมายเลข 159 โดย อุเทน พรมแดง

สำหรับผู้สนใจ สามารถหาอ่านได้ในหนังสื่อรวมเล่มเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์เรื่อง "เสี้ยวบทสนทนานิรันดร์" พิมพ์และจัดจำหน่ายโดย บริษัท นานมีบุ๊คส์ จำกัด

ข่าวประชาสัมพันธ์ล่าสุด

๑๗:๔๗ เอ. เจ. พลาสท์ คว้า 2 รางวัลใหญ่ จาก SET Awards 2024 และได้รับการประเมิน CGR ดีเลิศ ระดับ 5 ดาว
๑๖:๑๓ เปิดมาตรการ พักหนี้ ลดดอกเบี้ย ช่วยเหลือ SMEs ถูกน้ำท่วมในงาน มันนี่ เอ็กซ์โป 2024 เชียงใหม่
๑๖:๓๙ หน้าหนาวมาเยือน! กรมอนามัยเตือนดูแลสุขภาพให้พร้อม เด็กเล็ก-ผู้สูงอายุเสี่ยงเจ็บป่วยง่าย
๑๖:๕๗ เปิดรันเวย์อวดผลงานไอเดียสร้างสรรค์ของ 5 ผู้ชนะรางวัลทุนการศึกษา จากโครงการ Jaspal Group Scholarship Program
๑๖:๐๘ กิฟฟารีน แนะนำไอเทมเด็ด กิฟฟารีน เอช เอ็ม บี พลัส วิตามินดี 3 สำหรับช่วยดูแลมวลกล้ามเนื้อให้แข็งแรง
๑๕:๐๑ ไขข้อสงสัย สินเชื่อรถแลกเงินคืออะไร
๑๕:๓๘ ซื้อมอเตอร์ไซค์ ออกรถใหม่ มีขั้นตอนอย่างไร ต้องเตรียมอะไรบ้าง
๑๕:๐๕ ยางขอบ 17 ยี่ห้อไหนดีที่ขับขี่สนุก และยังคงนุ่มสบาย
๑๔:๕๖ heygoody คว้าแชมป์จากเวที Thailand Influencer Awards 2024 ตอกย้ำความเข้าใจลูกค้า Introvert
๑๔:๐๓ เมืองไทยประกันชีวิต คว้า 4 รางวัลใหญ่ระดับสากล ด้านการบริหารทรัพยากรบุคคล และเป็นองค์กรสถานประกอบการดีเด่นด้านแรงงานสัมพันธ์และสวัสดิการ